https://he05.tci-thaijo.org/index.php/LHIJ/issue/feed วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย 2025-04-04T00:00:00+07:00 แพทย์หญิงธัญญารัตน์ สิทธิวงศ์ (Dr.Thanyarat Sitthiwong) journal_sukhothai@outlook.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย</strong></p> <p><strong>ISSN:</strong> 3057-1669 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> 4 ฉบับ ต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม<br />, ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน, ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน, ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม.</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร:</strong> วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย เป็นวารสารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยคุณภาพสูงในด้านสาธารณสุขศาสตร์ ด้านเภสัชศาสตร์ ด้านการพยาบาล ด้านการแพทย์ ด้านแพทย์แผนไทย ด้านทันตกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ, บทความวิชาการ, รายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์</p> <p>รายละเอียดการส่งบทความ สามารถดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ "การส่งบทความ"</p> <p>ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</p> https://he05.tci-thaijo.org/index.php/LHIJ/article/view/4621 ผลของการใช้โปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเมืองปาน จังหวัดลำปาง 2025-03-14T10:17:12+07:00 จิตติมา เนตรวิศุทธ jittima-mp@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลัง (One group pretest -posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วย ตามแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ระบบคัดแยก 5 ระดับ (MOPH ED. Triage) ต่อการคัดแยกประเภทผู้ป่วย เปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดแยกประเภทผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม และศึกษา ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวทางการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage Guideline งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมแนวทาง การคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้ MOPH ED Triage Guideline เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบบันทึกผลลัพธ์การคัดแยกระดับ ความฉุกเฉิน และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า มีการคัดแยกระดับความรุนแรงผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 89.10 เป็นร้อยละ 94.80 การคัดแยกที่ไม่ถูกต้องจากเดิมร้อยละ 10.90 ลดลงเหลือร้อยละ 5.20 แยกเป็นการคัดแยกที่สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 3.60 จากเดิมร้อยละ 8.00 และต่ำกวาเกณฑ ร้อยละ 1.60 จากเดิมร้อยละ 2.90 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (χ2=8.962, df=1, p=0.011) และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้โปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED TRIAGE มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.82, S.D=0.45)สรุปผลการวิจัยได้ว่า โปรแกรมการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED Triage หน่วยงานสามารถนำไปใช้ในการประเมินคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤตและฉุกเฉินมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> 2025-04-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย https://he05.tci-thaijo.org/index.php/LHIJ/article/view/4761 การประเมินการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ : กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี 2025-03-26T09:53:41+07:00 KRITTEE PHUDTHIKARN aimberto@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ ของจังหวัดราชบุรีโดยใช้ตัวแบบ CIPP ประกอบด้วยการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีแบบคู่ขนาน โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 56 คน และข้อมูลผลการดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลมูลปลายเปิด ผลการประเมินด้านบริบทกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผลผลิตกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย และประสิทธิผลของการดำเนินการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของกระบวนการ PDCA ครั้งที่ 1 เทียบกับ ผลการดำเนินงานก่อนการใช้กระบวนการ PDCA พบว่าไม่แตกต่างกัน และ ประสิทธิผลของการดำเนินการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของกระบวนการ PDCA ครั้งที่ 2 เทียบกับ ผลการดำเนินงานของกระบวนการ PDCA ครั้งที่ 1 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายบนสื่อออนไลน์ด้วยวิธีการรายงานผ่านระบบของแพลตฟอร์มออนไลน์ ของจังหวัดราชบุรี มีความสอดคล้องกับบริบท แต่ควรมีการพัฒนาด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ เพื่อและมีการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป</p> 2025-04-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพลายสือไทย