https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/issue/feed
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
2024-11-06T16:06:15+07:00
Borimas Saksirisampan
wesr@ddc.mail.go.th
Open Journal Systems
<p>วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR) เป็นวารสารด้านสาธารณสุขของประเทศไทย จัดทำโดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่การค้นพบด้านสาธารณสุขที่จำเป็น แก้ไขความคลาดเคลื่อนของข้อมูล บทความวิชาการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภาพรวมของสถานการณ์โรคในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ อย่างถูกต้องและทันท่วงที</p>
https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/3165
ความเป็นตัวแทนของระบบ D506 เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (43 แฟ้ม) ของประเทศไทยในช่วงเริ่มต้นของการใช้ระบบ D506
2024-10-06T22:14:53+07:00
ณิชกุล พิสิฐพยัต
pisitpayat.n@gmail.com
ศุภณัฐ วงศานุพัทธ์
suphanat.wong@gmail.com
จุฑารัตน์ อาภาคัพภะกุล
namfahh.a@gmail.com
<p><strong>บทนำ</strong><strong> :</strong> การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสาธารณสุข นับตั้งแต่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) หน่วยงานด้านสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานท่วมท้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเฝ้าระวังทางสาธารณสุข กองระบาดวิทยาได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ (R506) ให้เป็นระบบดิจิทัลโดยการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ (D506) ซึ่งนำร่องจากโรคโควิด 19 การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อพรรณนาระบบ D506 ประเมินความเป็นตัวแทนของระบบ D506 และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong> : </strong>เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบ D506 เพื่อพรรณนาระบบ D506 จากนั้นทำการดึงข้อมูลผู้ป่วยโรคโควิด 19 และโรคปอดบวม (pneumonia) จากฐานข้อมูลระบบ D506 และฐานข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (43 แฟ้ม) โดยใช้ข้อมูลในการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม–30 มิถุนายน 2566 ทำการเลือกโรงพยาบาลแบบเจาะจงจาก 4 ภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยเลือกโรงพยาบาลที่มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยโควิด 19 สูงที่สุดในแต่ละภาค คณะผู้ศึกษาทำการเปรียบเทียบความเป็นตัวแทนระหว่างระบบ D506 และฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ซึ่งระบบ D506 จะได้รับข้อมูลโดยตรงจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพโดยใช้ Application Programing Interface (API)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong> :</strong> พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด 19 และโรคปอดบวมทั้งหมดแตกต่างกันอย่างมากระหว่างระบบ D506 และฐานข้อมูล 43 แฟ้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เมื่อพิจารณาการกระจายตามเพศพบว่าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 มีอัตราส่วนเพศชายน้อยกว่าเพศหญิง ทั้งในระบบ D506 และฐานข้อมูล 43 แฟ้ม แต่พบว่าอัตราส่วนเพศชายมากกว่าเพศหญิงในผู้ป่วยโรคปอดบวม ทั้งในระบบ D506 และฐานข้อมูล 43 แฟ้ม เมื่อเปรียบเทียบการกระจายตามกลุ่มอายุ ที่อยู่ในระดับจังหวัด และวันที่รักษาของผู้ป่วยโรค โควิด 19 พบว่าระบบ D506 มีการกระจายของกลุ่มสูงอายุในสัดส่วนที่น้อยกว่าฐานข้อมูล 43 แฟ้ม อย่างไรก็ตามระบบ D506 มีการกระจายตามที่อยู่ในระดับจังหวัดที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า และสามารถสะท้อนช่วงเวลาการรักษาที่มีความเคลื่อนไหวมากกว่าฐานข้อมูล 43 แฟ้ม</p> <p><strong>ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ</strong><strong> : </strong>ในการประเมินระบบ D506 ว่าสามารถใช้แทนระบบ R506 ได้ จะต้องประเมินปัจจัยสำคัญ เช่น ความสามารถในการใช้งาน ประสิทธิภาพ การรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ และความคุ้มทุน หาก D506 แสดงให้เห็นถึงความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เหนือกว่า ระบบ D506 จะสามารถตอบสนองและบูรณาการเป็นระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุขได้ดี</p>
2024-10-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1339
การสอบสวนการระบาดของทารกแรกเกิดติดเชื้อไวรัสซิกาในหลายอำเภอของจังหวัดสระบุรี กันยายน–ธันวาคม 2566
2024-11-06T16:06:15+07:00
ธนพล ยิสารคุณ
cocoedmetal@gmail.com
พันธนีย์ ธิติชัย
phanthanee@gmail.com
โชคอนันต์ เสือพุก
pun229909@gmail.com
สุภาภรณ์ จูจันทร์
aprilaof@gmail.com
พัชรินทร์ บุญอินทร์
patcharinboonin@gmail.com
ธชย ภาโค
nine_sci@outlook.com
<p><strong>บทนำ </strong><strong>:</strong> เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 กองระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาแรกเกิด 5 รายในจังหวัดสระบุรี จึงดำเนินการสอบสวนโรคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา พรรณนาลักษณะทางระบาดวิทยา ศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรีและให้คำแนะนำในการป้องกันควบคุมโรค</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> ในจังหวัดสระบุรีเพื่อระบุพื้นที่สงสัยการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกาและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ผู้ป่วยสงสัย คือ ผู้ป่วยในจังหวัดสระบุรีที่มีอาการอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 1. ผื่นร่วมกับ ไข้ หรือปวดศีรษะ หรือปวดข้อ หรือตาแดง 2. ทารกศีรษะเล็ก 3. ผู้ป่วยกิลแลง–บาร์เร ช่วงระหว่างวันที่ 1 กันยายน–10 ธันวาคม 2566 ผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ที่ตรวจพบสารพันธุกรรมไวรัสซิกา สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวัง ส่งตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัสซิกาในผู้ป่วยสงสัยและหญิงตั้งครรภ์ สำรวจลูกน้ำยุงลายและส่งยุงลายตรวจหาสารพันธุกรรมไวรัสซิกา เด็งกี และชิคุนกุนยา ในอำเภอที่พบผู้ป่วยยืนยัน</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ทบทวนพบกลุ่มก้อนของผู้ป่วยไข้ออกผื่นมากกว่าปกติและระบุพื้นที่สงสัยการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาได้ 5 หมู่บ้านกระจายใน 4 อำเภอ การสอบสวนโรคพบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 31 ราย เป็นทารกแรกเกิด 5 ราย (ร้อยละ 16) ผู้ป่วยทั่วไป 26 ราย (ร้อยละ 84) ค่ามัธยฐานของอายุ 26 ปี (Q1, Q3 : 9.5, 35.5) อัตราส่วนเพสหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 1 : 2.4 ไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรง ผู้ป่วยกระจายใน 7 อำเภอของสระบุรี พบภาวะทารกศีรษะเล็กร้อยละ 60 ตรวจสารพันธุกรรมพบเป็นสายพันธุ์ Asian ไม่พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยยืนยัน มัธยฐานค่า HI, CI ร้อยละ 10 และ 4 ระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาไม่สามารถตรวจจับการระบาดได้เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ป่วยกลุ่มไข้ผื่นการส่งตรวจยืนยันไม่สามารถทำได้ภายในจังหวัดและรหัส ICD-10 ที่ใช้ในการวินิจฉัยไม่ตรงกับที่ใช้ในการเฝ้าระวังโรค</p> <p><strong>อภิปรายและขอเสนอแนะ </strong><strong>:</strong> มีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในจังหวัดสระบุรีที่ตรวจจับไม่ได้ก่อนหน้านี้ พื้นที่ส่วนใหญ่มีดัชนีลูกน้ำยุงลายสูง การเพิ่มความตระหนักในการวินิจฉัย ศักยภาพห้องปฏิบัติการในการตรวจยืนยันและการปรับรหัส ICD–10 ของระบบเฝ้าระวังให้ครอบคลุมรหัสที่ใช้ในระบบบริการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวังได้</p>
2024-10-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/3429
สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรคในรอบสัปดาห์ที่ 38 (22–28 กันยายน 2567)
2024-10-15T15:13:53+07:00
ทีมเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
outbreak@health.moph.go.th
<p>กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานเหตุการณ์ โรค และภัยสุขภาพที่สำคัญ ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค จากเครือข่ายงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ดังนี้<br /><br /><strong>สถานการณ์ในประเทศ</strong></p> <p>1. โรคหัดเป็นกลุ่มก้อนเป็นกลุ่มก้อนในโรงเรียน ในเขตสุขภาพที่ 12 จำนวน 5 จังหวัด</p> <p>2. การประเมินความเสี่ยงของการระบาดของโรคหัดในเขตสุขภาพที่ 12</p> <p><strong>สถานการณ์ต่างประเทศ<br /></strong></p> <p>เชื้อก่อโรคไทฟอยด์ดื้อยาหลายขนานในประเทศปากีสถาน</p> <p><strong> </strong></p>
2024-10-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/3538
สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรคในรอบสัปดาห์ที่ 39 (29 กันยายน–5 ตุลาคม 2567)
2024-10-29T10:51:33+07:00
ทีมเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
outbreak@health.moph.go.th
<p>กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานเหตุการณ์ โรค และภัยสุขภาพที่สำคัญ ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค จากเครือข่ายงานสาธารณสุขทั่วประเทศ ดังนี้<br><br><strong>สถานการณ์ในประเทศ</strong></p> <p>1. เหตุการณ์อุบัติเหตุเพลิงไหม้รถบัสโดยสาร จังหวัดปทุมธานี</p> <p>2. สงสัยโรคอาหารเป็นพิษเป็นกลุ่มก้อนในโรงเรียน กรุงเทพมหานคร</p> <p>3. การประเมินความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กในสาธารณรัฐรวันดา<br><br></p> <p><strong>สถานการณ์ต่างประเทศ<br></strong></p> <p> การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กในสาธารณรัฐรวันดา</p>
2024-10-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์