รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR <p>วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR) เป็นวารสารด้านสาธารณสุขของประเทศไทย จัดทำโดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่การค้นพบด้านสาธารณสุขที่จำเป็น แก้ไขความคลาดเคลื่อนของข้อมูล บทความวิชาการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภาพรวมของสถานการณ์โรคในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ อย่างถูกต้องและทันท่วงที</p> th-TH <p>1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ<br />2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ</p> wesr@ddc.mail.go.th (Borimas Saksirisampan) wesr@ddc.mail.go.th (Borimas Saksirisampan) Fri, 17 May 2024 14:48:02 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อก ปี พ.ศ. 2546 - 2556 ประเทศไทย https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1853 <p>จากข้อมูลการเฝ้าระวังกลุ่มโรคไข้เลือดออก (ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก ไข้เดงกี) ของประเทศไทยในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2546 - 2556) พบว่าสัดส่วนรวมของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อกเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยโรคอื่น (ไข้เดงกีและไข้เลือดออก) ดังนั้นเพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อกของประเทศไทย จึงรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2556 และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่า Adjusted Odds Ratio (OR) 95% confidence interval (C) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value น้อยกว่า 0.05 โดยควบคุมปัจจัยรบกวน (confounding factor) ได้แก่ อาชีพ และประเภทที่อยู่ขณะป่วย ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อก ได้แก่ กลุ่มอายุมากกว่า 15 ปี ค่า Odds Ratio 1.74 (95%CI = 1.37 - 2.21) และอาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ค่า Odds Ratio 4.87 (95% CI = 3.33 - 7.11) เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสติดเชื้อครั้งที่สอง (การติดเชื้อแบบทุติยภูมิ) ซึ่งการติดเชื้อมักมีความรุนแรงและมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการติดเชื้อครั้งแรกประมาณ 160 เท่า ดังนั้นเพื่อลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกช็อกในช่วงฤดูฝน สถานบริการทางการแพทย์ทุกแห่งทั่วประเทศควรจัดระบบการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการไข้และตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของระดับเม็ดเลือดขาว ฮีมาโตคริต เกล็ดเลือด และภายในโรงพยาบาลทุกแห่งทุกระดับต้องเป็นสถานที่ปลอดลูกน้ำและยุงลายรวมทั้งการเร่งรัดกำจัดยุงลายในบริเวณที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองหรือชุมชนแออัด</p> วัชรี แก้วนอกเขา, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1853 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700