อัตราการตรวจพบวัณโรคปอด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

Main Article Content

พิทยา วิชัย

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา : วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศของโลกที่มีภาระด้านวัณโรคสูง โดยพบอุบัติการณ์ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในทุกๆปี ซึ่งวัณโรคปอดเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย และการเสียชึวิต


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการตรวจพบวัณโรคปอด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้ป่วยจังหวัดสระแก้ว


วิธีการ : เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป IBM SPSS version 22.0      


ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 475 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 75.6 เชื้อชาติไทย ร้อยละ 97.9 อายุเฉลี่ย 51.92±15.38 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 19.97±3.69 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 69.1 มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อวัณโรค ร้อยละ 57.5 โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 62.6 รองลงมาคือโรคถุงลมโป่งพอง ร้อยละ 46.9 มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 7.6 พบอัตราการตรวจพบวัณโรคปอด ร้อยละ 29.3 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ โรคเบาหวาน (p<0.001)


สรุป :  อัตราการตรวจพบวัณโรคปอดในผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว อยู่ในระดับต่ำ โดยโรคเบาหวานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบวัณโรคปอด ดังนั้นควรมีการตรวจคัดกรองวัณโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและควบคุมวัณโรคปอด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hansel NN, Wu AW, Chang B, Diette GB. Quality of life in tuberculosis: patient and provider perspectives. Qual Life Res. 2004;13(3):639-52. doi: 10.1023/B:QURE.0000021317.12945.f0.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2017 [Internet]. 2017 [cite 2023 Jul 10]. Available from https://apps.who.int/iris/handle/10665/259366.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. วัณโรค การป้องกันและควบคุม. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย 2561;1:1-120.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานสำนักโรคติดต่อทั่วไป ปีงบประมาณ 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [วันที่เข้าถึง 10 กรกฎาคม 2566]. Available from http://dcd.ddc.moph.go.th/uploads/file/yutthasart/YUT_personal/report_20feb61cp_2.3.61.pdf

Ji Y, Cao H, Liu Q, Li Z, Song H, Xu D, Tian D, Qiu B, Wang J. Screening for pulmonary tuberculosisin high-risk groups of diabetic patients. Int J Infect Dis. 2020 Apr;93:84-89. doi: 10.1016/j.ijid.2020.01.019.

สมพร ขามรัตน์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ,กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดร้อยเอ็ด. สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น.2558;22(1):22-32.

จตุพร ฤกษ์ตระกูล, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ป่วยเบาหวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น.2562;26(3):1-12.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley and Sons; 1995

World Health Organization. Global tuberculosis report 2017 [Internet]. 2017 [cite 2023 Jul 10]. Available from https://apps.who.int/iris/handle/10665/259366.

Khuancharee K, Suggaravetsiri P, Trinnawoottipong K.Factors Associated with Smear Positive Pulmonary Tuberculosis among Diabetes Mellitus Patients in Thailand: A Meta- Analysis. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen 2016;23(3):1-11.

นงนุช เสือพูม. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการป้องกัน วัณโรคปอดของประชาชน ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข 2556;23:79-93.