พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพวิถีใหม่ของ อสม.หมอประจําบ้าน ในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
พัฒนารูปแบบ, การดูแลสุขภาพวิถีชีวิตใหม่, อสม.หมอประจําบ้าน, ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.), ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพวิถีชีวิตใหม่ของ อสม.หมอประจําบ้าน ในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพวิถีชีวิตใหม่ของ อสม.หมอประจําบ้าน ในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) จํานวน 40 คน ผู้รับบริการ จํานวน 40 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จํานวน 20 คน การดําเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติและการสังเกต 3) การสะท้อนการปฏิบัติ และ 4) การปรับปรุงแผน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ ข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพวิถีชีวิตใหม่ของ อสม.หมอประจําบ้าน ในศูนย์ สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นตอนการจัดบริการ 3) ขั้นเยี่ยมบ้าน 4) ขั้นติดตามและประเมินผล 5) ขั้นดูแลตนเอง ผลการนํารูปแบบที่สร้างขึ้นไปพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการขยายผล พบว่า อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มี ความรู้และทักษะในการนําดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น สามารถจัดบริการและดูแลผู้ป่วยในชุมชนได้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
ข้อเสนอแนะต่อนโยบาย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โรงพยาบาล และองค์กรชุมชน ควรมีนโยบายสนับสนุนการดําเนินงานของศูนย์สาธารณสุข มูลฐานชุมชน (ศสมช.) ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของ อสม.ในการจัดบริการสุขภาพเบื้องต้นให้กับชุมชน และร่วมกันจัดทําแผนงาน โครงการ แนวทางในการดูแลช่วยเหลือ รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินงาน และนํารูปแบบนี้ไปใช้ในการพัฒนาศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ในพื้นที่อื่นต่อไป
Downloads
References
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2563). แนวทางการ ดําเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุข มูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ. 2521 - 2557). สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชาติชาย สุวรรณนิตย์. (2560). การศึกษาสถานการณ์งาน สุขภาพภาคประชาชน ในปัจจุบันและทิศทางการพัฒนาในอนาคต. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นนทบุรี.
ชัชวาลย์ น้อยวังฆัง. (2563). การศึกษาสถานการณ์การให้บริการของศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.). กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นนทบุรี.
บดินทร์ ชาตะเวที. (2564). พฤติกรรมกับวิถีชีวิตใหม่: New Normal [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564 สืบค้นจาก: https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/258.
พชรพร ครองยุทธและอดิเรก เร่งมานะวงษ์. (2564). ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรในช่วงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) จังหวัดขอนแก่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 44(3): 78-89.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธาการพิมพ์. Kemmis & McTaggart. [1998]. The Action research Planner. Retrieved from http://academia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 6
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 6 และบุคลากรท่านอื่น ในศูนย์ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว