เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำสำหรับผู้ตีพิมพ์ (Author Guidelines)
**************************
การเตรียมต้นฉบับ

1.บทความวิจัย (Research article)
- บทความวิจัยจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 2 ท่าน
- บทความวิจัยต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และต้องแนบสำเนาใบรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ความยาวของบทความวิจัย มีความยาวทั้งเรื่อง ไม่เกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 (ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 pt / ภายในตาราง 14pt ) ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทย 1 หน้ากระดาษ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ 1 หน้ากระดาษ (เนื้อเรื่องทั้งเรื่อง รวมตาราง (ไม่เกิน 4 ตาราง) รูป (ไม่เกิน 4 รูป) และเอกสารอ้างอิง)
การเขียนบทความบทความวิจัย ต้องมีข้อมูลการเรียงตามลำดับ ดังต่อไปนี้
- ชื่อเรื่อง ควรสั้นและให้ได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง
- ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง วุฒิการศึกษาย่อ และสถานที่ปฏิบัติงานของผู้แต่ง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บทคัดย่อ (abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ และ keywords 4-5คำ
บทคัดย่อภาษาไทย ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ ที่มาของปัญหา, วัตถุประสงค์, วิธีการศึกษา, ผลการศึกษา, สรุป และ คำสำคัญ (จำนวน 4-5 คำ)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ Background, Methods, Results, Conclusion, Keywords (จำนวน 4-5 คำ)
- เนื้อหา (TEXT) ประกอบด้วยหัวข้อ 6 หัวข้อ ดังนี้ บทนำ (Introduction ประกอบด้วยที่มาของปัญหา เหตุผลในการทำวิจัย และวัตถุประสงค์ของการศึกษา (โดยใส่ในส่วนท้ายของบทนำ), วิธีการศึกษา (Methods), ผลการศึกษา (Results), อภิปรายผล (Discussion), บทสรุป (Conclusion) และเอกสารอ้างอิง (References)
2. รายงานผู้ป่วย (Case report)
- รายงานผู้ป่วยจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
- รายงานผู้ป่วยต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และต้องแนบสำเนาใบรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
- ความยาวของรายงานผู้ป่วยมีความยาวทั้งเรื่อง ไม่เกิน 6 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 (ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 pt) ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ เนื้อเรื่องทั้งเรื่อง (รวมตาราง รูป และอ้างอิง) มีความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ และกรณีมีภาพต้องไม่เกิน 4 รูป พร้อมคำอธิบายใต้รูป กระชับและชัดเจน และต้องมีหนังสือยินยอมการเผยแพร่จากผู้ป่วย
การเขียนรายงานผู้ป่วย ต้องมีข้อมูลการเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
- บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อม keywords 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
- เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ (Introduction), เนื้อเรื่อง (Text), สรุป (Summary), เอกสารอ้างอิง (References)
3.บทความฟื้นวิชา (Review articles)
- บทความฟื้นวิชาจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
- ความยาวของบทความฟื้นวิชามีความยาวทั้งเรื่อง ไม่เกิน 8 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 (ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 pt) ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ เนื้อเรื่องทั้งเรื่อง (รวมตาราง รูป และเอกสารอ้างอิง)
การเขียนบทความฟื้นวิชาต้องมีข้อมูลการเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
- บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อม keywords 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
- เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ (Introduction), เนื้อเรื่อง (Text), สรุป (Summary), เอกสารอ้างอิง (References)
4.บทความวิชาการ (Academic article)
- บทความวิชาการจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิชำระบทความ (reviewer) อย่างน้อย 1-2 ท่าน
- ความยาวของบทความพิเศษมีความยาวทั้งเรื่องไม่เกิน 8 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 (ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 pt) ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษรวมกันไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ เนื้อเรื่องทั้งเรื่อง (รวมตาราง รูป และอ้างอิง)
การเขียนบทความพิเศษต้องมีข้อมูลการเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
- บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อม keywords 4-5 คำ (ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
- เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ (Introduction), เนื้อเรื่อง (Text), สรุป (Summary), เอกสารอ้างอิง (References)
5. บทความที่น่าสนใจอื่นๆประกอบด้วยบทความหรือข้อมูลที่น่าสนใจต่างๆ ดังต่อไปนี้
5.1 ปกิณกะ (miscellaneous) เป็นบทความทั่วไปที่เกี่ยวกับกิจการทางการแพทย์ และการสาธารณสุข
5.2 ยาน่ารู้ (interesting drugs)
5.3 บทความจากการประชุม (conference highlight) เป็นการสรุปเรื่องที่น่าสนใจจากการประชุมทั้งในและนอกหน่วยงาน ที่อยากจะสื่อให้ผู้อ่านที่ไม่ได้ไปประชุมทราบ
- โดยความยาวของบทความที่น่าสนใจอื่นๆ มีความยาวทั้งเรื่อง ไม่เกิน 5 หน้ากระดาษพิมพ์ A4 (ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 pt)

เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการแสดงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกนำมาอ้างอิงขึ้นมาใช้ในการวิจัย เพื่อเป็นการแสดงว่าไม่ได้นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง รายการเอกสารอ้างอิงในวารสารวารสารโรงพยาบาลพุทธโสธรควรอ้างอิงด้วยภาษาอังกฤษ การเขียนเอกสารอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงในรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style)
มาตรฐานจริยธรรมการวิจัยและการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารโรงพยาบาลพุทธโสธรต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ (Ethical committee approval) โปรดระบุว่าผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดใดบ้างและเมื่อไร และให้ระบุเลขที่ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการวิจัยดังกล่าว หากเป็นผลงานเชิงการวิจัยแบบทดลองเปรียบเทียบ ต้องมีการลงทะเบียนใน clinical trial registry เช่น Thai Clinical Trials Registry (TCTR) (https://www.thaiclinicaltrials.org/), Clinicaltrials.gov, Researchregistry.com, ISRCTN.com, Prospero สำหรับงานวิจัยประเภท systematic reviews และ Meta-analysis เป็นต้น

ขั้นตอนการลงทะเบียนในระบบ ThaiJO 

ขั้นตอนการลงทะเบียนในระบบ ThaiJO สำหรับผู้แต่ง

**วารสารโรงพยาบาลพุทธโสธรมีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,000 บาทต่อบทความ การชำระค่าค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จะชำระเมื่อบทความของท่านได้ผ่านขั้นตอนการประเมินและการแก้ไขจนมีคุณภาพเพียงพอที่จะลงในเล่มวารสาร**