ลักษณะผู้ป่วย สาเหตุ การตรวจรักษา และผลลัพธ์การรักษาในผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างในโรงพยาบาลชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา: Lower gastrointestinal bleeding (LGIB) เป็นเหตุผลที่พบบ่อยในการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล อุบัติการณ์การเกิด LGIB ประมาณ 20 ราย/100,000 ต่อปี โดยอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในประชากรสูงอายุ เป็นที่น่าสนใจว่าข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ป่วย สาเหตุ การตรวจรักษา และผลลัพธ์การรักษาในผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างในประเทศไทยยังมีน้อย ซึ่งการทราบข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยที่มาด้วย LGIB
วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วย สาเหตุ การตรวจรักษา และผลลัพธ์การรักษาในผู้ป่วยที่มานอนพักรักษาตัวในรพ.ชลบุรีด้วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาโดยทำการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยอายุ ≥ 16 ปีที่มานอนโรงพยาบาลด้วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างหรือวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับ LGIB โดยค้นหาจาก ICD 9 และ ICD 10, Endoscopic unit record และทะเบียนของห้องฉุกเฉินในช่วง 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2564 โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนจะถูกคัดออกไป
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างจำนวน 221 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (53.4%) มีอายุเฉลี่ย 65.4 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโรคร่วม โรคร่วมที่พบบ่อยได้แก่ความดันโลหิตสูง เบาหวานและไตวาย ประมาน 40% ได้รับยา antiplatelet โดย aspirin เป็นยาที่ใช้บ่อย ¼ มีประวัติเคยนอนโรงพยาบาลด้วย LGIB มีภาวะ shock 6% การวินิจฉัยที่พบบ่อย 3 ลำดับแรกได้แก่ hemorrhoid (32.6%), diverticular disease (31.7%) และ unexplained bleeding (23.1%) การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมที่พบบ่อยได้แก่ colonoscopy (70.1%) โดยมี median time to colonoscopy 48 ชั่วโมง การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับคือ RBC transfusion (73.3%), endoscopic hemostasis (5.9%), การผ่าตัด (2.7%) และ embolization (1.4%) พบว่าระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5 วัน, re-bleeding พบ 10.4%, continuous bleeding 8.6% และ readmitted ด้วย LGIB ภายใน 28 วัน 10.9%. พบอัตราตายจากทุกสาเหตุ 5.4%
สรุป: ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคร่วม ได้รับยา antiplatelet มีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่างและได้รับเลือด แต่ผลลัพธ์การรักษายังไม่ดีเท่าที่ควร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Feldman M, Friedman LS, Brandt LJ. Sleisenger and Fordtran’s Gastrointestinal and liver disease. 10th ed. United States of America: ELSEVIER SAUNDERS; 2016.
Podolsky DK, Camilleri M, Fitz JG, Kalloo AN, Shanahan F, Wang TC. YAMADA’S Textbook of gastroenterology. 6th ed. Malaysia: John Wiley & Sons Ltd; 2016.
Longstreth G. Epidemiology and Outcome of Patients Hospitalized with Acute Lower Gastrointestinal Hemorrhage: A Population-Based Study. Am J Gastroenterol. 1997; 92:419-24.
Oakland K, Guy R, Uberoi R, Hogg R, Mortensen N, Murphy MF, et al. Acute lower GI bleeding in the UK: patient characteristics, interventions and outcomes in the first nationwide audit. Gut. 2018; 67:654–62
Bai Y, Peng J, Gao J, Zou DW, Li ZS. Epidemiology of lower gastrointestinal bleeding in China: single-center series and systematic analysis of Chinese literature with 53,951 patients. J Gastroenterol Hepatol. 2011; 26: 678-82.