ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง โรงพยาบาลอรัญประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันภาวะไตเสื่อมเรื้อรังจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยสุดในผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องคือ การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง ทำให้ผนังหน้าท้องเสื่อมประสิทธิภาพ และเกิดภาวะน้ำเกินและบวมตามมา ดังนั้นการหาสาเหตุของการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง ทำให้ผนังหน้าท้องมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และลดการนอนโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
เพื่ออธิบายความชุก และศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง โรงพยาบาลอรัญประเทศ
วิธีการศึกษา
ประชากรเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางหน้าท้อง และได้รับติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลอรัญประเทศอย่างน้อย 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 36 คน
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางหน้าท้องจำนวนทั้งสิ้น 36 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางหน้าท้องจำนวน 22 ราย และไม่มีการติดเชื้อทางหน้าท้องจำนวน 14 ราย ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางหน้าท้องค่ามีค่ามัธยฐานของอายุอยู่ที่ 58 ปี เป็นผู้ชายร้อยละ 54.5 มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานร้อยละ 50 ค่ามัธยฐานของดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25.3 กิโลกรัมต่อเมตร2 จากข้อมูลพื้นฐานทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่มีการติดเชื้อทางหน้าท้องมีการใช้ยา omeprazole มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีการติดเชื้อทางหน้าท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (56% และ 14% ตามลำดับ) ผลวิเคราะห์ multivariate พบว่าโพแทสเซียมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อโดยผู้ป่วยที่มีระดับโพแทสเซียมน้อยกว่าเท่ากับ 3.0 มิลลิโมลต่อลิตร (moderate or severe hypokalemia) จะมีโอกาสติดเชื้อ 11.7 เท่า [aOR: 11.67 (95%CI : 1.26-107.7)] ผลเพาะเชื้อจากน้ำยาล้างไตพบว่าขึ้นเชื้อทั้งหมด 13 ราย (ร้อยละ 59) เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดคือ Staphylococcus aureus พบในผู้ป่วย 3 ราย (ร้อยละ 13.6) รองลงมาเป็นเชื้อ Streptococcus salivarius พบจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 9) อาการที่พบเป็นส่วนใหญ่คือ ถ่ายเหลว และอาเจียน มีทั้งหมด 7 ราย (ร้อยละ 31.8) ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนวิธีการล้างไตจากทางหน้าท้องเป็นทางเส้นเลือดจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 9.1) เนื่องจากรายแรกมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และรายที่สองมีการติดเชื้อรา และเสียชีวิตจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 9.1)
สรุป
ระดับโพแทสเซียมเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อ โดยผู้ป่วยที่มีระดับโพแทสเซียมน้อยกว่าเท่ากับ 3.0 มิลลิโมลต่อลิตร จะมีโอกาสติดเชื้อ 11.7 เท่า ส่วนระดับความเข้มข้นเลือด ฟอสฟอรัส อัลบูมิน ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการติดเชื้อทางหน้าท้อง เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดคือ Staphylococcus aureus รองลงมาเป็นเชื้อ Streptococcus salivarius
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Jansen MA, Hart AA, Korevaar JC, Dekker FW, Boeschoten EW, Krediet RT. Predictors of the rate of decline of residual renal function in incident dialysis patients. Kidney Int. 2002;62(3):1046-53.
Yeates K, Zhu N, Vonesh E, Trpeski L, Blake P, Fenton S. Hemodialysis and peritoneal dialysis are associated with similar outcomes for end-stage renal disease treatment in Canada. Nephrol Dial Transplant. 2012;27(9):3568-75.
Kanjanabuch T, Chancharoenthana W, Katavetin P, Sritippayawan S, Praditpornsilpa K, Ariyapitipan S, et al. The incidence of peritoneal dialysis-related infection in Thailand: a nationwide survey. J Med Assoc Thai. 2011;94 Suppl 4:S7-12.
Pichitporn W, Kanjanabuch T, Phannajit J, Puapatanakul P, Chuengsaman P, Parapiboon W, et al. Efficacy of Potassium Supplementation in Hypokalemic Patients Receiving Peritoneal Dialysis: A Randomized Controlled Trial. Am J Kidney Dis. 2022;80(5):580-8.e1.
เตียวิไล พ.บ ธ, ตันติวิชิตเวช พย.ม ร. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องครั้งแรก ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลโพธาราม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2020;39(1).
Maeda S, Yamaguchi M, Maeda K, Kobayashi N, Izumi N, Nagai M, et al. Proton pump inhibitor use increases the risk of peritonitis in peritoneal dialysis patients. PLoS One. 2019;14(11):e0224859.
Zhang Y, Li J, Chen Z, Liu L, Zhan X, Peng F, et al. Proton pump inhibitor usage associates with higher risk of first episodes of pneumonia and peritonitis in peritoneal dialysis patients. Renal Failure. 2022;44(1):1624-32.