ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการชักจากไข้ในเด็กที่มีไข้จากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

Main Article Content

ชลลดา ชวนประสิทธิ์กุล

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา:การตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายมีความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดอาการชักจากไข้ (FS)แม้ว่าไข้จะเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็ก แต่มีเพียงเด็กบางคนที่เป็นไข้เท่านั้นที่มีอาการ FS


วัตถุประสงค์:เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะชักจากไข้ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่มีไข้ร่วม


วิธีการศึกษา:การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ case control study กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังทั้งหมด 5 ปี ขนาดตัวอย่างกลุ่มประชากรตัวอย่างมีจำนวนทั้งหมด 202 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะชักจากไข้ จำนวน 101 คนและกลุ่มควบคุม ได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะชักจากไข้ จำนวน 101 คน วิเคราะห์สถิติด้วย Chi square T- test และหาปัจจัยการเกิดไข้ชัก ด้วย logistic regression และหาจุดตัดที่เหมาะสมด้วย Youden index


ผลการศึกษา: จากเด็ก 202 รายพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะชักจากไข้ โดยพบค่าเฉลี่ยอุณหภูมิร่างกายในกลุ่มไข้ชัก 39.18±0.76 องศาเซลเซียส และเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะชักจากไข้ พบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียสเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อไข้ชัก 5.44 เท่า (OR=5.44; 95%CI 3.19-9.28;p-value= <0.01) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะชักจากไข้ ด้วยวิธี multiple logistic regression โดยควบคุม  เพศ อายุ  น้ำหนัก ส่วนสูง  ประวัติไข้ชักในครอบครัว ประวัติโรคลมชักในครอบครัว ประวัติการได้รับวัคซีน ประวัติติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ อุณหภูมิร่างกายสูงสุด  Hb (g/dL) Hct (%) MCV (fL) RDW (%)พบว่า Neutrophil to lymphocyte ratio (NLR) ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยเป็นปัจจัยที่เพิ่มขึ้น 18.15 เท่า (adj.OR=18.15;95%CI=6.60-49.91;p-value=<0.01) อุณหภูมิกายสูงสุด(องศาเซลเซียส)ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยเป็นปัจจัยที่เพิ่มขึ้น 2.19 เท่า (adj.OR=2.19;95%CI=1.23-3.91;p-value=<0.01) นอกจากนี้ยังพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ FS ได้แก่  Lymphocyte counts  ที่น้อยกว่า 3536 cells/µL มีความไว 85.14 % ความจำเพาะ 33.66% AUC =0.39 , Neutrophil counts >4480 cells/µL มีความไว 87.18% ความจำเพาะ 77.22% AUC =0.88, Neutrophil to lymphocyte ratio >0.9 มีความไว 91.08% ความจำเพาะ 71.28% AUC =0.85


สรุป: เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะชักจากไข้ ได้แก่ Neutrophil to lymphocyte ratio (NLR)  อุณหภูมิกายสูงสุด(องศาเซลเซียส) นอกจากนี้ยังพบว่า Neutrophil to lymphocyte ratio เป็นตัวทำนายการเกิดภาวะชักจากไข้ได้ดีกว่า Lymphocyte counts  และ Neutrophil counts

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Han JY, Han SB. Febrile Seizures and Respiratory Viruses Determined by Multiplex Polymerase Chain Reaction Test and Clinical Diagnosis. Child Basel Switz. 2020 Nov 17;7(11):234.

Febrile seizures: an update | Archives of Disease in Childhood [Internet]. [cited 2024 Apr 10]. Available from: https://adc.bmj.com/content/89/8/751

Febrile seizures [Internet]. [cited 2024 Apr 12]. Available from: https://www.e-cep.org/journal/view.php?doi=10.3345/kjp.2014.57.9.384

Hossain MM, Saha NC. Clinical review of febrile seizure and updates. Karnataka Paediatr J. 2021 Jun 2;36(1):3–12.

Choi J, Min HJ, Shin JS. Increased levels of HMGB1 and pro-inflammatory cytokines in children with febrile seizures. J Neuroinflammation. 2011 Oct 11;8(1):135.

Liu Z, Li X, Zhang M, Huang X, Bai J, Pan Z, et al. The role of Mean Platelet Volume/platelet count Ratio and Neutrophil to Lymphocyte Ratio on the risk of Febrile Seizure. Sci Rep. 2018 Oct 11;8(1):15123.

Buonacera A, Stancanelli B, Colaci M, Malatino L. Neutrophil to Lymphocyte Ratio: An Emerging Marker of the Relationships between the Immune System and Diseases. Int J Mol Sci. 2022 Mar 26;23(7):3636.

van Stuijvenberg M, Steyerberg EW, Derksen-Lubsen G, Moll HA. Temperature, Age, and Recurrence of Febrile Seizure. Arch Pediatr Adolesc Med. 1998 Dec 1;152(12):1170–5.

Sharawat IK, Singh J, Dawman L, Singh A. Evaluation of Risk Factors Associated with First Episode Febrile Seizure. J Clin Diagn Res JCDR. 2016 May;10(5):SC10–3.

Xixis KL, Samanta D, Smith T, Keenaghan M. Febrile Seizure. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 [cited 2024 Apr 12]. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK448123/

Gontko – Romanowska K, Żaba Z, Panieński P, Steinborn B, Szemień M, Łukasik – Głębocka M, et al. The assessment of laboratory parameters in children with fever and febrile seizures. Brain Behav. 2017 May 15;7(7):e00720.

Hosseini S, Gharedaghi H, Hassannezhad S, Sadeghvand S, Maghari A, Dastgiri S, et al. The Impact of Neutrophil-Lymphocyte Ratio in Febrile Seizures: A Systematic Review and Meta-Analysis. BioMed Res Int. 2022;2022:8472795.

Han JY, Han SB. Pathogenetic and etiologic considerations of febrile seizures. Clin Exp Pediatr. 2023 Feb;66(2):46–53.