ปัจปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลอรัญประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: การคลอดก่อนกำหนด (Preterm birth) เป็นปัญหาที่สำคัญต่อสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในทารกแรกเกิด โดยข้อมูลจากทั่วโลกมีรายงานทารกคลอดก่อนกำหนดมากกว่า 1 คนต่อทารก 10 คน และมีประมาณ 15 ล้านคน (ร้อยละ 11) ที่คลอดก่อนอายุ 37 สัปดาห์ ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของทารกและมารดาลดลง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยป้องกัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอรัญประเทศ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลอรัญประเทศ
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดจำนวน 185 ราย และคลอดครบกำหนดจำนวน 185 ราย รวมทั้งสิ้น 370 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอรัญประเทศ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลการศึกษา: จากข้อมูลพื้นฐานพบว่า กลุ่มที่คลอดก่อนกำหนดค่ามัธยฐานของอายุอยู่ที่ 28 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวานร้อยละ 6 ค่ามัธยฐานของดัชนีมวลกายอยู่ที่ 22.2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระดับความเข้มข้นเลือดทั้งฮีโมโกลบิน และฮีมาโทคริต ในกลุ่มที่คลอดก่อนกำหนดมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่คลอดครบกำหนด สตรีตั้งครรภ์ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 2.51 เท่า สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 6.17 เท่า [aOR: 6.17 (95%CI : 1.19-32.11), P-value = 0.03] สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดก่อนหน้านี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 7.49 เท่า [aOR: 7.49 (95%CI : 2.36-23.75), P-value = 0.03] ส่วนการฝากครรภ์ที่น้อยกว่า 8 ครั้งมีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 7.49 เท่า [aOR: 7.49 (95%CI : 2.36-23.75), P-value <0.001] ภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 2.62 เท่า [aOR: 2.62 (95%CI : 1.61-4.26), P-value = 0.002] และการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์เช่น ตับอักเสบบี ช่องคลอดอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และติดเชื้อโควิด 19 มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 24.65 [aOR: 24.65 (95%CI : 3.19-190.53), P-value = 0.002]
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดจากงานวิจัยชิ้นนี้ได้แก่ สตรีที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดก่อนหน้านี้ โรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง มีภาวะแทรกซ้อนเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ จำนวนการฝากครรภ์น้อยกว่า 8 ครั้ง การติดเชื้อในช่วงระหว่างตั้งครรภ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Howson CP, Kinney MV, McDougall L, Lawn JE. Born too soon: preterm birth matters. Reprod Health. 2013;10 Suppl 1(Suppl 1):S1.
Beck S, Wojdyla D, Say L, Betran AP, Merialdi M, Requejo JH, et al. The worldwide incidence of preterm birth: a systematic review of maternal mortality and morbidity. Bull World Health Organ. 2010;88(1):31-8.
Saigal S, Doyle LW. An overview of mortality and sequelae of preterm birth from infancy to adulthood. Lancet. 2008;371(9608):261-9.
Lawn JE, Kinney MV, Belizan JM, Mason EM, McDougall L, Larson J, et al. Born Too Soon: Accelerating actions for prevention and care of 15 million newborns born too soon. Reproductive Health. 2013;10(1):S6.
กรมอนามัย.ข้อมูลการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข 2565;2-3
วรพงศ์ ภู่พงศ์. Untold Treatment of Preterm Labor. การประชุมวิชาการราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย 2562;62:1-3.
Gestational Hypertension and Preeclampsia: ACOG Practice Bulletin, Number 222. Obstetrics & Gynecology. 2020;135(6):e237-e60.
Gill SK, Broussard C, Devine O, Green RF, Rasmussen SA, Reefhuis J. Association between maternal age and birth defects of unknown etiology: United States, 1997-2007. Birth Defects Res A Clin Mol Teratol. 2012;94(12):1010-8.
Hypertension in pregnancy. Report of the American College of Obstetricians and Gynecologists’ Task Force on Hypertension in Pregnancy. Obstet Gynecol. 2013;122(5):1122-31.
Association AD. Standards of Medical Care in Diabetes—2022 Abridged for Primary Care Providers. Clinical Diabetes. 2022;40(1):10-38.
Recommendations to prevent and control iron deficiency in the United States. Centers for Disease Control and Prevention. MMWR Recomm Rep. 1998;47(Rr-3):1-29.
Freedman, D.S., Horlick, M. & Berenson, G.S., 2013. A comparison of the Slaughter skinfold-thickness equations and BMI in predicting body fatness and cardiovascular disease risk factor levels in children. Am. J. Clin. Nutr., 98(6), pp.1417–24.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Hoffman BL, Casey BM, et al. Preterm Birth. Williams Obstetrics, 25e. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2018.
พรทิพย์ เรืองฤทธิ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย: เชียงรายเวชสาร.ปีที่ 14 ฉบับที่ 1/2565
Kinpoon K, Chaiyarach S. The Incidence and Risk Factors for Preterm Delivery in Northeast Thailand. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2021;29(2):100-11.
Zhang Y-P, Liu X-H, Gao S-H, Wang J-M, Gu Y-S, Zhang J-Y, et al. Risk Factors for Preterm Birth in Five Maternal and Child Health Hospitals in Beijing. PLOS ONE. 2012;7(12):e52780.
Kinjyo Y, Kinjo T, Mekaru K, Nagai Y, Moromizato T, Ohata T, et al. Risk Factors of Preterm Birth in Okinawa Prefecture, the Southernmost Island Prefecture of Japan. Matern Child Health J. 2023;27(1):92-100.
Mehta PM, Wang MC, Cameron NA, Freaney PM, Perak AM, Shah NS, et al. Association of Prepregnancy Risk Factors With Racial Differences in Preterm Birth Rates. Am J Prev Med. 2023;65(6):1184-6.
Gurung A, Wrammert J, Sunny AK, Gurung R, Rana N, Basaula YN, et al. Incidence, risk factors and consequences of preterm birth – findings from a multi-centric observational study for 14 months in Nepal. Archives of Public Health. 2020;78(1):64.