การศึกษาความเที่ยงตรงของการตรวจCMAPเมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจneedle EMG พบspontaneous activity ของภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือในโรงพยาบาลชลบุรี

Main Article Content

ณฐินี อินทีวร

บทคัดย่อ

ที่มาของปัญหา: การส่งตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อวินิจฉัยในผู้ป่วยภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือสามารถช่วยยืนยันและบอกระดับความรุนแรงของโรคได้ และเกณฑ์การตรวจมีทั้งแบบใช้และไม่ใช้ผลneedle EMG การตรวจโดยใช้needle EMGเพื่อประเมินภาวะเส้นประสาทถูกทำลาย(axonopathy)หากตรวจพบspontaneous activity แต่การตรวจต้องใช้เข็มแทงกล้ามเนื้อบริเวณมือซึ่งทำให้เกิดความเจ็บ และมีเรื่องค่าใช้จ่ายจากเข็มที่ใช้ตรวจ การตรวจด้วยวิธีชักนำประสาทโดยใช้CMAPน่าจะใช้พยากรณ์ภาวะเส้นประสาทถูกทำลายได้


วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง สืบค้นข้อมูลจากเวชระเบียนการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อวินิจฉัยที่สรุปผลการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อวินิจฉัยพบภาวะเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ และได้รับการตรวจทั้งการชักนำประสาทและการตรวจแบบneedle EMG แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลชลบุรี ช่วงปี 2562 - 2566


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 54 ราย อยู่ในเกณฑ์คัดออก 4 ราย ดังนั้นผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์มีทั้งหมด 50 ราย ผลการตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อวินิจฉัยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีผลการตรวจCMAP< 5 mv และตรวจพบspontaneous activity จำนวน 26 ราย ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจCMAP< 5 mv และตรวจไม่พบ spontaneous activity จำนวน 6 ราย ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจCMAP≥ 5 mv และตรวจพบspontaneous activity จำนวน 3 ราย และผู้ป่วยที่มีผลการตรวจCMAP≥ 5 mv และตรวจไม่พบspontaneous activity จำนวน 15 ราย นำมาคำนวณค่าsensitivity ได้ 90% ค่าspecificity ได้ 71% และaccuracy 82% เมื่อใช้Logistic regressionทำกราฟจากผลCMAPพบจุดตัดที่ 3.7 mv และมีค่าspecificityเพิ่มขึ้นเป็น 86%


สรุป: การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยในผู้ที่มีภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือสามารถใช้ CMAP พยากรณ์โอกาสตรวจพบspontaneous activity ใน needle EMG ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Padua L, Coraci D, Erra C, et al. Carpal tunnel syndrome: clinical features, diagnosis, and management. Lancet Neurol. 2016;15(12):1273- 1284.

Luckhaupt SE, Dahlhamer JM, Ward BW, Sweeney MH, Sestito JP, Calvert GM. Prevalence and work-relatedness of carpal tunnel syndrome in the working population, United States, 2010 National Health Interview Survey. Am J Ind Med. 2013;56(6):615-624.

Atroshi I, Gummesson C, Johnsson R, Ornstein E, Ranstam J, Rosén I. Prevalence of carpal tunnel syndrome in a general population. JAMA 1999;282:153-158.

Padua L, Padua R, Lo Monaco M, Aprile I, Tonali P. Multiperspective assessment of carpal tunnel syndrome: a multicenter study. Italian CTS Study Group. Neurology. 1999;53:1654-9.

Jablecki CK, Andary MT, Floeter MK, Miller RG, Quartly CA, Vennix MJ, et al. American Association of Electrodiagnostic Medicine; American Academy of Neurology; American Academy of Physical Medicine and Rehabilitation. Practice parameter: electrodiagnostic studies in carpal tunnel syndrome. Report of the American Association of Electrodiagnostic Medicine, American Academy of Neurology, and the American Academy of Physical Medicine and Rehabilitation. Neurology. 2002;58:1589-92.

Werner RA, Andary M. Electrodiagnostic evaluation of carpal tunnel syndrome. Muscle Nerve 2011; 44:597–607.

Wang L. Electrodiagnosis of carpal tunnel syndrome. Phys Med Rehabil Clin N Am 2013; 24:67–77.

Preston, D. C. & Shapiro, B. E. Electromyography and neuromuscular disorders, Third Edition: Elsevier Inc; 2013:19-35.

Balbierz JM, Cottrell AC, Cottrell WD. Is needle examination always necessary in evaluation of carpal tunnel syndrome? Arch Phys Med Rehabil 1998;79:514–516.

Werner RA, Albers JW. Relation between needle electromyography and nerve conduction studies in patients with carpal tunnel syndrome. Arch Phys Med Rehabil 1995;76:246-9.

Chang CW, Lee WJ, Liao YC, Chang MH. Which nerve conduction parameters can predict spontaneous electromyographic activity in carpal tunnel syndrome? Clin Neurophysiol 2013; 124:2264–2268.

El-Emary WS, Hassan MM. Needle electromyography in carpal tunnel syndrome: Is it valuable or predictable? Egypt Rheumatol Rehabil 2016;43:41-6.

Dumitru D, Zwarts MJ, Amato AA. Electrodiagnostic medicine, Second Edition: Hanley and belfus Inc; 2002:196.