ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ และทักษะการใช้ยาสูดพ่นรายบุคคลในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น โรงพยาบาลพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา Tarakes Rachabungsa
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ:ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นที่มีความรู้และทักษะการใช้ยาสูดพ่นอย่างถูกต้องสามารถป้องกันการเกิดอาการจับหืดอย่างเฉียบพลันได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้และทักษะการใช้ยาสูดพ่นก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และทักษะรายบุคคล
วิธีการศึกษา:เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง ศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลพนมสารคาม ระหว่างเดือน เมษายนถึง มิถุนายน พ.ศ.2567กลุ่มตัวอย่างจำนวน 29 รายเลือกแบบเจาะจงศึกษาก่อนและหลังใช้โปรแกรมการให้ความรู้ และทักษะการใช้ยาสูดพ่นรายบุคคล ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และทักษะก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ T-Test dependent (P<0.05)
ผลการวิจัย: การใช้โปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดพ่นรายบุคคลในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยความรู้การใช้ยาสูดพ่นก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ(M= 2.79 ( S.D.1.16)) และ 7.96
( S.D.1.81))และค่าเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติการใช้ยาสูดพ่นก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ ( M=3.20 (S.D.1.50) และ7.86 (S.D 1.00))ค่าเฉลี่ยความรู้และค่าเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติการใช้ยาสูดพ่นหลังการใช้โปรแกรมฯ มีเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.015 และ p =0.018)ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ:จากผลการวิจัยสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อลดการจับหืดอย่างเฉียบพลันและกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. (2558).แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
World Health Organization.(2015). Chronic obstructive pulmonary disease (COPD).Available from: http://www.who.int/respiratory/copd.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติโรคกรมการแพทย์รายงานสถิติโรค ปีงบประมาณ 2564.กรุงเทพมหานคร:สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวง.
สมาคมอุรเวชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2560).ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.กรุงเทพ: เอ พลัส พริ้น.
คุณัญญา พละศักดิ์.(2566).การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา.วารสารวิชาการมหาสารคาม, 15(8),228-337.
ศูนย์ข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. (2566).โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ. วันที่ค้นข้อมูล4 มกราคม 2566.เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main.
อัญชลี วรรณภิญโญ.(2560). ผลของการให้คำปรึกษาด้านยาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ.ชัยภูมิแวชสาร,41(1),97-110.
บุญชรัสมิ์ ธันย์ธิติธนากุล.(2560).ผลของโปรแกรมการพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก,28(2),97-109.