การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- ขั้นตอนการส่งบทความผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ และข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล
- การเขียนชื่อเจ้าของบทความหลัก email เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ทำงาน ขอให้เป็นไปตามรูปแบบที่ WESR กำหนด (โปรดดูตัวอย่างในวารสาร)
- การเตรียมต้นฉบับ ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ (กำหนดตามหัวข้อ) คำสำคัญ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเป็นไปตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับที่ WESR กำหนด
- การอ้างอิงในเนื้อหา และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความใช้ตามหลักเกณฑ์ Vancouver และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องไม่มีปัญหาการลอกเลียนงานวิชาการ (Plagiarism)
- ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun New การแสดงรูปภาพ แผนภูมิ และตารางขอให้อยู่ในเนื้อหาที่สอดคล้องกัน
- ผู้เขียนต้องส่งหนังสือ/บันทึกข้อความแสดงความจำนงลงผลงานตีพิมพ์ใน WESR โดยได้ผ่านการรับรองความถูกต้องของบทความจากสังกัดที่ทำงาน
คำแนะนำผู้แต่ง
ประเภทบทความที่เผยแพร่
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ (WESR) จัดประเภทบทความที่เผยแพร่ออกเป็น 4 ประเภทหลัก โดยกองระบาดวิทยาได้ดำเนินการเผยแพร่รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและสรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบสถานการณ์โรคทันท่วงที และสามารถเตรียมตัวรับมือป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เนื้อหาข้อมูลประเภทที่ 1-3 นี้ ไม่ได้รับการทบทวนโดยผู้ประเมินบทความ แต่ได้รับการตรวจสอบโดยบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนได้รับการเผยแพร่ ส่วนบทความต้นฉบับที่ได้รับจากผู้เขียนจะผ่านการตรวจสอบโดยผู้ประเมินบทความและบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนได้รับการเผยแพร่
ประเภทบทความที่เผยแพร่ออกเป็น 4 ประเภทหลัก มีดังนี้
- รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์
- สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์
- แนวทางการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ/รายงานเบื้องต้น ความคืบหน้า ของการระบาดของโรคหรือภัยสุขภาพ-การวิจัย/สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ/มุมมองความคิดเห็น/การสื่อสารเชิงรุก
- บทความต้นฉบับ
- การสอบสวนทางระบาดวิทยา
- งานวิจัยทางระบาดวิทยา
- การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง
- การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ
- บทความฟื้นวิชา
- รายงานผู้ป่วย
การเตรียมต้นฉบับ
การส่งต้นฉบับไปยัง WESR จะต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนในภาษาใด ๆ หรือวารสารที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนร่วมทุกคนต้องรับทราบและอนุมัติการส่งเพื่อเผยแพร่ ต้นฉบับควรส่งในรูปแบบ Microsoft Word และอัปโหลดไปยังระบบ ThaiJo
ตัวอย่าง หนังสือ/บันทึกข้อความแสดงความจำนงลงผลงานตีพิมพ์ใน WESR คลิก
ข้อกำหนดและคำแนะนำสำหรับการตีพิมพ์
1) ประเภทของบทความ/เนื้อหาที่ตีพิมพ์ใน WESR
- รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ รายงานจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเครือข่ายด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวัง รวบรวมรายงานโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กองระบาดวิทยาเป็นหน่วยงานรวบรวมข้อมูลในภาพรวมระดับประเทศ นำเสนอในรูปแบบตารางภาษาอังกฤษ มีการเผยแพร่รายสัปดาห์ และรายเดือน โดยมีรายละเอียดแนวโน้มการพบโรคที่ต้องเฝ้าระวัง/จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตที่มีการระบาดในพท. ต่าง ๆ พร้อมข้อเสนอแนะและมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคเบื้องต้น
- สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในรอบสัปดาห์ ข่าวการระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 13 แห่ง และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค และมีการประเมินความเสี่ยงในโรคที่มีการระบาดในช่วงนั้น ๆ รวมถึงข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศอีกด้วย จัดทำและรวบรวมโดยทีมตระหนักรู้สถานการณ์โรค กรมควบคุมโรค
- สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพ เป็นการนำเสนอสถานการณ์โรคที่มีการระบาดในช่วงสัปดาห์นั้น ๆ โดยมีรายละเอียด การระบาดในประเทศ หรือพบการระบาดในต่างประเทศ โดยวิเคราะห์ลักษณะทางระบาดวิทยา นำเสนอข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาเชื้อ และระบบเฝ้าระวังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อเสนอแนะ ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ บทนำ (กล่าวถึงสถานการณ์โดยรวม ใส่ความรู้เกี่ยวกับโรคหากเป็นโรคอุบัติใหม่หรือเป็นโรคหายาก) รายละเอียดลักษณะทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้อง การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยระดับส่วนกลาง/พื้นที่ การสื่อสารความเสี่ยง สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป เอกสารอ้างอิง และความยาวของบทความไม่ควรเกิน 1-4 หน้า
- รายงานเบื้องต้น (preliminary report) หรือรายงานสังเขป (short communication) เป็นการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัย/การสอบสวนโรค/ภัยสุขภาพที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ต้องศึกษาต่อเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือศึกษาเสร็จแล้ว กำลังเตรียมต้นฉบับสมบูรณ์ และความยาวไม่ควรเกิน 4–8 หน้า
- การสอบสวนโรค/ภัยเบื้องต้น เป็นการอธิบายการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพที่ดำเนินการสอบสวนในช่วงแรกหลังได้รับรายงานการระบาด ประกอบด้วยหัวข้อ บทนำ การดำเนินการสอบสวนเบื้องต้น สถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพในพื้นที่ รายละเอียดผู้ป่วย/การระบาด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ/สิ่งแวดล้อม สรุปการสอบสวนเบื้องต้น มาตรการดำเนินการควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรค การสื่อสารความเสี่ยงในระดับส่วนกลาง/พื้นที่ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 2–4 หน้า
- การสื่อสารเชิงรุก เป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้อ่านในวงกว้าง เพื่อลดการตื่นตระหนก ลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรค/ภัยสุขภาพในวงกว้าง ประกอบด้วยหัวข้อ ไฮไลท์สรุปสั้น ๆ เกริ่นนำ/ความเป็นมา แนวโน้มที่จะเกิดการะบาด/พบโรคในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพของประเทศที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารความเสี่ยงต่อสาธารณะ ในพท./ภาพรวมประเทศ สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง และความยาวไม่ควรเกิน 2–4 หน้า
- การสอบสวนทางระบาดวิทยา เป็นรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเกิดโรค/ภัยประกอบด้วย สาเหตุปัจจัยของการเกิดโรค/ภัย แหล่งโรค/ภัย วิธีการถ่ายทอดโรค รวมถึงวิธีการกระจายของโรค/ภัย ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและวิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 14 หน้า
- งานวิจัยทางระบาดวิทยา การศึกษา ค้นคว้าวิจัย ตั้งคำถามการศึกษา เพื่อตอบคำถามวิจัย เลือกประเภทการศึกษา เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการศึกษามาตรการควบคุมโรค การป้องกันโรค นโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรค/ภัยทางสาธารณสุข โดยคำนึงถึงเรื่องจริยธรรม (Ethic) ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไปนี้ บทคัดย่อ บทนำ วิธีการศึกษา วัสดุและวิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 14 หน้า
- การประเมินแผนงานสาธารณสุขและการประเมินการเฝ้าระวัง การศึกษา/ประเมินระบบการจัดการ และการเฝ้าระวังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานระบาดวิทยาและงานควบคุมโรค ทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคจากการประกอบอาชีพ ควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและตามด้วยลำดับเนื้อเรื่องดังต่อไป บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ ข้อจำกัดในการศึกษา สรุป ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 14 หน้า
- การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพ เป็นรายงานข้อมูลจากการเฝ้าระวังระบบต่าง ๆ วิเคราะห์ อธิบายลักษณะการเกิดโรคและการกระจายของโรค ตามบุคคล เวลา และสถานที่ พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค หรือนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 14 หน้า
- บทความฟื้นวิชา บทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วยบทนำวิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง อาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วยก็ได้ และประกอบด้วยบทคัดย่อ บทนำ ความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น บทวิจารณ์ และสรุปผลจากความคิดเห็นของผู้เขียน เอกสารอ้างอิงควรเป็นปัจจุบัน ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 8 หน้า
- รายงานผู้ป่วย รายงานกรณีศึกษาที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่/หรือพบยาก ต้องมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน ประกอบด้วย สถานการณ์โรค ข้อมูลคนไข้ บันทึกเวชกรรม (Clinic note) ลักษณะเวชกรรม (Case description) การดำเนินโรค (Clinic course) สรุปกรณีศึกษา วิจารณ์หรือข้อสังเกต การยินยอมอนุญาตของคนไข้ (informed consent) และเอกสารอ้างอิง และความยาวของบทความไม่ควรเกิน 10 หน้า
2) การเตรียมต้นฉบับ
- ชื่อเรื่อง ควรสั้นและกระชับ ครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทเนื้อเรื่อง ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ชื่อผู้นิพนธ์ ควรระบุชื่อ-สกุลเต็ม (ไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม) และสถานที่ทำงาน/สังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่มีผู้แต่งหลายคน ควรระบุชื่อเรียงตามการมีส่วนร่วมในบทความ ใส่ตัวเลขในรูปแบบตัวเลขยกหลังนามสกุลของผู้แต่งทุกท่านซึ่งเชื่อมโยงกับสังกัดที่ระบุมาร่วมด้วย รวมทั้งระบุ อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ สำหรับการติดต่อ
- บทคัดย่อ การย่อเนื้อหาสำคัญ เอาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ระบุตัวเลขทางสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์ เขียนเป็นหัวข้อ คือ บทนำและวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายและข้อเสนอแนะ ไม่ต้องมีเชิงอรรถ ไม่อ้างอิง บทคัดย่อต้องเขียนทั้งภาษาไทย ไม่เกิน 550 คำ และภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 450 คำ
- เนื้อเรื่อง ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั้น กะทัดรัดและชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน ตัดคำฟุ่มเฟื่อย ควรใช้เท่าที่จำเป็น (เท่ากับ คิดเป็น จะ ซึ่ง แสดง โดย) หากมีการใส่หน่วยทางวิทยาศาสตร์ควรระบุหน่วยเต็ม ไม่ใช้คำย่อ
- บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมของงานที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
- วัสดุและวิธีการ อธิบายระเบียบวิธีวิจัยรวมถึงแหล่งข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่างข้อมูล และเครื่องมือการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลและหลักการทางสถิติที่ใช้
- ผลการศึกษา อธิบายผลการศึกษา/วิจัยโดยละเอียด แสดงผลสอดคล้องกับวิธีการศึกษา/วิจัย ตลอดจนตีความผลการวิจัยหรือการวิเคราะห์
- สรุปและอภิปราย วิเคราะห์ผลการศึกษา/วิจัยที่ได้ผลอย่างไร เป็นไปตามที่คิดหรือไม่ และอ้างอิง ทฤษฎีหรือการศึกษาใด ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) ควรเป็นการระบุใคร/หน่วยงานใด ดำเนินการอย่างไร กับใครหรือหน่วยงานใด เมื่อใด
- บทสรุป (ถ้ามี) สรุปบทความวิจัยและเสนอแนะเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการทำงานต่อไป
- รูปและตาราง ชื่อรูปและชื่อตารางควรตรงกับเนื้อหาโดยละเอียด ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ใส่บริเวณด้านล่างของรูป ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ กราฟ แผนผัง แผนที่ ให้ระบุเป็น ‘รูปที่’ ทั้งหมด หากเป็นกราฟต้องใส่คำอธิบายแกน X, Y ในกราฟเท่านั้น
- คำสำคัญ เป็นคำที่แสดงถึงเนื้อหาของบทความ โดยย่อเหลือเพียงคำที่แสดงใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง เพื่อช่วยในการสืบค้นและเข้าถึงเนื้อหาของบทความได้ง่ายขึ้น คำสำคัญควรสั้น กะทัดรัด ชัดเจน มีจำนวน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อ
- การอ้างอิง การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบ Vancouver เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย ผู้นิพนธ์ต้องแปลรายการเอกสารอ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษและระบุ "(in Thai)" ท้ายรายการเอกสารอ้างอิงนั้น ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบในความถูกต้องของเอกสารที่อ้างอิง การอ้างถึงเนื้อหาบทความในแต่ละข้อความควรมีหมายเลขเฉพาะ พิมพ์หมายเลขในวงเล็บเป็นลักษณะตัวพิมพ์ยกข้างท้ายข้อความที่อ้าง เริ่มต้นที่หมายเลข 1 การอ้างอิงครั้งแรกและเรียงลำดับต่อเนื่องกันโดยตลอดจนถึงท้ายบท ถ้าผู้เขียนอ้างอิงบทความนั้นมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้ใช้หมายเลขอ้างอิงเดียวกัน กรณีเป็นวารสารต่างประเทศ กรุณาใช้ชื่อย่อตามหนังสือ Index Medicus ข้อผิดพลาดใด ๆ เกี่ยวกับการอ้างอิงจะทำให้กระบวนการส่งล่าช้าเนื่องจากการขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เขียนเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ บทควาทวิชาการควรมีการอ้างอิงไม่ต่ำกว่า 10 เอกสารอ้างอิง
3) รูปแบบการอ้างอิง (โปรดสังเกตเครื่องหมายวรรคตอนในตัวอย่าง)
Referencing Format (please notice the punctuation marks in the examples)
- Journal Articles
Numeric order. Authors’ Names (Surnames and Initials). Title of the Article. Abbreviated Journal Name. Year of Publication; Journal Volume: First page - Last page. In case there are more than 6 authors, the first 6 authors are listed, followed by et al.
Example: Moher D, Liberati A, Tetzlaff J, Altman DG. Preferred reporting items for systematic reviews and meta-analyses: the PRISMA statement. J Clin Epidemiol. 2009; 62: 1006-12.
- Textbooks and handbooks divided into 2 types
1. Book
Numeric order. Authors’ Names (Surnames and Initials). Book Title. Edition. City of Publication: Publisher; Year of Publication.
Example: Toman K. Tuberculosis case-finding and chemo-therapy. Geneva: World Health Organization; 1979.
2. Book chapters chapter in an edited book
Numeric order. Authors’ Names. Chapter Title. In; (Editors’ Names), Editor. Book Title. Edition. City of Publication: Publisher; Year of Publication. First page - Last page
Example: Becker MH, Maiman LA. The Health Belief Model and Sick Role Behavior. In: Becker MH, editor. The health belief model and personal health behavior. New Jersey: Charles B. Slack, Inc; 1974. pp. 82–92.
- Conference proceeding
Numeric order. Editors’ Names, Editor(s). Title. Conference Name; Conference Date; Conference Venue. City of Publication: Publisher; Year of Publication.
Example: Kimura J, Shibasaki H, editors. Recent advances in clinical neurophysiology. Proceedings of the 10th International Congress of EMG and Clinical Neurophysiology; 1995 Oct 15-19; Kyoto, Japan. Amsterdam: Elsevier; 1996.
- Conference article
Numeric order. Author's Name. Title. In: editor’s name, editor. Meeting name; Meeting date; Meeting place, Meeting City. City of Publication: Year of publication. p. First page-last page.
Example: Bengtsson S, Solheim BG. Enforcement of data protection, privacy and security in medical informatics. In: Lun KC, Degoulet P, Piemme TE, Rienhoff O, editors. MEDINFO 92. Proceedings of the 7th World Congress on Medical Informatics; 1992 Sep 6-10; Geneva, Switzerland. Amsterdam: North-Holland; 1992. p. 1561-5.
- Thesis
Numeric order. Author’s Name. Title [Thesis Type/ Degree]. City of Publication: University; Year of Graduation. Number of pages.
Example: Sansiritaweesook G. Development of a surveillance system to prevent drowning based on the participation of communities at Ubon Ratchathani Province [dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2012. 391 p. (in Thai)
- Electronic documents
- Electronic Journal: Numeric order. Author’s Name. Title. Journal Name [Media type]. Publication Year [Retrieved/ Cited Date]; volume: First page - Last page. Access/ Available from: https://..................
Example: Arora M, Chauhan K, John S, Mukhopadhyay A. Multi–sectoral action for addressing social determinants of noncommunicable diseases and mainstreaming health promotion in national health programmes in India. Indian J Community Med [Internet]. 2011 [cited 2022 Dec 25];36:S43–9. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22 628911/
-
- Electronic Books or Articles: Numeric order. Author’s Name. Title [Type of media]. Printed city. Publisher; Publication Year [Retrieved / cited Year, Month, Date]. Number of Pages. Source / Available from: https: // …………
Example: Merlis M, Gould D, Mahato B. Rising out-of-pocket spending for medical care: a growing strain on family budgets [Internet]. New York: Commonwealth Fund; 2006 Feb [cited 2006 Oct 2]. 23 p. Available from: https://www.cmwf.org/usr_doc/Merlis_risingoopspending_887.pdf
- Other
Government agencies or national and international organizations support the production and dissemination.
The name of those organizations should be placed in the same position as that of the publisher. In case the nationality is not included in the organization’s name, two English letters designating the country code according to the ISO 3166 standard should be placed in parenthesis immediately after the organization’s name, for example:
-
- Department of Disease Control (TH)
- Department of Health (AU)
- Centers for Disease Control and Prevention (US)
- Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health (TH)
4) การส่งบทความ
- รูปแบบบทความ
- รูปแบบต้นฉบับ ใช้โปรแกรม MS-Word แบบตัวอักษรเป็น TH Sarabun New ขนาด 16
- การใช้ทศนิยม สามารถยอมรับทศนิยมหนึ่งหรือสองตำแหน่งได้ ดังนั้นโปรดใช้รูปแบบทศนิยมเดียวกันทั้งเอกสาร
- การอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ
- ภาพประกอบ ไดอะแกรม หรือรูปภาพ ควรใช้หมึกสีดำ หากใช้เป็นสีควรมีลวดลายแตกต่างเพื่อความชัดเจน รูปถ่ายควรอยู่ในไฟล์งานนำเสนอหรือใช้โปสการ์ดทุกสี และเขียนคำอธิบายแยกต่างหาก ห้ามขีดเขียนลงบนภาพ
- การส่งทางออนไลน์
รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์ (WESR) ยอมรับเฉพาะบทความต้นฉบับที่ส่งทางระบบออนไลน์โดยใช้ระบบ ThaiJo ให้ผู้นิพนธ์ส่งบทความออนไลน์ผ่านลิงก์ เริ่มส่งบทความต้นฉบับ
หากต้องการเริ่มการส่งใหม่หรือตรวจสอบการส่งที่รอดำเนินการไปแล้ว โปรดคลิก การส่งที่รอดำเนินการ
บทความต้นฉบับ
Section default policy
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
- เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
- บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ