การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2561–2563

ผู้แต่ง

  • สกาวเดือน เนตรทิพย์ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง กระทรวงสาธารณสุข
  • อภิสรา ตามวงค์ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคไข้เลือดออก, โรงพยาบาลวังเหนือ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปี พ.ศ. 2563 จังหวัดลำปางพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 958 ราย อัตราป่วย 129.90 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.14 อำเภอวังเหนือพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับ 4 ของจังหวัดลำปาง อัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง อย่างไรก็ตามการรายงานผู้ป่วยอาจไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงตามนิยามการเฝ้าระวังจึงทำการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกเพื่อให้ข้อเสนอแนะพัฒนาคุณภาพระบบเฝ้าระวังโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ใช้นิยามโรคไข้เลือดออกของกองระบาดวิทยา ประเมินผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวังเหนือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561–31 ธันวาคม 2563 ที่ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มโรคไข้เลือดออก ไข้ไม่ทราบสาเหตุ และการติดเชื้อไวรัส ด้วยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาจัดทำข้อสรุป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และ Epi info Version 3.4.5
ผลการศึกษา: จากการทบทวนเวชระเบียน 1,080 ราย พบค่าความไวของการรายงาน ร้อยละ 67.62 และความถูกต้อง ร้อยละ 97.26 ความทันเวลาการแจ้งรายงานโรคให้เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาทันที ร้อยละ 87.32 การสอบสวนโรคภายใน 3 ชั่วโมง ร้อยละ 87.32 และการบันทึกรายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังโรคภายใน 3 วัน ร้อยละ 95.8 ด้านความเป็นตัวแทน พบข้อมูล เพศ อายุ ในเวชระเบียนและรายงาน 506 ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ข้อมูลจำแนกตามสถานที่รายตำบลและอัตราป่วยรายปีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้านคุณภาพข้อมูล พบว่าข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและเพศ มีความถูกต้องทุกราย ส่วนข้อมูลวันเริ่มป่วยมีความถูกต้องต่ำสุด ร้อยละ 88.73 ในส่วนของคุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบว่า ระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลวังเหนือ มีความง่ายและยืดหยุ่น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ให้ความสำคัญ ได้รับการยอมรับและระบบสามารถตอบสนองต่อการทำงานได้ดี
ข้อเสนอแนะ: ควรมีการพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนระบบการรายงานและการแจ้งเตือนในระบบ Hos xp โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีไข้สูงควรได้รับการตรวจ Tourniquet Test ทุกราย รวมถึงการวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลการเฝ้าระวังแก่บุคลากรในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบเฝ้าระวังมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์; 2556.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 ปี 2563 [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/63-situation1-52.pdf

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดลำปาง ปี 2563. รายงานการประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลสาธารณสุขจังหวัดลำปาง ครั้งที่ 4/2564; 29 มกราคม 2564; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2546.

กิตติพันธ์ ฉลอม. การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรระบาดวิทยาและการบริหารจัดการทีม สำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก ประจำปี 2564; 9–13 พฤศจิกายน 2563; โรงแรมฮอไรซันวิลเลจแอนด์รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่.

รณรงค์ ศรีพล. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรคเลปโตสไปโรซีสและโรคหนองใน โรงพยาบาลผาขาว อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2558. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560; 24(1); 80–90.

ปรีชา ลากวงษ์ และ พรนภา ศุกรเวทยศิริ. คุณภาพของการรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในโรงพยาบาลของรัฐจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2555. วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555; 5(2): 55–64.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://odpc8.ddc.moph.go.th/upload_epi_article/euJNQ4xjS1BVa0UdTy92.pdf

กชพร อินทวงศ์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2554; 12(1); 37–47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-05

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ