ผลการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม–31 ธันวาคม 2564, 10 เดือน ภายหลังการรณรงค์ฉีดวัคซีน
คำสำคัญ:
AEFI, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19, AEFI-DDC, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ประเทศไทยได้นำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (วัคซีนโควิด 19) มาใช้ในภาวะฉุกเฉินเพื่อควบคุมการระบาดและป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง และเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในวันที่ 1 มีนาคม 2564 เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ที่นำเข้ามาใช้กับประชาชนในวงกว้าง โอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Event Following Immunization: AEFI) จึงมีมากไปด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายระบบเฝ้าระวัง AEFI และทบทวนข้อมูลการรายงาน AEFI ของวัคซีนโควิด 19
วิธีการดำเนินงาน: เป็นการพรรณนาโดยทบทวนและรวบรวมข้อมูล ปรับและจัดทำแนวทางระบบเฝ้าระวัง AEFI วิเคราะห์ข้อมูลการรายงานผู้ป่วย AEFI ของวัคซีนโควิด 19 จากฐานข้อมูลการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนของกรมควบคุมโรค (AEFI-DDC) ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม–31 ธันวาคม 2564 และข้อมูลการฉีดวัคซีนจากฐานข้อมูล MOPH-IC วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรม Stata บรรยายสัดส่วน และอัตราการรายงานต่อการฉีดวัคซีน
ผลการดำเนินงาน: กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมโดยจัดตั้งคณะทำงาน ระบบรายงานการฉีดวัคซีน และระบบ AEFI โดยให้ประชาชนรายงานอาการไม่พึงประสงค์ฯ ผ่านระบบ MOPH-IC และหมอพร้อม ส่วนการเฝ้าระวัง AEFI ร้ายแรงให้โรงพยาบาลรายงานผ่านระบบ AEFI-DDC รวมถึงได้มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญให้ครอบคลุมสาขาที่เกี่ยวข้อง และจัดตั้งผู้เชี่ยวชาญระดับเขตขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาสาเหตุ (Causality assessment) รวมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลการรายงานผู้ป่วยให้สอดคล้องกับวัคซีนโควิด 19 ข้อมูลการเฝ้าระวังฯ พบการฉีดวัคซีน 104,444,169 โดส มีรายงาน AEFI ร้ายแรง 6,396 ราย (อัตราการรายงาน 6.12 ต่อแสนโดส) ในจำนวนนี้เป็นรายงานผู้เสียชีวิต 1,885 ราย (1.8 ต่อแสนโดส) และเหตุการณ์ร้ายแรงอื่น ๆ 4,511 ราย (4.32 ต่อแสนโดส) ผลการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญพบเหตุการณ์ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้กัน (ร้อยละ 54) รองลงมาเป็นเหตุการณ์อาการที่เกี่ยวข้องกับความเครียดที่สัมพันธ์กับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 15 เกี่ยวข้องกับวัคซีน ร้อยละ 8 โดยส่วนใหญ่เป็นการแพ้วัคซีน รวมถึงเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำหลังได้รับวัคซีน (Vaccine-induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia: VITT) 7 ราย (อุบัติการณ์ 0.01 ต่อแสนโดส) ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยยืนยัน VITT 1 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย VITT 4 ราย และผู้ป่วยสงสัย VITT 2 ราย นอกจากนั้นยังมีรายงานภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 28 ราย (อุบัติการณ์ 0.03 ต่อแสนโดส) เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ร้อยละ 7 ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน ร้อยละ 3 และยังไม่สรุปต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ร้อยละ 12
ข้อเสนอแนะ: รายงาน AEFI ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ร่วมที่บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้กัน อย่างไรก็ตาม ควรมีการติดตามการรายงาน AEFI อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในการเข้ารับบริการวัคซีน และควรวิเคราะห์เชิงลึกในเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ VITT โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยเปรียบเทียบกับอุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้ในภาวะปกติก่อนที่จะมีการใช้วัคซีน
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 . 2564 [เข้าถึงวันที่ 12 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf
Rosenblum HG, Gee J, Liu R, Marquez PL, Zhang B, Strid P, et al. Safety of mRNA vaccines administered during the initial 6 months of the US COVID-19 vaccination programme: an observational study of reports to the Vaccine Adverse Event Reporting System and v-safe. Lancet Infect Dis. 2022;22(6):802-12.
Canada.ca. Canadian COVID-19 vaccination safety report Ottawa: Public Health Agency of Canada. 2022 [cited 2022 May 8]. Available from: https://health-infobase.canada.ca/covid-19/vaccine-safety/
Agency NPR. Summary Report on Adverse Events Following Immunisation of COVID-19 Vaccines in Malaysia (Data as of 10th June 2022). National Pharmaceutical Regulatory Agency; 2022.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. 2563 [เข้าถึงวันที่ 23 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf
Mahasing C, Yasopa O, Sansilapin C, Rattanathumsakul T, Thammawijaya P, Suphanchaimat R, et al. Investigation of a Cluster of Immunization Stress-Related Reactions after Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Vaccination, Thailand, 2021. Vaccines (Basel). 2022;10(3).
Roongpiboonsopit D, Nithisathienchai C, Akarathanawat W, Lertutsahakul K, Tantivattana J, Viswanathan A, et al. Inactivated COVID-19 vaccine induced acute stroke-like focal neurologic symptoms: a case series. BMC Neurol. 2022; 22(1):210.
Apiwattanakul M, Rojana-Udomsart A, Termglinchan T, Sinthuwong C, Tantirittisak T, et al. Good recovery of immunization stress-related responses presenting as cluster of stroke-like events following CoronaVac and ChAdOx1 vaccinations. 2022.
Kim AY, Woo W, Yon DK, Lee SW, Yang JW, Kim JH, et al. Thrombosis patterns and clinical outcome of COVID-19 vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia: A Systematic Review and Meta-Analysis. Int J Infect Dis. 2022;119:130–9.
Bozkurt B, Kamat I, Hotez PJ. Myocarditis With COVID-19 mRNA Vaccines. Circulation. 2021;144(6): 471–84.
Heymans S, Cooper LT. Myocarditis after COVID-19 mRNA vaccination: clinical observations and potential mechanisms. Nat Rev Cardiol. 2022;19(2):75–7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ