การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไวรัสตับอักเสบบี ชนิดเฉียบพลัน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • ฐิติพงษ์ ยิ่งยง กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บีและซี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สุปิยา จันทรมณี กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บีและซี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • เจษฎาภรณ์ งามบุญช่วย กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บีและซี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • จุฑาวรรณ นิลเพ็ชร กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บีและซี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ชารีฟ นาคสุข กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บีและซี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • วัชรพล สีนอ กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บีและซี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ไวรัสตับอักเสบบี, ประเมินระบบเฝ้าระวัง, บุรีรัมย์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคไวรัสตับอักเสบเป็นโรคที่มีความรุนแรง พบอัตราตายสูงเป็นลำดับที่ 7 ของสาเหตุการตายทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 47 ของผู้เสียชีวิตเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประมาณ 2.2–3 ล้านคน และพบอัตราป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี การติดตามข้อมูลการเฝ้าระวังมีความสำคัญต่อการประเมินความก้าวหน้าของโครงการกำจัดไวรัสตับอักเสบบีที่องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายไว้ การจำแนกประเภทของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรคไวรัสตับอักเสบบีในโรงพยาบาล คุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลัน
วิธีการศึกษา: เป็นรูปแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ โดยเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง คือ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี ที่เข้ารับการรรักษาในโรงพยาบาลดังกล่าว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม–31 ธันวาคม 2562 และศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพ โดยศึกษาขั้นตอนการรายงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบเฝ้าระวัง จากการคำนวนขนาดตัวอย่างสำหรับการศึกษาค่าพยากรณ์บวก 358 ตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างสำหรับการศึกษาค่าความไว 384 ตัวอย่าง
ผลการศึกษา: จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่รายงานใน รง.506 จำนวน 739 ราย (โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 537 ราย โรงพยาบาลนางรอง 202 ราย) และเวชระเบียนจาก ICD–10 ข้างเคียง 210 ราย (โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 150 ราย, โรงพยาบาลนางรอง 60 ราย) พบว่า ระบบเฝ้าระวังโรคไวรัสตับอักเสบบี ค่าความไวของโรงพยาบาลบุรีรัมย์เท่ากับร้อยละ 42.01 โรงพยาบาลนางรอง ร้อยละ 50.60 ค่าพยากรณ์บวก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ร้อยละ 29.02 โรงพยาบาลนางรอง ร้อยละ 57.53 คุณภาพของข้อมูลพบความไม่ถูกต้องในตัวแปร สถานภาพสมรส และวันที่พบผู้ป่วย โรงพยาบาลบุรีรัมย์มีความทันเวลา ของการรายงาน ร้อยละ 67.39 โรงพยาบาลนางรอง ร้อยละ 38.10 การยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ การยอมรับว่าไวรัสตับอักเสบเป็นโรคที่ต้องรายงาน
อภิปรายผล: ผู้ป่วยที่ถูกรายงานเข้ามายังระบบรายงาน 506 ที่ ไม่ตรงตามนิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค่าพยากรณ์บวกค่อนข้างต่ำ สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังที่มารับการรักษาต่อเนื่อง ได้ถูกลงผลการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV Infection) และให้รหัส ICD–10 เป็น B169 (Acute hepatitis B without delta–agent and without hepatic coma) และถูกส่งออกมายังรายงาน 506 ดังนั้น การตรวจสอบบันทึกผลวินิจฉัยที่ชัดเจน จะช่วยให้ระบบรายงาน 506 มีความถูกต้อง

References

Hepatitis virus Prevention and Control Committee, Ministry of Public Health, Thailand. National Strategies to Eliminate Viral Hepatitis 2017–2021. 2nd Edition. Nonthaburi: Division of AIDs and STDs, Department of Disease Control; 2017.

World Health Organization. Manual for the Development and Assessment of National Viral Hepatitis Plans, Technical report. Geneva: World Health Organization; 2012. P.9, 11–2.

Rojanapittayakorn W. Hope to ending viral hepatitis in Thailand [editorial]. Journal of Health Science. 2021; 30(4); 583–4.

Hepatitis virus Prevention and Control Committee, Ministry of Public Health, Thailand. Thailand National Strategies to Eliminate Viral Hepatitis 2022–2030. Nonthaburi: Division of AIDs and STDs, Department of Disease Control; 2023.

Sarinya Pongpan. Viral Hepatitis. In: Wanchai Ardkean. editor. Annual Epidemiology Surveillance Report 2018. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2018. P.164–7.

Silarak K, Namwong T. An evaluation of hepatitis B viral surveillance, Yasothon province, Thailand, January 2014–December 2016. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2017; 48: 769–76.

Kureta E, Basho M, Roshi E, Bino S, Simaku A, Burazeri G. Evaluation of the surveillance system for hepatitis B and C in Albania during 2013–2014. Alban Med J. 2016; 4: 57–68.

Zheng H, Millman AJ, Rainey JJ, Wang F, Zhang R, Chen H, et al. Using a hepatitis B surveillance system evaluation in Fujian, Hainan, and Gansu provinces to improve data quality and assess program effectiveness, China, 2015. BMC Infectious Diseases. 2020; 20: 547.

Kistan J. An evaluation of the performance of the Hepatitis B surveillance system at Charlotte Maxeke Johannesburg Academic Hospital for 2017–2018 [dissertation]. Johannesburg: University of Witwatersrand; 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07