การประเมินประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ของสายพันธุ์โอมิครอน ประเทศไทย เดือนมกราคม 2565
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลวัคซีน, สายพันธุ์โอมิครอน, วัคซีนโควิด 19, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ความเป็นมา: เดือนมกราคม 2565 ประเทศไทย เกิดการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนอย่างรวดเร็ว ครอบคลุม ร้อยละ 80 ของการตรวจหาสายพันธุ์เชื้อ SARS–CoV–2 แต่ความครอบคลุมของวัคซีนเข็ม 3 ยังค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 32.3) ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงความรุนแรงของโรคเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า และความ-สามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของมาตรการทางสาธารณสุข ทั้งด้านการรักษาและการฉีดวัคซีน ทำให้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลวัคซีนโควิด 19 ต่อการป้องกันการติดเชื้อในจังหวัดที่มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของสายพันธุ์โอมิครอน ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชลบุรี เชียงใหม่ และอุบลราชธานี
วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยทำการศึกษารูปแบบ Test-negative case-control study ในประชากรผู้สัมผัสที่มาตรวจหาเชื้อ SARS–CoV–2 ใน 4 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชลบุรี เชียงใหม่ และอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1–31 มกราคม 2565 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐาน Co–Lab ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อมกับฐานข้อมูลการได้รับวัคซีน MOPH–IC ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การศึกษามีนิยาม ผู้ติดเชื้อ (case) คือ ผู้ที่ตรวจพบเชื้อ SARS–CoV–2 ด้วยวิธี Real time polymerase chain reaction (RT–PCR) ในช่วงระยะเวลาศึกษาร่วมกับไม่เคยมีประวัติตรวจพบเชื้อในช่วงสามเดือนก่อนหน้า ส่วนผู้ไม่ติดเชื้อ (control) คือ ผู้ที่ไม่มีประวัติตรวจพบเชื้อตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน คำนวณหา Odds ratio (OR) และ 95% confidence interval ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (Logistic regression) โดยควบคุมตัวแปรกลุ่มอายุ (0–11 ปี, 12–17 ปี, 18–59 ปี, 60–120 ปี) จากนั้นคำนวณประสิทธิผลวัคซีน (Vaccine effectiveness) ด้วยสูตร (1–OR) *100%
ผลการศึกษา: พบประชากรเข้าเกณฑ์การศึกษา 4,127 ราย เป็น Case 526 ราย และ Control 3,611 ราย การกระจายตัวของ กลุ่มอายุ และสถานะการได้รับวัคซีนของ case และ control ใกล้เคียงกัน โดยเป็นกลุ่มอายุ 18–59 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 89 และร้อยละ 95 ตามลำดับ) และได้รับวัคซีน 2 เข็ม (ร้อยละ 60 และร้อยละ 56 ตามลำดับ) การศึกษาประสิทธิผลวัคซีนพบการได้รับวัคซีน 2 เข็ม มีประสิทธิผลต่ำ ร้อยละ 22 (2–38) แต่การได้รับวัคซีน 3 และ 4 เข็ม สามารถป้องกันการติดเชื้อได้สูง ร้อยละ 72 (57–82) และร้อยละ 85 (60–95) การได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือเข็มที่ 3 ไม่ว่าจะกระตุ้นด้วยวัคซีนใด ยังป้องกันการติดเชื้อได้สูง ประมาณร้อยละ 64–80
อภิปรายผล: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามาตรการเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในประชาชนของกระทรวงสาธารณสุข จะช่วยลดการติดเชื้อได้ แต่ต้องเร่งรัดการให้บริการในทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ทันต่อสถานการณ์
References
World Health Organization. Classification of omicron (B.1.1.529): SARS-CoV-2 variant of concern [Internet]. 2021 Nov 26 [cited 2022 Mar 22]. Available from: https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classifica tion-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern (in Thai)
Department of Medical Sciences (TH). SARS-CoV-2 Variants in Thailand. [Database on the Internet]. [cited 2022 Apr 5]. Available from: https://drive. google.com/drive/folders/13k14Hs61pgrK8raSMS9LFQn83PKswS-b (in Thai)
Department of Disease Control (TH). Weekly COVID-19 patient status [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2022 [cited 2022 Apr 5]. Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=-main (in Thai)
Department of Disease Control (TH). Guidelines for vaccinating against COVID-19 in Thailand in the year 2021 [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2021 [cited 2022 Aug 5]. 98 p. Available from https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/covid-19-public-Vaccine-040664.pdf (in Thai)
World Health Organization. Evaluation of COVID-19 vaccine effectiveness [Internet]. 2022. [cited 2022 Apr 5]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-vaccine_effectiveness-measurement-2021.1
Department of Disease Control (TH). Communicable Disease Act, B.E. 2558 (2015) [Internet]. 2020 [cited 2022 Apr 5]. Available from: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/086/26.PDF (in Thai)
Vaccine Efficacy and Effectiveness Center Working Group, Department of Disease Control, Scientific Response Team, Medical and Public Health Emergency Operations Center, case of Coronavirus disease 2019. Evaluation of the efficacy of the COVID-19 vaccine from actual use, during epidemic of the Omicron species (Jan-April 2022) [Internet]. [cited 2022 Apr 5]. Available from: https://ddc.moph.go.th/doe/news.php?news=23342&deptcode= (in Thai)
Intawong K, Chariyalertsak S, Chalom K, Wonghirundecha T, Kowatcharakul W, Thongprachum A, et al. Effectiveness of heterologous third and fourth dose COVID-19 vaccine schedules for SARS-CoV-2 infection during delta and omicron predominance in Thailand: A test-negative, case-control study, The Lancet Regional Health - Southeast Asia [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 5]. Available from: https: doi:10.1016/j.lansea.2022.100121
Andrews N, Stowe J, Kirshbaum F, Toffa S, Richard T, Gallagher E, et al. Covid-19 vaccine effectiveness against the Omicron (B.1.1.529) variant. New England Journal of Medicine [Internet]. 2022 [cited 2022 July 8]; 386(16): 1532-46. Available from: https://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa2119451
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ