การพัฒนาแพลตฟอร์มรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล
DOI:
https://doi.org/10.59096/wesr.v54i46.1186คำสำคัญ:
แพลตฟอร์มการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล, D506 Portal, ระบบเฝ้าระวังโรคดิจิทัล, การจัดทำความสะอาดข้อมูลบทคัดย่อ
บทนำ : การพัฒนาแพลตฟอร์มรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัล มีวัตถุประสงค์ในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการข้อมูลเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาที่รวบรวมจากสถานพยาบาลเครือข่ายการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ทั่วประเทศ ผ่าน Application programming interface (API) นำมาตรวจสอบคุณภาพข้อมูล วิเคราะห์ แปลผล ตลอดจนการนำเสนอตามบุคคล สถานที่ และเวลา ทุกขั้นตอนดำเนินงานบน เว็บแอปพลิเคชัน D506 Portal ที่มีความปลอดภัยด้านข้อมูล
วิธีการศึกษา : การพัฒนาแพลตฟอร์มรายงานประกอบด้วยการสํารวจความต้องการใช้งาน ความคาดหวัง จากเจ้าหน้าที่ผู้รายงานโรค และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาด-วิทยา ออกแบบพัฒนาแพลตฟอร์มรายงานที่มีส่วนแสดงผล ทดลองใช้ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ติดตามการใช้งาน และปรับปรุงแก้ไขปัญหา
ผลการศึกษา : แพลตฟอร์มรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในรูปแบบดิจิทัล D506 Portal แสดงผลบนเว็บไซต์กองระบาดวิทยา ที่มีหน่วยรายงาน รวมถึงเครือข่ายระบาดวิทยา ระดับ หน่วยบริการ อำเภอ จังหวัด เขต กระทรวง เข้ามาใช้ประโยชน์ ในการรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ตรวจสอบรายงาน ติดตามสถานการณ์รายงานโรค และใช้ข้อมูลเพื่อป้องกันควบคุมโรค ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มีผู้เข้าใช้งานจำนวน 3,375 users เข้าใช้งานเฉลี่ย 14,000 ครั้งต่อเดือน โดยหลังจากผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ จะสามารถเพิ่ม แก้ไข กรอง และตรวจสอบข้อมูล ติดตามสถานะการอนุมัติรายงานด้วยระบบ auto approve หรือ manual approve การแสดงผล และส่งออกข้อมูล จากการติดตามผู้ใช้งานผ่านการประชุมและ application line (2,053 users) พบกลุ่มผู้ใช้งานที่มีปัญหาการใช้งาน เช่น การเปิดสิทธิ์เพื่อเข้าระบบ การรายงาน ความไม่สอดคล้องของรหัสวินิจฉัยและรหัสการรายงานโรค 506 รายงานซ้ำซ้อน และการอนุมัติรายงาน จึงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เป็นการลดภาระการรวบรวม รับส่ง และติดตามรายงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ การพัฒนาแพลตฟอร์มรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาครั้งนี้ จะสามารถนำไปขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศ และเป็นข้อมูลทางระบาดวิทยาที่สนับสนุนการตัดสินใจแก่ผู้บริหารในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขต่อไป
อภิปรายผลการศึกษา : การพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าว มีการวางแผนพัฒนา วิเคราะห์ และตรวจสอบคุณภาพ ของข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีถูกต้อง ทันเวลา ทำให้สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อโรคระบาดได้ทันต่อสถานการณ์มากยิ่งขึ้น และลดความรุนแรงของการระบาดรวมถึงผลกระทบลง โดยหน่วยงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย และใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันเพื่อการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแพลตฟอร์ม D506 Portal เป็นส่วนหนี่งของระบบ ที่แสดงผลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงโรคและตัวแปรที่ต้องรายงานได้ตามสถานการณ์ อีกทั้งต้องอาศัยการพัฒนาระบบข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน จึงควรมีการประสานงาน พัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ครบถ้วน ถูกต้อง สามารถใช้ในการติดตามสถานการณ์โรคและตรวจจับการระบาดได้อย่างแม่นยำและทันเวลา
References
Sophonsiri S. One of a hundred pioneers of Thai epidemiology Dr. Suchart Chetansen. Bangkok: Aksorn graphic and design publishing limited partnership; 2018. p. 122-5. (in Thai)
Thiparat K, Santikan C, Lhorpiyanon T, Silarak N, Chumkasian P, Thammaphonpilas P, et al. Guideline for epidemiological operations. Nonthaburi: Division of Epidemiology Department of Disease Control; 1999. p. 53. (in Thai)
Likhityingwara L, Sayumpurujinan S. Program 506 Version 3.10. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2010. p. 3. (in Thai)
Communicable Diseases Act, B.E. 2558 (2015). Government Gazette Vol. 132, Part 86 Gor, dated 8 September B.E. 2558 (2015). (in Thai)
Ministry of Public Health, Thailand. Notification of the Ministry of Public Health B.E. 2560 (2017) Regarding the criteria and methods for notification in the case of a dangerous communicable disease Communicable diseases that need to be monitored or an epidemic occurred in 2017. Government Gazette Vol. 134, Special Part 316 Ngor, dated 21 December B.E. 2560 (2017). (in Thai)
Maria. Application program interface definition [Internet]. 2020 [cited 10 November 2023]. Available from: https://devjourneys.com/2020/04/10/api (in Thai)
Data Innovation and Governance Institute. 5V characteristics of Big Data [Internet]. 2022 [cited 2023 Nov 10]. Available from: https://digi.data.go.th/blog/big-data-5v/ (in Thai)
Electronic Transactions Development Agency. Web Portal meaning [Internet]. 2020 [cited 2023 Nov 10]. Available from: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/terminology/หมวดหม-W/506.aspx (in Thai)
Firstcraft. Data cleansing meaning [Internet]. 2020 [cited 2023 Nov 10]. Available from: https://1stcraft.com/what-is-data-cleansing/ (in Thai)
Dilmegani C. Guide to data cleaning in 2023 [Internet]. 2023 [cited 2023 Nov 10]. Available from: https://research.aimultiple.com/data-cleaning/#5-steps-to-cleaner-data
Lamsiriwong O. System analysis and design (additional revised edition). Bangkok: SE-Education public company limited; 2017. (in Thai)
Areechokechai D, Wongsanuphan S, Yotwattana P, Sopa P, Panchangamphatthana A, Buangsuang W. Reporting guidelines for communicable diseases that require epidemiological surveillance. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2023. p. 5–27. (in Thai)
Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019). Government Gazette Vol. 136, Part 69 Gor, dated 21 May B.E. 2562 (2019). (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ