การสอบสวนการระบาด และการประเมินประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม–28 มิถุนายน 2564

ผู้แต่ง

  • รัฐพงษ์ บุรีวงษ์ กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค
  • เสาวลักษณ์ กมล กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

การสอบสวนโรค, ประสิทธิผลวัคซีน, โรคโควิด 19, บุคลากรทางการแพทย์, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทนำ: จากกรณีที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) และพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของบุคลากรของโรงพยาบาลหลักในระบบบริการด้านการแพทย์ กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการสอบสวนเพื่อค้นหาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาด พร้อมทั้งค้นหาปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการระบาดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยบริการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการป้องกัน ในอนาคต
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ทบทวนเวชระเบียนและสัมภาษณ์ผู้ป่วยยืนยัน ทบทวนข้อมูลสถานการณ์โรคโควิด 19 ในจังหวัดและโรงพยาบาล รวมถึงการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันสายพันธุ์ ทำการศึกษา retrospective cohort study เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค รวมทั้งการศึกษาสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษา: พบบุคลากรในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยยืนยืนโรค โควิด 19 จำนวน 28 ราย (ร้อยละ 1.65) ไม่แสดงอาการ 22 ราย (ร้อยละ 78.57) การวิเคราะห์หลายตัวแปรพบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การทำงานหลายแผนกสัมพันธ์ต่อการติดโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted odds ratio 44.77, 95% CI 12.83–156.26) และการได้รับวัคซีนป้องกันโรค 2 เข็มมาแล้วไม่ต่ำกว่า 4 สัปดาห์ เป็นปัจจัยป้องกันการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjusted odds ratio 0.15, 95% CI 0.05–0.48) คิดเป็นประสิทธิผลของวัคซีนร้อยละ 85 (95% CI 52–95) อีกทั้งสังเกตพบลักษณะพฤติกรรมในสถานที่ทำงานเป็นการรวมตัวกันช่วงเวลาพักเที่ยง เพื่อรับประทานอาหารร่วมกันโดยถอดหน้ากากอนามัยระหว่างรับประทานอาหารและไม่เว้นระยะห่างของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
สรุปและข้อเสนอแนะ: พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของโรคโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล โดยพบปัจจัยที่มีผลให้
เกิดการระบาดด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพบปัจจัยที่ป้องกันการระบาด ได้แก่ การกระตุ้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในบุคลากรทางการแพทย์อย่างครอบคลุม ซึ่งอาจนำมาเป็นประโยชน์ในการป้องกันการระบาดของโรคในบุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยบริการได้ในอนาคต

References

World Health Organization. Archived: WHO Timeline - COVID-19 [Internet]. 2020 [cited 2023 Jan 11]. Available from: https://www.who.int/news/item/27-04-2020-who-timeline---covid-19

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2021 [cited 2023 Jan 11]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1

Wilasang C, Sararat C, Jitsuk NC, Yolai N, Thammawijaya P, Auewarakul P, Modchang C. Reduction in effective reproduction number of COVID-19 is higher in countries employing active case detection with prompt isolation. J Travel Med. 2021; 27(5): taaa095. doi: 10.1093/jtm/taaa095.

Department of Disease Control Thailand. DDC COVID-19 Interactive Dashboard | 9-analysis-by-province [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 11]. Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=analysis-province (in Thai)

Department of Disease Control Thailand. COVID-19 vaccination guideline in outbreak situation 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 July 21]. Available from: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/covid-19-public-Vaccine-040664.pdf

Department of Disease Control Thailand. Guideline for COVID-19 surveillance and disease control. 2021 [cited 2021 Nov 13]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_010664.pdf (in Thai)

Department of Disease Control Thailand. COVID-19 Investigation form for health care provider, revise edition 2021 May 16 [Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 13]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_form/novelcorona2h_160564.pdf (in Thai)

World Health Organization. Evaluation of COVID-19 vaccine effectiveness: interim guidance, 17 March 2021 [Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 13]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/340301

World Health Organization Thailand. What is COVID 19? [Internet]. 2021 [cited 2022 Nov 13]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf

Ball HL. Conducting Online Surveys. J Hum Lact. 2019; 35(3): 413-7. doi:10.1177/0890334419848734

Wee LE, Sim XYJ, Conceicao EP, Aung MK, Goh JQ, Yeo DWT, et al. Containment of COVID-19 cases among healthcare workers: The role of surveillance, early detection, and outbreak management. Infect Control Hosp Epidemiol. 2020; 41(7): 765–71.

Chou R, Dana T, Buckley DI, Selph S, Fu R, Totten AM. Epidemiology of and Risk Factors for Coronavirus Infection in Health Care Workers. Ann Intern Med. 2020 [cited 2023 Jan 11]; M20–1632. Available from:

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7240841/

PPTV. COVID 19 strain survey in Thailand 2021 October 12 [Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 13]. Available from: https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/158272 (in Thai)

World Health Organization. Evidence assessment: Sinovac/CoronaVac COVID-19 vaccine for recommendation by the Strategic Advisory group of Experts (SAGE) on immunization [Internet]. [cited 2021 Nov 13]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/immunization/sage/2021/april/5_sage29apr2021_critical-evidence_sinovac.pdf?sfvrsn= 2488098d_5

Chookajorn T, Kochakarn T, Wilasang C, Kotanan N, Modchang C. Southeast Asia is an emerging hotspot for COVID-19. Nat Med. 2021; 27(9): 1495–6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-08