การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากเชื้อไวรัสโนโร ในโรงเรียน 5 แห่ง เขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต มิถุนายน 2566

ผู้แต่ง

  • กัญญณัช กุลจิรากูล กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • หนึ่งฤทัย ศรีสง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ชรัฐพร จิตรพีระ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ฐิติพงษ์ ยิ่งยง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กวินนา เกิดสลุง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนวดี จันทร์เทียน กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v55i7.1269

คำสำคัญ:

การระบาด, โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน, ไวรัสโนโร, โรงเรียน, จังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วันที่ 11 มิถุนายน 2566 ทีมสอบสวนโรคได้รับแจ้งจากกองระบาดวิทยาว่า พบผู้ป่วยอุจจาระร่วงเฉียบพลันจำนวนสูงกว่าปกติมากในโรงเรียนของจังหวัดภูเก็ต โดยพบจำนวนผู้ป่วยสูงที่ต่อเนื่องจากปลายปี พ.ศ. 2565 ทีมสอบสวนโรคจึงดำเนินการสอบสวนโรคในกลุ่มโรงเรียนเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 12–18 มิถุนายน 2566 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค พรรณนาการกระจายของการระบาด ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและแหล่งโรค และให้ข้อเสนอแนะในการป้องกันควบคุมโรค

วิธีการศึกษา : ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในโรงเรียน 5 แห่ง เขตเทศบาลนครภูเก็ต โดยใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีวันเริ่มป่วย 1–18 มิถุนายน 2566 เก็บตัวอย่างอุจจาระทางทวารหนักในผู้ป่วยที่ยังมีอาการ เก็บตัวอย่างน้ำดื่มและใช้ที่สงสัยส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบ retrospective cohort study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง และศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมในโรงเรียน ก. ที่พบผู้ป่วยจำนวนสูงสุด

ผลการศึกษา : พบผู้ป่วยรวม 214 คน ในโรงเรียน 5 แห่งนี้ คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 2.58 โดยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อไวรัสโนโร (norovirus GII) ใน rectal swab ของผู้ป่วย 4 คน จากจำนวนที่ส่งตรวจ 6 คน ไม่พบมีผู้เสียชีวิต มีอาการปวดท้องร้อยละ 96.73 ถ่ายเหลวร้อยละ 85.51 อาเจียนร้อยละ 82.24 และมีไข้ร้อยละ 52.34 โดยพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงวันที่ 7–8 มิถุนายน 2566 จากการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ในโรงเรียน ก. พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) กับการเกิดโรคในการระบาดครั้งนี้ ได้แก่ การมีสมาชิกในบ้านป่วย (adjusted risk ratio [adj RR]= 2.04) การดื่มเครื่องดื่มใส่น้ำแข็งหน้าโรงเรียน (adj RR=1.89) การดื่มเครื่องดื่มใส่น้ำแข็งจากร้านคาเฟ่ในโรงเรียน (adj RR =1.47) การกินอาหารเช้าที่ซื้อจากตลาด/ร้านภายนอก (adj RR =1.35) และการใช้ภาชนะ/ช้อนส้อม/แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น (adj RR=1.29) ผลตรวจสิ่งแวดล้อมทางห้องปฏิบัติการ พบ probable contamination with norovirus GII จากน้ำประปาบริเวณสายยางรดน้ำต้นไม้หน้าห้องพยาบาลโรงเรียน ก. และจากการทดสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ บริเวณจุดกดตู้น้ำดื่มโรงเรียน ก. พบการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

สรุปผลและข้อเสนอแนะ : การระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในโรงเรียน 5 แห่งนี้ น่าจะเกิดจากเชื้อไวรัสโนโร จากลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยและการตรวจพบเชื้อในอุจจาระ แต่ไม่สามารถระบุแหล่งโรคได้ชัดเจน เป็นไปได้ว่าเชื้ออาจถูกถ่ายทอดมาจากชุมชนมาในระยะหนึ่ง แล้วแพร่กระจายจากคนสู่คน รวมทั้งการติดเชื้อจากการดื่มเครื่องดื่มใส่น้ำแข็งที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อก่อนการบริโภค การระบาดของโรคลดลงภายใน 2 สัปดาห์ ภายหลังมาตรการป้องกันควบคุมโรค

References

European Centre for Disease Prevention and Control. Facts about norovirus [Internet]. 2017 [cited 2023 Jun 25]. Available from: https://www.ecdc.europa.eu/en/norovirus-infection/facts

Boonpradit P, Ketmanee A. Food poisoning investigation caused by norovirus in an elementary school, Meuang district, Ratchaburi, Thailand, 17–27 June 2014. Weekly Epidemiological Surveillance Report 2015; 46: 52–9. (in Thai)

Darasawang W, Chanumklang P, Chanumklang I, Vimoltam P, Pradsripoom R, Krobtrakulchai T, et al. Norovirus outbreak in five schools of Nakorn Ratchasima province, Thailand, 2016. Weekly Epidemiological Surveillance Report 2019; 50: 225–33. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention (US). Symptoms of norovirus [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 25]. Available from: https://www.cdc.gov/norovirus/about/symptoms.html

Lopman B, Gastanaduy P, Park GW, Hall AJ, Parashar UD, Vinje J. Environmental transmission of norovirus gastroenteritis. Curr Opin Virol. 2012; 2(1): 96–102.

Phattanawiboon B, Nonthabenjawan N, Boonyos P, Jetsukontorn C, Towayunanta W, Chuntrakool K, et al. Norovirus transmission mediated by asymptomatic family members in households. PLoS One [Internet].2020 [cited 2023 Sep 15]; 15(7) : e0236502. Available from: https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0236502

Wang Y, Gao Z, Lu Q, Liu B, Jia L, Shen L, et al. Transmissibility quantification of norovirus outbreaks in 2016− 2021 in Beijing, China. J Med Virol [Internet]. 2023 [cited 2023 Nov 20]; 95(10): e29153. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/jmv.29153

Villabruna N, Koopmans M. P. G., de Graaf M. Animals as Reservoir for Human Norovirus. Viruses. [Internet]. 2019 [cited 2024 Apr 19]; 11(5): 478. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6563253/

Ministry of Tourism & Sports (TH). Tourism statistics [Internet]. 2023 [cited 2023 Oct 25]. Available from: https://www.mots.go.th/news/category/411 (in Thai)

Peerakome S. Viral diarrhea virus. Journal of Associated Medical Sciences. 2007; 40(3): 200–13. (in Thai)

Tang Q, Gao X, Song Y, Zhang Y, Ran L, Chang Z, et al. Epidemiological characteristics of norovirus acute gastroenteritis outbreaks and influencing factors in China, 2007–2021. Zhonghua Liu Xing Bing Xue Za Zhi. 2023; 44(5): 751–8. (in Chinese)

Vielot NA, Zepeda O, Reyes Y, González F, Vinjé J, Becker-Dreps S, et al. Household surveillance for norovirus gastroenteritis in a Nicaraguan birth cohort: a nested case control analysis of norovirus risk factors. Pathogens. 2023; 12(3): 505.

Cheng HY, Hung MN, Chen WC, Lo YC, Su YS, Wei HY, et al. Ice-associated norovirus outbreak predominantly caused by GII.17 in Taiwan, 2015. BMC Public Health. 2017; 17(1): 870.

Jalava K, Kauppinen A, Al–Hello H, Räsänen S. An outbreak of norovirus infection caused by ice cubes and a leaking air ventilation valve. Epidemiol Infect. 2018; 147: e57.

Rizzo C, Di Bartolo I, Santantonio M, Coscia MF, Monno R, De Vito D, et al. Epidemiological and virological investigation of a norovirus outbreak in a resort in Puglia, Italy. BMC Infect Dis. 2007; 7: 135.

Ministry of industry (TH), National Food Institute. Pathogenic microorganism: Bacillus cereus [Internet]. [cited 2023 June 25]. Available from: https://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/bacillus_cereus_2.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-20

How to Cite

กุลจิรากูล ก., ศรีสง ห., จิตรพีระ ช., ยิ่งยง ฐ., เกิดสลุง ก., & จันทร์เทียน ธ. (2024). การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากเชื้อไวรัสโนโร ในโรงเรียน 5 แห่ง เขตเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต มิถุนายน 2566. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 55(7), 1–14. https://doi.org/10.59096/wesr.v55i7.1269

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ