การศึกษาระบบเฝ้าระวังของโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิสในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2563–2564

ผู้แต่ง

  • ชนินท์ ประคองยศ โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
  • ณัฐธกูล ไชยสงคราม โรงพยาบาลแม่ทะ จังหวัดลำปาง
  • อังคณา วางท่า โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v54i42.1298

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส, ระบบเฝ้าระวัง, โรงพยาบาล, จังหวัดลำปาง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิสเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายสามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้ เนื่องจากประเทศไทยยังมีลักษณะการบริโภคสุกรที่ไม่ได้ปรุงสุก รวมถึงติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล จากรายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 จังหวัดลำปางพบอัตราป่วยสูงขึ้น มีความผิดปกติในเรื่องการรายงานผู้ป่วยเข้าข่ายและสงสัยป่วย จึงเลือกโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง เป็นพื้นที่ศึกษาเพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังของโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส รวมถึงรับทราบปัญหา อุปสรรคในการรายงานโรคจากหน่วยรายงาน และทราบขนาดความรุนแรงของปัญหาที่แท้จริงของโรค
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตามการวินิจฉัยโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิสและโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียงตามรหัส ICD-10-TM ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563–31 ธันวาคม 2564 และศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพ โดย สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบเฝ้าระวัง ศึกษาขั้นตอนการรายงานโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส
ผลการศึกษา : จากการศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ โดยทบทวนเวชระเบียน 994 เวชระเบียน พบผู้ป่วยเข้าได้กับนิยามโรคติดเชื้อ สเตร็ปโตคอคคัสซูอิส 15 ราย และพบการรายงาน 506 จำนวน 4 ราย ค่าความไวแบบถ่วงน้ำหนักของระบบเฝ้าระวัง ร้อยละ 31.88 จากรายงาน 506 ค่าพยากรณ์บวกของระบบเฝ้าระวัง ร้อยละ 88.24 ความเป็นตัวแทนพบว่าไม่สามารถเป็นตัวแทนของระบบเฝ้าระวังได้ ด้านคุณภาพของข้อมูล ความครบถ้วน ร้อยละ 100 ความถูกต้อง ร้อยละ 75–100 การรายงานมีความทันเวลาภายใน 24 ชั่วโมงตามเกณฑ์จังหวัด ร้อยละ 58.82 การศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและประโยชน์ของระบบ เฝ้าระวัง มีการรายงานที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการรายงาน รายงานผ่านโทรศัพท์ได้ทันที ทุกคนสามารถรายงานได้ เอกสารข้อมูลและแบบรายงานอยู่ในระบบของโรงพยาบาลเข้าถึงได้สะดวก แต่โปรแกรมข้อมูลของโรงพยาบาลยังไม่สามารถเชื่อมกับรายงาน 506 ได้ ทำให้เจ้าหน้าที่งานป้องกัน ควบคุมโรค และระบาดวิทยา กลุ่มงานเวช-กรรมสังคม ต้องมีการลงข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในรายงาน 506 ทำให้เพิ่มระยะเวลาและขั้นตอนในการรายงาน
อภิปรายผลการศึกษา : การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ สเตร็ปโตคอคคัสซูอิสในโรงพยาบาล ก. ปี พ.ศ. 2563–2564 ในเชิงปริมาณมีค่าความไวที่น้อยอยู่ ควรมีการทบทวนแนวทางการซักประวัติและประวัติเสี่ยง รวมถึงเพิ่มขั้นตอนการรายงานจากทางห้องปฏิบัติการ ค่าพยากรณ์บวกมีค่าที่สูง แต่ความเป็นตัวแทนยังไม่สามารถเป็นตัวแทนได้ ความถูกต้องและความครบถ้วนมีค่าที่สูง จากการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ ง่ายต่อการรายงาน ไม่ซับซ้อน ระบบเฝ้าระวังมีความยืนหยุ่น มีความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม แม้มีโปรแกรมช่วยในการรายงานข้อมูล แต่สามารถพัฒนาโปรแกรมให้เชื่อมโยงกับข้อมูลรายงาน 506 เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนการรายงานลงได้

References

Division of General Communicable Diseases, Department of Disease Control, Thailand. Guidelines for prevention and control of Streptococcus suis. Nonthaburi: Division of General Communicable Diseases, Department of Disease Control; 2022. (in Thai)

Wongkhamma A, Chumret P, Yurachai O. Streptococcus suis. In: Walairat Chaiyafu, editor. Summary of disease surveillance report for the year 2018. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Disease Control; 2018. p. 126–9. (in Thai)

Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Thailand. Knowledge of emerging infectious diseases. Nonthaburi: Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control; 2011. p. 66–75. (in Thai)

Rayanakorn A, Goh BH, Lee LH, Khan TM, Saokaew S. Risk factors for Streptococcus suis infection: A systematic review and meta-analysis. Scientific reports. 2018 Sep 6;8(1):1–9.

Goyette-Desjardins G, Calzas C, Shiao TC, Neubauer A, Kempker J, Roy R, Gottschalk M, Segura M. Protection against Streptococcus suis serotype 2 infection using a capsular polysaccharide glycoconjugate vaccine. Infection and immunity. 2016;84(7):2059–75.

Hughes JM, Wilson ME, Wertheim HF, Nghia HD, Taylor W, Schultsz C. Streptococcus suis: an emerging human pathogen. Clinical infectious diseases. 2009;48(5):617–25.

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Thailand. Analysis of the surveillance system for five disease groups in five dimensions. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Control; 2015. (in Thai)

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Thailand. Report disease in the disease surveillance system 506 Streptococcus suis [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 10]. Available from: http://doe.moph.go.th/surdata/506wk/y64/d82_5264.pdf (in Thai)

Division of Epidemiology, Department of Disease Control, Thailand. Case definition for Communicable Diseases Surveillance, Thailand, 2020. Nonthaburi: Division of Epidemiology, Department of Control; 2020. (in Thai)

Thintip K. Streptococcus suis surveillance evaluation in Nan hospital, Nan province, 2015. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2018; 49: 257–65. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

How to Cite

ประคองยศ ช., ไชยสงคราม ณ., & วางท่า อ. (2023). การศึกษาระบบเฝ้าระวังของโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิสในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2563–2564. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 54(42), 647–656. https://doi.org/10.59096/wesr.v54i42.1298