การประเมินสมรรถนะหลักด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค ตามตัวชี้วัดกฎอนามัย ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ระดับอําเภอในจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • พวงทิพย์ รัตนะรัต สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ธีรศักดิ์ ชักนํา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ประเมิน, เฝ้าระวัง, สอบสวนและควบคุมโรค, จังหวัดชายแดน, กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548

บทคัดย่อ

บทนํา: สํานักระบาดวิทยาได้มีการพัฒนาทีม SRRT ชายแดน เนื่องจากพื้นที่ชายแดนเป็นจุดยุทธศาสตร์สําคัญจุดหนึ่งในงาน กฎอนามัยระหว่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2557 ได้ดําเนินการ ประเมินสมรรถนะฯของ SRRT ชายแดนของประเทศไทย เพื่อ นํามาใช้เป็นข้อมูลสําหรับการพัฒนา โดยผลการศึกษานี้เน้นเฉพาะ ตัวชี้วัดระดับพื้นฐานซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ําของการประเมิน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การจัดทําเครื่องมือประเมิน SRRT ชายแดนของประเทศไทย โดยการประยุกต์จากแบบประเมิน ของกฎอนามัยฯ ด้านการเฝ้าระวังและตอบสนอง ร่วมกับแบบ ประเมิน SRRT ที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2555 2) ดําเนินการ ประเมินทีม SRRT ในพื้นที่อําเภอชายแดนของ 9 จังหวัด คือ จันทบุรี ตราด สระแก้ว กาญจนบุรี มุกดาหาร ตาก น่าน ระนอง และยะลา สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับอําเภอ และทบทวน เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา: ตัวชี้วัด SRRT ชายแดนระดับอําเภอประกอบด้วย 21 ตัวชี้วัดหลักและ 84 ตัวชี้วัดย่อย (จากเดิมตัวชี้วัด SRRT มี 13 ตัวชี้วัดหลักและ 57 ตัวชี้วัดย่อย) ซึ่งตัวชี้วัดย่อยทั้งหมดแบ่งเป็น ระดับพื้นฐาน 33 ตัวชี้วัด ระดับดี 40 ตัวชี้วัด และระดับดีเยี่ยม 11 ตัวชี้วัด โดยเป็นด้านระบบเฝ้าระวัง 24 ตัวชี้วัด การรายงานข้อมูล 4 ตัวชี้วัด การควบคุมโรค 50 ตัวชี้วัด และผลการดําเนินงานที่มี คุณภาพ 6 ตัวชี้วัด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด SRRT ปกติ จะ พบว่าตัวชี้วัด SRRT ชายแดนนี้เป็นการเพิ่มในด้านการเฝ้าระวังเป็น หลัก ผลการประเมินสมรรถนะหลักระดับพื้นฐานของอําเภอชายแดน 30 แห่ง ใน 9 จังหวัด พบว่ามี 12 อําเภอ (ร้อยละ 40.00) ผ่านการ ประเมินตัวชี้วัดย่อยระดับพื้นฐานทั้ง 33 ตัวชี้วัด โดยด้านการเฝ้า ระวัง ผ่านร้อยละ 83.33 ด้านการรายงานข้อมูลผ่านร้อยละ 83.33 ด้านการควบคุมโรคผ่านร้อยละ 60.00 และด้านผลการดําเนินงานที่มีคุณภาพผ่านร้อยละ 73.33
สรุปและวิจารณ์: ในภาพรวมอําเภอชายแดนที่ผ่านการประเมิน ระดับพื้นฐานมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอําเภอที่ถูกประเมินทั้งหมด โดยด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ ด้านการควบคุมโรคซึ่งตัวที่ไม่ผ่าน เป็นตัวชี้วัดเดิมทั้งหมด โดยที่ปัญหาเกิดจากปัจจัยที่หลากหลาย ทั้ง จากความไม่เข้าใจในตัวชี้วัดบางตัว จากปัญหาเชิงระบบของงาน ระบาดวิทยา รวมถึงจากการที่ตัวชี้วัด SRRT ปกติสามารถใช้ผล การประเมินรับรองได้นานสามปี จึงค่อยถูกประเมินครั้งใหม่ เมื่อมี การดําเนินการประเมินในระหว่างปีที่ยังไม่ครบรอบการประเมินครั้ง ใหม่ก็พบว่าบางกิจกรรมมีการย่อหย่อนลงจากเดิม

References

ปรีชา เปรมปรี, สุวรรณา เทพสุนทร, ชวลิต ตันตินิมิตกุล, วันชัย อาจ เขียน, อมรรัตน์ หล่อธีรนุวัฒน์, อภิชาต เมฆมาสิน, และคณะ, บรรณาธิการ. แผนพัฒนางานด้านกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005) ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมป์; 2551.

พจมาน ศิริอารยาภรณ์, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, ธีรศักดิ์ ชักนํา, ชวลิต ตันตินิมิตกุล, ศิริลักษณ์ รังษีวงศ์, พวงทิพย์ รัตนะรัต, และคณะ, บรรณาธิการ. กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005). พิมพ์ ครั้งที่ 3. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

WHO. Information to States Parties regarding determination of fulfillment of IHR Core Capacity requirements for 2012 and potential extensions. Geneva. WHO; 2012.

นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, วันชัย อาจเขียน, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, อํานวย ทิพศรีราช, สุภาวิณี แสงเรือน, บรรณาธิการ. มาตรฐานและ แนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับ ปรับปรุงใหม่ 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

WHO. IHR core capacity monitoring framework: Questionnaire for Monitoring progress in the implementation of IHR core capacities in states parties. Geneva. WHO; 2012.

ลดารัตน์ ผาตินาวิน, รุ่งนภา ประสานทอง, วรรณา หาญเชาว์วรกุล. มาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ. กรุงเทพหานคร: องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2548.

สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลการ ประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอําเภอปี 2557. แบบรายงานการตรวจราชการระดับเขตบริการสุขภาพ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและจัดระบบ บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึง บริการได้ ไตรมาส 4. นนทบุรี: สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2558. (เอกสารอัดสําเนา)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

How to Cite

รัตนะรัต พ., ศิริอารยาภรณ์ พ., & ชักนํา ธ. (2024). การประเมินสมรรถนะหลักด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค ตามตัวชี้วัดกฎอนามัย ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ระดับอําเภอในจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ประจําปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 49(1), 1–9. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1375