โรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานพืชและสัตว์พิษ จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2540-2558

ผู้แต่ง

  • บังอร เหล่าเสถียรกิจ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

อาหารเป็นพิษ, พืชและสัตว์พิษ, ศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

บทนำ: จังหวัดศรีสะเกษพบโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานพืชหรือสัตว์พิษ เนื่องจากเป็นอาหารในท้องถิ่นที่รับประทานกันมานาน มักพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน โดยมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึง เสียชีวิต ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวบข้อมูลจากการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อศึกษาลักษณะการเกิด การกระจายทางระบาดวิทยา และแนวทางในการป้องกันการเกิดโรค อาหารเป็นพิษจากการรับประทานพืชและสัตว์พิษ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูลจากรายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ ที่มีสาเหตุจากการรับประทานพืชหรือสัตว์พิษในจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2540–2558
ผลการศึกษา: จากรายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากพืช หรือสัตว์พิษในจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2540–2558 พบ รวม 68 เหตุการณ์ โดยพบผู้ป่วย 532 ราย และเสียชีวิต 23 ราย คิด เป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 4.32 ซึ่งผู้ป่วยที่พบมากที่สุดมีสาเหตุจาก การรับประทานเห็ดพิษ 233 ราย รองลงมา คือ เมล็ดสบู่ดำ 163 ราย กลอย 61 ราย ปลาปักเป้าน้ำจืด 42 ราย และเมล็ดมันแกว 11 ราย ส่วนกลุ่มที่เสียชีวิต 23 ราย มีสาเหตุมากที่สุดจากการรับประทาน เห็ดพิษ 13 ราย รองลงมา คือ ปลาปักเป้า 4 ราย มันสำปะหลังและเมล็ดมันแกวอย่างละ 2 ราย สำหรับพืชและสัตว์พิษที่มักเกิดใน กลุ่มเด็ก ได้แก่ สบู่ดำ เมล็ดโพธิ์ศรี และมะกล่ำตาหนู สาเหตุของ การเกิดโรคพบว่าร้อยละ 74 ของเหตุการณ์เป็นการนําพืชและสัตว์ มาปรุงอาหารเองโดยขาดความรู้ที่ถูกต้อง เช่น เห็ดพิษซึ่งส่วนใหญ่ จะหาเองตามธรรมชาติ นํามาแกง/ต้มโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ มันสำปะหลังที่รับประทานแบบไม่สุก ซึ่งมีสารไซยาไนด์ค่อนข้างสูง ส่วนร้อยละ 25 ของเหตุการณ์เป็นการนําเมล็ดแก่ของพืชบางชนิดที่มี พิษมารับประทานด้วยความอยากลอง เช่น เมล็ดสบู่ดำ เมล็ดมะกล่ำตาหนู เมล็ดโพธิ์ศรี เมล็ดมันแกวแก่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กชาย
สรุปและวิจารณ์ผล: โรคอาหารเป็นพิษจากพืชหรือสัตว์พิษ จังหวัด ศรีสะเกษ พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนได้ทุกปี ส่วนใหญ่เกิดจากการ รู้ เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งบางชนิดมีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา หน่วยงานการแพทย์และสาธารณสุข และภาคประชาชน ควรบูรณา การงานแบบมีส่วนร่วมในการดูแลประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ให้ความรู้ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ถึงโทษและพิษของการรับประทานพืชและ สัตว์พิษ ให้ความรู้เจ้าหน้าที่ทุกระดับถึงวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นใน การแก้พิษ และประสานเครือข่ายในการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยอย่าง รวดเร็ว เพราะสารพิษบางชนิดมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

References

นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, กรรณิการ์ หมอนพังเทียม, จินต์ศุจี กอบกุลธร. โรคอาหารเป็นพิษ. ใน: สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2557. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558. หน้า 129.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรค อาหารเป็นพิษ. ใน: สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2548- 2558. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.15.110/boeeng/annual.php

หนังสือพิมพ์ข่าวสด. บอกข่าวเล่าความ หนูน้อยวัย 3 ขวบกิน มันสำปะหลังดิบดับ. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=36

วิมล ศรีสุข. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เทโทรโดท็อก ซิน (Tetrodotoxin) พิษร้ายจากปลาปักเป้า. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/42/เทโทรโดท็อกซิน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือนอันตรายจากพิษเมล็ดมันแกว (อินเตอร์เนต). [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.dmsc.moph.go.th/secretary/pr/mass-news/mass-news_2558/06_June/พิษเมล็ดมันแกว.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

How to Cite

เหล่าเสถียรกิจ บ. (2024). โรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานพืชและสัตว์พิษ จังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2540-2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 49(6), 81–88. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1380