การระบาดของโรคอุปาทานหมู่ระหว่างการอบรมจริยธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มิถุนายน 2560

ผู้แต่ง

  • จรรยา อุปมัย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ปณิธี ธัมมวิจยะ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อมรา ทองหงษ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วันชัย อาจเขียน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
  • กมลชนก เทพสิทธา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ศันสนีย์ วงค์ม่วย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เตือนใจ คํามูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ชนันรัตน์ ดวงบุปผา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • สํารวย ศรศรี สำนักงานป้องกันควสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • อุบลรัตน์ บุญทา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
  • จิณณพิภัทร ชูปัญญา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคอุปาทานหมู่, โรงเรียนมัธยมศึกษา, การอบรม จริยธรรม, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

บทนํา: พบการระบาดของโรคอุปาทานหมู่ระหว่างการอบรมจริยธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 จึงได้สอบสวนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ตามบุคคล สถานที่ และเวลา ศึกษาปัจจัยและสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคครั้งนี้ และหาแนวทางป้องกันควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลและ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในโรงเรียนทำการศึกษา Unmatched Case control study โดยการสัมภาษณ์รายบุคคลในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่ม เปรียบเทียบ สํารวจสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และการประเมินสุขภาพจิตโดยทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 30 ราย (ร้อยละ 8.0) จากจำนวน นักเรียน 375 รายที่เข้าค่ายอบรมจริยธรรมช่วงวันที่ 9-11 มิถุนายน 2560 ไม่มีผู้เสียชีวิต อาการที่พบมากที่สุด คือ มือจีบเกร็ง ร้อยละ 70.0 รองลงมา คือ Dyspnea ร้อยละ 53.3 และอาการชาแขน/ขา/ร่างกาย ร้อยละ 46.7 ผู้ป่วยรายแรกเริ่มมีอาการเมื่อเวลา 19.10 น. ของวันที่ 10 มิถุนายน 2560 หลังจากนั้นประมาณ 5 นาที พบผู้ป่วยรายที่สอง และ 30 นาทีต่อมาก็พบรายอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก 28 ราย อัตราป่วยในนักเรียนหญิง (ร้อยละ 13.9) พบสูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนชายซึ่งมีอัตราป่วยร้อยละ 1.1 ส่วนเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราป่วยร้อยละ 10.4 ซึ่งสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 6.8) เล็กน้อย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ Multiple logistic regression พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการเกิดโรค ได้แก่ การเป็นเพศหญิง การมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคประจําตัว และความรู้สึกที่ไม่ชอบ/เฉย ๆ ต่อวิทยากรที่สอน นักเรียนในโรงเรียน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีปัญหาครอบครัว วัฒนธรรม/ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมทั้งสถานที่และบุคคลรอบข้างที่มีความเชื่อ เชื่อมโยงกับพิธีกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์
สรุปและวิจารณ์: มีการระบาดของโรคอุปาทานหมู่ในกลุ่มนักเรียนที่ เข้ารับการอบรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบผู้ป่วยรวม 30 ราย ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อการเกิดโรค คือ การเป็นเพศหญิง ครอบครัวมีคนป่วยด้วย โรคประจําตัว และความรู้สึกที่ไม่ชอบ/เฉย ๆ ต่อวิทยากรที่สอน โดยทั้งสามปัจจัยควรนํามาพิจารณาปรับใช้สำหรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค ทั้งก่อนการะบาดช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาด

References

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน. อุปาทานหมู่: อภิปรายร่วมในเวทีนักวิทย์คุย ข่าวศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย; วันที่ 26 มีนาคม 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ; 2551.

วัชนี หัตถพนม. เอกสารประกอบการสัมมนาการพัฒนาเทคโนโลยี การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตจากผีปอบและความเชื่ออื่นๆ. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2550.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. โปรแกรมตรวจสอบข่าวการ ระบาด ปี พ.ศ. 2555-2560. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boeeoc.moph.go.th/eventbase/report/compound/

พวงทอง ไกรพิบูลย์. หอบเหนื่อย หายใจลําบาก (Dyspnea). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/หอบเหนื่อย/

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ ประสบภาวะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับ ลิสซิ่ง; 2555.

เอื้อมพร หลินเจริญ. เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2554; 17: 17-29.

พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์. ศึกษาพุทธจริยธรรมที่ปรากฏใน วรรณกรรมอีสานเรื่องธรรมสร้อยสายคํา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี; 2555.

อินทิรา พัวสุกล, มานพ ศิริมหาราช, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, สมบัติ แทนประเสริฐสุข, โอษฐ วารีรักษ์, นเรศ สุริยกาญจน์, และ คณะ. รายงานการสอบสวนโรคอุปาทานกลุ่มในโรงเรียนมัธยมแห่ง หนึ่ง จังหวัดพะเยา กรกฎาคม-สิงหาคม 2529. เชียงใหม่: 2529. 9. สมภพ เรืองตระกูล, อรพรรณ ทองแตง, โกวิท บูรณะสัมฤทธิ์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. การระบาดของโรคประสาทฮีสทีเรีย. วารสาร สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2517; 19: 244-62.

สมชาย ลาภเจริญ, ประภา จําปาศรี, เพงสวรรค์ โพธิ, สุภารัตน์ เจริญพันธ์, ปรีชา มาลัยทอง, เนาวรัตน์ พูลผล. รายงานการ สอบสวนโรคอุปาทานหมู่ โรงเรียนชุมชนประชานิกรอํานวยเวทย์ ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 8-10 ธันวาคม 2552 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2560]. เข้าถึง ได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/srrtnetwork/otoo/filen/a01130490091208.pdf

พิทักษ์พล บุณยมาลิก, วัชนี หัตถพนม, วรวรรณ จุฑา. คู่มือการ เฝ้าระวังและสอบสวนภาวะอุปาทานหมู่ (mass hysteria) และ การแพร่ระบาดของความเชื่อต่างๆ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสซิ่ง; 2556.

ภิญญดา ภัทรกิจจาธร, อัญชลี ศรีสมุทร์. อุปาทานหมู่: แนวทาง ปฏิบัติ. พยาบาลตำรวจ 2557; 6: 211-9.

จะเด็ด ดียิ่ง และคณะ. การระบาดของโรคทางจิต : อาการเป็นลม ของนักเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดมุกดาหาร 2542. ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข; วันที่ 23-25 สิงหาคม 2543; โรงแรมลีการ์เด้น, สงขลา. 2542.

สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ, มนทกานต์ คําดี, ราม รังสินธุ์, วิวัฒน์ พีรพัฒนโภคิน, ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์, ประหยัด ก้อนทอง, และ คณะ. โรคอุปาทานหมู่ระบาดในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัด นครศรีธรรมราช พ.ศ. 2536. รา ยงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์ 2536; 26: 41-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา