การสอบสวนผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก จังหวัดภูเก็ต เดือนเมษายน 2561

ผู้แต่ง

  • ธนชล วงศ์หิรัญเดชา กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เอกราช มีแก้ว กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ฆาลิตา วารีวนิช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
  • ผกาวัลย์ แดหวา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
  • วรญา อํานวยผล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  • กุสุมา สว่างพันธุ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
  • เฉวตสรร นามวาท กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนิต รัตนธรรมสกุล กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยา, วัณโรคปอด, ร้านอาหาร, การรับประทานยาตามสั่ง, ภูเก็ต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เนื่องจากวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก เป็นโรคติดต่ออันตรายเพราะโอกาสในการรักษาสำเร็จต่ำและมีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อที่สูง วันที่ 5 เมษายน 2561 กองระบาดวิทยาได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยยืนยันวัณโรคปอดดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR–TB) 1 ราย เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาล ก. จังหวัดภูเก็ต ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคร่วมกันสอบสวนเพื่อบ่งชี้การแพร่กระจายของโรคบ่งชี้ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อวัณโรคในผู้ป่วยรายนี้ ทราบขนาดของปัญหาในพื้นที่และให้คำแนะนำเพื่อดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาเชิงพรรณนาโดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย index ที่โรงพยาบาล ฐานข้อมูล TBCM และเก็บข้อมูลของผู้ป่วย index จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และศึกษาสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรยายลักษณะของผู้ป่วย index และ ปัจจัยที่อาจจะทำให้เชื้อดื้อยา ค้นหาผู้สัมผัสโดยใช้นิยามบุคคลที่สัมผัสกับผู้ป่วย index ในช่วงเวลา 3 เดือนก่อนการวินิจฉัย จนถึงวันที่ทำการสอบสวนโดยแบ่งออกเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้สัมผัสใกล้ชิด และผู้ป่วยคือผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือไอมีเสมหะที่มีเลือดปน หรือผู้ที่มีอาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ร่วมกับ มีไข้หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคจากภาพรังสีทรวงอก ผู้สัมผัสทุกรายได้รับการตรวจภาพรังสีทรวงอกและตรวจเสมหะ Xpert MTB/RIF
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก 1 รายเป็นเพศหญิงอายุ 28 ปี ไม่มีโรคประจําตัว ผลเพาะเชื้อพบเชื้อวัณโรคดื้อยา Isoniazid monoresistance น่าจะได้รับเชื้อมาจากพ่อเลี้ยงของสามีคนแรก และเชื้อพัฒนาจนเป็นเชื้อดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ปัจจัยที่อาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยารุนแรงขึ้น มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยไปรับรักษาล่าช้า มีเชื้อในปริมาณมาก มีพฤติกรรมการรับยาที่ไม่สม่ำเสมอ การบริหารยาของแพทย์ และการจัดเก็บยาของสถานพยาบาลมีผู้สัมผัสร่วมบ้าน 18 คน ผู้สัมผัสใกล้ชิด 27 คน ยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อในผู้ป่วยรายนี้ คือ การที่ผู้ป่วยไปรับรักษาล่าช้าและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ป่วยในการป้องกันตนเองไม่ให้แพร่โรค
สรุปและวิจารณ์ผล: ผู้ป่วยยังขาดความตระหนักในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคในชุมชน การป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม ได้แก่ การแยกกักผู้ป่วยและให้ยารักษาสูตร XDR–TB จนกว่าจะไม่แพร่เชื้อ รวมถึงการจัดทำทะเบียนคัดกรองผู้สัมผัส และติดตามอย่างใกล้ชิดตามแนวทางของกองวัณโรคเพื่อเป็นการป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรคในอนาคต

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2018 [Internet]. 2018 [cited 2018 Jun 9]. Available from: https://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

Raviglione MC, Getahun H. Tuberculosis and Other Mycobacterial Diseases. Control of Communicable Diseases Manual [Internet]. [cited 2018 Jun 10]. Available from: https://ccdm.aphapublications.org/doi/abs/10.2105/CCDM.2745.147

Reechaipichitkul W, Netniyom S, Puengrassamee P. Bureau of Tuberculosis, Ministry of Public Health T. Guideline for programmatic management of drug–resistant tuberculosis. Vol. 1. Bangkok, Thailand; 2015.

TB drug resistance types [Internet]. 2018 [cited 2018 Jun 10]. Available from: http://www.who.int/tb/areas–of–work/drug–resistant–tb/types/en/

Division of Tuberculosis Elimination CDC. Tuberculosis: Drug– Resistant TB [Internet]. 2017 [cited 2018 Jun 10]. Available from: https://www.cdc.gov/tb/topic/drtb/default.htm

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Von Groll A, Martin A, Stehr M, Singh M, Portaels F, da Silva PE, et al. Fitness of Mycobacterium tuberculosis strains of the W–Beijing and Non–W–Beijing genotype. Plos one. 2010;5(4):e10191.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. National Tuberculosis Information Program (NTIP): สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/uiform/Manual.aspx

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการวิจัย สถานการณ์วัณโรคดื้อยา. หลายขนานในประเทศไทยระหว่าง ปีงบประมาณ 2550–2552.

Sriyabhaya N, Payanandana V, Bamrungtrakul T, Konjanart S. Status of tuberculosis control in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health [Internet]. 1993 Sep [cited 2019 Jun 18];24(3):410–9. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8160047

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการสอบสวนและควบคุม วัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2561.

ศิรินภา จิตติมณี, ไพฑูรย์ สุขเกษม, สุขสันต์ จิตติมณี, จิรวัฒน์ วร สิงห์, ชนัฎตรี บุญอินทร์. คู่มือประเมินมาตรฐาน โรงพยาบาล คุณภาพการดูแลรักษาวัณโรค QTB [อินเตอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/th/site/office_other/view/law/7/8

Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control. National tuberculosis prevalence survey in Thailand 2012–2013. Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Bangkok. 2017.

Kaur A, Kucheria M, Gupta R, Thami GP, Kundu R. Extensive Multisystemic Disseminated Tuberculosis in an Immunocompetent Patient. J Clin Aesthet Dermatol [Internet]. 2018 Sep [cited 2019 Jun 19];11(9):42–6. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30319731

Srithongtham O. The Factors related to default and Failure Treatment of MDR–TB Patient in the Area Responsibility of the Office of Disease Prevention and Control Region 7th Ubon Ratchathani. [Internet]. 2015 [cited 2019 Jun 19]. Available from: irem2.ddc.moph.go.th/researches/download/files/4858

Fleury J, Keller C, Perez A. Social support theoretical perspective. Geriatr Nurs [Internet]. 2009 [cited 2019 Jun 1];30(2 Suppl):11–4. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19345858

Tamir DI, Hughes BL. Social Rewards: From Basic Social Building Blocks to Complex Social Behavior. Perspect Psychol Sci [Internet]. 2018 [cited 2019 Jun 1];13(6):700–17. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30415630

Al–Khal AL, Bener A, Enarson DA. Tuberculosis among garment workers in an Arabian developing country: State of Qatar. Arch Environ Occup Health. 2005 Nov– Dec;60(6):295–8.

Su SB, Chiu CF, Chang CT, Chen KT, Lin CY, Guo HR. Screening for pulmonary tuberculosis using chest radiography in new employees in an industrial park in Taiwan. Am J Infect Control. 2007 May;35(4):254–9.

Van Altena R, Dijkstra JA, van der Meer ME, Howard JB, Kosterink JG, van Soolingen, et al. Reduced chance of hearing loss associated with therapeutic drug monitoring of aminoglycosides in the treatment of multidrug– resistant tuberculosis. Antimicrobial agents and chemotherapy. 2017 Mar 1;61(3):e01400–16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27