การสอบสวนโรคชิคุนกุนยา และพฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชน หมู่ 10 ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์–28 มีนาคม 2562

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ พืดขุนทด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
  • พุฒิธร มาลาทอง โรงพยาบาลละหานทราย

คำสำคัญ:

การสอบสวนการระบาด, โรคชิคุณกุนยา, ตําบลหนองเต็ง, อําเภอกระสัง, จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

บทนำ: วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 จังหวัดบุรีรัมย์พบรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา (Index case) 1 ราย เป็นเพศหญิง อายุ 32 ปี ซึ่งไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยในพื้นที่นี้มาก่อน การศึกษาครั้งนี้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยยืนยันการระบาด ค้นหาแหล่งโรค ลักษณะการระบาด ของโรคชิคุนกุนยา พร้อมทั้งศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมป้องกันโรคต่อไป
วิธีการศึกษา: เป็นการสอบสวนด้วยวิธีการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยสัมภาษณ์ผู้ป่วย ทบทวนบันทึกทางการแพทย์ และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม พร้อมทั้งสำรวจสภาพแวดล้อมและดัชนีลูกน้ำ
ผลการศึกษา: พบพื้นที่บ้านชำแระ หมู่ 10 ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชากรทั้งหมด 230 คน ในหมู่บ้านมีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นจำนวนมาก จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม พบผู้ป่วยเข้าได้กับนิยามจำนวน 44 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย (Real–Time PCR) และผู้ป่วยสงสัย 42 ราย อัตราป่วยร้อยละ 19.13 อายุเฉลี่ย 32.04 ปี อายุต่ำสุด 4 ปี สูงสุด 78 ปี ผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมพบค่า HI = 31.91, CI = 12.5 ผลการศึกษาความรู้ และพฤติกรรมต่อโรคชิคุนกุนยา จากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 140 คน พบว่าร้อยละ 83.57 ไม่รู้จักโรคชิคุณกุนยามาก่อน และร้อยละ 82.6 ยังละเลยการปิดฝาภาชนะให้มิดชิด ขัดล้างภาชนะใส่น้ำและถ่ายน้ำไม่ให้ยุงลายไข่เป็นประจำทุก 7 วัน หลังจากให้ ความรู้ในรูปแบบประชาคมหมู่บ้าน พบว่าประชาชนมีความรู้ และพฤติกรรมต่อการป้องกันตนเองจากโรคชิคุนกุนยาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p–value < 0.001 หลังดำเนินการ พบค่า HI = 0, CI = 0 และไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีกภายใน 28 วัน
ข้อเสนอแนะ: ควรสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเฝ้าระวังโรค โดยแจ้งเตือนให้แพทย์และผู้เกี่ยวข้องรายงานผู้ป่วยที่ต้องสงสัยทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการพัฒนาการควบคุมป้องกันโรค โดยการสื่อสารความเสี่ยง แจ้งเตือนประชาชน ครอบคลุมทุกพื้นที่ กระตุ้นเตือนให้กําจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกสัปดาห์ และควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการสื่อสารระหว่างจังหวัดต่อไป

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 5 มกราคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://odpc8.ddc.moph.go.th/upload_epi_article/dWoQeKhEGHvLqR1IfCYF.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/fact/Chikungunya.htm

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้ ปวดข้อยุงลายประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Chikun/2562/chikun_wk%2012.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546. หน้า 21-2, 187-9.

ภูวเดช สุระโคตร, บุญเชิด อินพลทัน. การสอบสวนการระบาด ของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 11 ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2552; 40: 309-13.

Regional Office for South-East Asia, World Health Organization. Guidelines for Prevention and Control of Chikungunya Fever [Internet]. [cited 2020 Feb 10]. Available from: https://www.who.int/publicationsdetail/guidelines-for-prevention-and-control-ofchikungunya-fever

ชัยวัฒน์ จัตตุพร, พิภพ เมืองศิริ, ธำรงศักดิ์ ธรรมเจริญ, อรวรรณ พานิชย์, วราพร วิริยะอลงกรณ์, โรม บัวทอง. การสอบสวนโรคชิคุนกุนยาในชุมชนมุสลิม หมู่ที่ 4 ตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 12 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554; 42: S1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27