การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรค อำเภอชายแดน จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2561
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวัง, วัณโรคปอด, พื้นที่ชายแดน, จังหวัดบุรีรัมย์บทคัดย่อ
บทนำ: จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ชายแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศกัมพูชา 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละหานทราย บ้านกรวด โนนดินแดง และมีช่องทางติดต่อที่ประชาชนสามารถไปมาหาสู่กันได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ ช่องสายตะกู ช่องจันทบเพชร ช่องบาระแนะ ประชากรรวม 178,282 คน ในปีงบประมาณ 2561 มีผู้ติดเชื้อวัณโรคของอำเภอละหานทราย อำเภอบ้านกรวด และอำเภอโนนดินแดง จำนวน 53, 69 และ 16 รายตามลำดับ ร้อยละการค้นพบและขึ้นทะเบียนรักษา เป็น 42.2, 47.3 และ 29.0 ตามลำดับ เนื่องจาก 3 อำเภอนี้เป็นพื้นที่ชายแดน ประชาชนมีการสัญจรไปมาหาสู่กันตลอดเวลา ซึ่งอาจมีการระบาดของโรคที่ต้องเฝ้าระวังสำคัญ ได้แก่ โรควัณโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังโรควัณโรคทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ในพื้นที่ โรงพยาบาลละหานทราย โรงพยาบาลบ้านกรวด และโรงพยาบาลโนนดินแดง ประชากรที่ทำการศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2560–30 กันยายน 2561 แหล่งข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 (รง. 506) และระบบรายงาน TBCM online โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด สำหรับผลการศึกษาเชิงคุณภาพจะวิเคราะห์แบบ content analysis
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่เป็นประชากรศึกษา จำนวน 2,025 ราย แยกเป็นโรงพยาบาลละหานทราย 475 ราย โรงพยาบาลบ้านกรวด 1,091 ราย และโรงพยาบาลโนนดินแดง 459 ราย โดยเป็น Coding TB 138 ราย และ Coding non-TB 1,878 ราย ซึ่งค้นพบผู้ป่วยวัณโรคปอดตามนิยามจาก Coding non-TB จำนวน 9 ราย รวมจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่เข้านิยามการวินิจฉัย 147 ราย ค่าความไว ในการรายงานเข้าระบบ 506 โรงพยาบาลละหานทรายเท่านั้นที่รายงานเข้าระบบ 506 มีค่าความไวและค่าพยากรณ์บวก เท่ากับร้อยละ 91.38 และ 62.35 ตามลำดับ) ค่าความไวในการรายงานเข้าระบบ TBCM online เท่ากับร้อยละ 93.87 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 100 ผล การศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ควรมีความชัดเจนของนโยบาย กรอบโครงสร้างงาน มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน จึงจะช่วยเรื่องความต่อเนื่อง มั่นคงของระบบบริการ และพบว่าระบบมีความยืดหยุ่น ไม่ซับซ้อน
ข้อเสนอแนะ: ควรมีการประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคในโรงพยาบาล ที่มีบริบทต่างออกไป เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือ ศึกษาให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดต่อไป
References
เจริญ ชูโชติถาวร. วัณโรคในผู้ใหญ่. โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จํากัด; 2541.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุม วัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สํานักงาน กิจการโรงพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรค ระดับชาติ พ.ศ. 2560–2564 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/หนังสือแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ%20FINAL_new%20des.pdf
สำนักวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมการบริหารงาน คลินิกและการการดูแลผู้ป่วยวัณโรค [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 เม.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://tbcmthailand.net/uiform/Manual.aspx
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. มาตรฐานงานระบาด วิทยาโรคติดต่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2548.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อแห่ง ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546. หน้า 162–3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ