การสอบสวนเหตุการณ์คนงานเสียชีวิตในบ่อพักน้ำเสียของโรงงานน้ำยางพาราแห่งหนึ่่งจังหวัดสงขลา เดือนสิงหาคม 2562
คำสำคัญ:
เสียชีวิตจากการทำงาน, ไฮโดรเจนซัลไฟด์, ที่อับอากาศ, โรงงานผลิตน้้ำยางพาราบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ กรมควบคุมโรค ได้รับแจ้ง จากสำนักกงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12) ว่าวันที่ 12 สิงหาคม 2562 เวลา 13.00–14.00 น. มีคนงานโรงงาน ส่งออกน้ำยางแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ลงไปซ่อมท่อบำบัดน้ำเสีย จำนวน 4 ราย โดยเสียชีวิต 3 ราย และยังรักษาที่โรงพยาบาล 1 ราย ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคจากกองระบาดวิทยา กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และ สคร.12 ร่วมดำเนินการ สอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตในพื้นที่ระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2562 วัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการ บาดเจ็บเสียชีวิต พรรณนาลักษณะทางระบาดวิทยา ค้นหาปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตราย และเสนอมาตรการป้องกันเหตุจากที่อับอากาศ
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยทบทวนเวชระเบียนของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์ดังกล่าวจากโรงพยาบาลที่รักษา สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และศึกษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่เกิดเหตุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุดและสูงสุด ส่วนการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนและก๊าซพิษต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมนั้นวิเคราะห์เป็นร้อยละโดยปริมาตร (% by volume) และค่าหนึ่งส่วนในล้านส่วน (ppm) ตามลำดับ
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยทั้งหมด 5 ราย เป็นชาวไทยเพศชาย อายุ เฉลี่ย 38 ปี (31–46 ปี) โดยเป็นผู้ประสบเหตุ 2 ราย ซึ่งได้ลงไปซ่อม บ่อพักน้ำเสียของโรงงาน และเสียชีวิตทั้ง 2 ราย ส่วนอีก 3 ราย เป็นผู้ลงไปช่วยเหลือ ซึ่งเสียชีวิต 2 ราย โดยผู้เสียชีวิตได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะขาดออกซิเจนจากพิษของสารเคมี ผลการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนและก๊าซพิษในบ่อพักน้ำเสียดังกล่าวหลังเกิดเหตุ 1 วัน พบระดับออกซิเจนลดลงกว่าปกติ และระดับไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงกว่าปกติมาก ความเสี่ยงที่พบ คือ ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตไม่มีความรู้ และประสบการณ์ทำงานในที่อับอากาศ รวมถึงการช่วยเหลือเมื่อมีผู้ประสบเหตุมีการปฏิบัติแบบไม่ปลอดภัย และโรงงานขาดการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อับอากาศตามกฎหมาย
สรุปและข้อเสนอแนะ: การบาดเจ็บและเสียชีวิตครั้งนี้เป็นผลจากภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากการได้รับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในระดับที่เป็นอันตราย ขณะลงปฏิบัติงานในบ่อพักน้ำเสีย ทั้งผู้ประสบเหตุ และผู้ช่วยเหลือขาดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในที่อับอากาศ ระบบ ความปลอดภัยเป็นสิ่งจําเป็นสำหรับการทำงานในสถานที่อับอากาศ ในโรงงานผลิตน้ำยางพารา
References
กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร และจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 18 ก; 2562.
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย). การทำงานในที่อับอากาศ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=209:-m-m-s&catid=49:-m---m-s&Itemid=203.
กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา. พิษวิทยาของสารเคมีทาง อุ ตสาหกรรม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
แสงโฉม ศิริพานิช. พื้นที่อับอากาศภัยร้ายที่ไม่คาดคิด [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/a04f8403c051b4ce7ea9d5937c2f88f3.pdf
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). สถานการณ์การเสียชีวิตและ มาตรการป้องกันอันตรายจากการทํางานในสถานที่อับอากาศ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/473-2019-02-06-07-31-58
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา. ลงพื้นที่ตรวจกำกับและ เฝ้าระวังการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.industry.go.th/songkhla/index.php/news/item/12081-2018-06-22-08-02-08
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2538 ออกตามความใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ โดยทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 42 ง; 2538.
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 พ.ศ. 2547 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 104 ง; 2547.
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2552 เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 114 ง; 2552.
Pettit T, Linn H. A Guide to Safety in Confined Spaces [INTERNET]. 1987 [cited 2019 Dec 12]. Available from: https://www.cdc.gov/niosh/docs/87-113/pdfs/87-113.pdf?id=10.26616/NIOSHPUB87113
The National Institute for Occupational Safety and Health. Hydrogen sulfide [INTERNET]. [cited 2019 Dec 12]. Available from: https://www.cdc.gov/niosh/idlh/7783064.html
Occupational Safety and Health Administration. Hydrogen Sulfide [INTERNET]. [cited 2019 Dec 12]. Available from: https://www.osha.gov/SLTC/hydrogensulfide/hazards.html
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. พิษจากก๊าซ Hydrogen sulfide [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/gas/Hydrosul
แสงโฉม เกิดคล้าย. สถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตจาก การทำงานในที่อับอากาศ [Internet]. 2549 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/files/report/20100829_6915895.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ