การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Salmonella ใน 2 หมู่บ้าน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 30 เมษายน–16 พฤษภาคม 2562

ผู้แต่ง

  • บดินทร์ จักรแก้ว โรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่
  • กิตติคุณ คชรักษ์ โรงพยาบาลไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคอาหารเป็นพิษ, เชื้อซัลโมเนลลา, สอบสวนการ ระบาด, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 โรงพยาบาลไชยปราการ ได้รับแจ้งว่า พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษเป็นกลุ่มก้อนจํานวน 7 ราย ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2562 ตั้งแต่เวลา 02.00–08.00 น. ทุกราย มีอาการถ่ายเหลวร่วมกับอาเจียน ทีม SRRT โรงพยาบาลไชย ปราการ จึงออกสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาปัจจัยเสี่ยง และเสนอแนะมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา: ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวและอาเจียน หรือมีอาการถ่ายเหลวหรืออาเจียน ร่วมกับมีอาการใด อาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้แก่ คลื่นไส้ ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูก ถ่ายเป็น เลือด มีไข้ หรือปวดศีรษะ และอาศัยอยู่หมู่ที่ 1 และ 13 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน–3 พฤษภาคม 2562 ยืนยันโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง (Case-control) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบรายงานการสอบสวนโรค เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง และการศึกษาทางสิ่งแวดล้อมโดยเก็บตัวอย่างอุจจาระ อาหาร น้ำ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร ส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร ตรวจปริมาณคลอรีนอิสระในน้ำอุปโภค
ผลการศึกษา: จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมที่บ้านเมืองนะ (ม.1) และบ้านเจียจันทร์ (ม.13) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พบผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย ผู้ป่วยสงสัย 13 ราย อัตราป่วย 532.08 ต่อประชากรแสนคน อาการทางคลินิกที่พบ ได้แก่ ปวดท้อง (ร้อยละ 100) ถ่ายเหลว (ร้อยละ 100) อาเจียน (ร้อยละ 76) คลื่นไส้ (ร้อยละ 65) ปวดศีรษะ (ร้อยละ 18) ถ่ายเป็นมูกเลือด (ร้อยละ 12) และมีไข้ (ร้อยละ 6) จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อก่อโรค คือ Salmonella enterica subspecies enterica serotype 4,5,12:i:– ในผู้ป่วย 4 ราย (ร้อยละ 23.53) และผู้ประกอบอาหาร 2 รายซึ่งเป็นพาหะ พบอาหารที่สงสัยเป็นสาเหตุการระบาด คือ ลาบหมูดิบ (ของวันถัดไป) เขียง และหม้อปรุง พบ Salmonella enterica serovar Typhimurium ส่วนในน้ำประปาหมู่บ้าน พบ Aeromonas veronii biovar sobria, Aeromonas hydrophila, Plesiomonas shigelloides จากการวิเคราะห์พบปัจจัยเสี่ยง คือ ลาบหมูดิบ (OR = 158.67, 95%CI 24.23–1039.22)
สรุปและวิจารณ์: การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษครั้งนี้สาเหตุ จากเชื้อ Salmonella enterica subsp. enterica ser.4,5,12:i:– อาหารที่มีการปนเปื้อน คือ ลาบหมูดิบที่ผู้ป่วยซื้อมาจากร้านค้า แห่งหนึ่งในบ้านเมืองนะ (ม.1) ที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจากผู้ปรุงซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเชื้อที่พบในผู้ป่วย เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงสุกและการปรุงที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การรับประทานอาหารปรุงสุก กินร้อน การรับประทานอาหารปรุงสุก กินร้อน และการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะจะสามารถป้องกันการเจ็บป่วยและการเกิดโรคระบาดได้

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. โรคอาหารเป็นพิษ. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/disease/detail/10/status

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ความรู้เรื่องโรคอาหารเป็น พิษ. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.boe.moph.go.th/fact/Food_poisoning.htm

นงนุช มารินทร์, ศิวพร ขุมทอง, กู้ศักดิ์ บำรุงเสนา และคณะ. อาหารเป็นพิษจากเชื้อซัลโมเนลลาในตำบลแห่งหนึ่ง จังหวัด อุดรธานี สิงหาคม–กันยายน 2549. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2550;38:773–7.

C Graziani, C Losasso, I Luzzi, A Ricci, G Scavia, P Pasquali. Salmonella. 2017 [cited 2018 may 11]. Avialiable from: https://www.sciencedirect.com/topics/food–science/salmonella

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

ฉบับ

บท

รายงานโรคเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารายสัปดาห์