การระบาดของโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (โรคไข้ดําแดง) จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม 2561

ผู้แต่ง

  • อรทัย สุวรรณไชยรบ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ภันทิลา ทวีวิกยการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • โรม บัวทอง กองด้านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค
  • วรรณกร จีระดิษฐ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

ไข้ดําแดง, Group A streptococcus, ไข้ดําแดงในอาหาร, APSGN

บทคัดย่อ

บทนำ: วันที่ 5 มีนาคม 2561 กองระบาดวิทยา ได้รับแจ้งจากทีมตระหนักรู้สถานการณ์ กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยไข้ออกผื่น ไม่ทราบสาเหตุเป็นกลุ่มก่อนจำนวน 13 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค กรมควบคุมโรคร่วมกับทีมสอบสวนโรคในพื้นที่ดำเนินการสอบสวน การระบาดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย อธิบายลักษณะการระบาดค้นหา ปัจจัยเสี่ยงของการระบาด ระหว้างวันที่ 7–31 มีนาคม 2561
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยสัมภาษณ์ผู้ป่วย และทบทวนเวชระเบียน ยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการต่อเชื้อก่อโรคไข้ออกผื่นทั้งแบคทีเรียและไวรัส นิยามที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ‘ผู้ป่วยสงสัย’ หมายถึง ผู้ที่อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลศิลา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือมีประวัติเข้า ร่วมงานบุญแจกข้าว หรืองานแต่งงานในหมู่บ้านดังกล่าว ระหว่าง วันที่ 22–24 กุมภาพันธ์ 2561 และมีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ดังต่อไปนี้ ไข้สูง เจ็บคอ มีผื่น ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์–9 ‘ผู้ป่วยยืนยัน’ หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจำเพาะพบหลักฐานของการติดเชื้อ Group A streptococcus ทีมสอบสวนศึกษาค้นหาแหล่งโรค และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วยการศึกษาแบบ case–control study
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคไข้ดำแดง 123 ราย (ผู้ป่วยยืนยัน 37 ราย ผู้ป่วยสงสัย 86 ราย) ค่ามัธยฐานของอายุ 37 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรกระจายอยู่ที่อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย วันเริ่มป่วยระหว่าง วันที่ 13 กุมภาพันธ์–9 มีนาคม 2561 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไข้สูง (ร้อยละ 97.56) เจ็บคอ (ร้อยละ 90.24) และมีผื่นลักษณะตุ่ม เม็ดหยาบคล้ายกระดาษทราย (ร้อยละ 46.34) การติดตามภาวะ แทรกซ้อนหลังการติดเชื้อ พบว่าผู้ป่วยผลโปรตีนในปัสสาวะ ผิดปกติ 21 ราย (ร้อยละ 9.09) และผู้ป่วยกรวยไตอักเสบ เฉียบพลัน 2 ราย (ร้อยละ 2.27) ผู้ป่วยดังกล่าวไม่ได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพบการรับประทานลาบควายดิบในงานแต่งงานสัมพันธ์กับการป่วยอย่างมี (aOR = 2.91, 95% CI 1.22–6.95) โดยพบว่าผู้ป่วยบางรายร่วมปรุงประกอบและเสิร์ฟอาหารขณะมีอาการป่วย
สรุปและอภิปรายผล: เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคไข้ดำแดง สันนิษฐานว่าแหล่งโรค ได้แก่ ลาบควายดิบ อย่างไรก็ดี อาจมีการแพร่จากการสัมผัสหรือละอองได้ระหว่างงานเลี้ยง การจัดงานเลี้ยงควรปฏิบัติตามสุขลักษณะของการประกอบอาหาร ผู้ที่มีอาการป่วยควรงดการรวมกลุ่ม และควรให้ความรู้กับประชาชน เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง

References

Center for Disease Control and Prevention. Scarlet fever [internet]. [cited 2020 July 16]. Available from: https://www.cdc.gov/groupastrep/diseases-hcp/scarlet-fever.html

ชมรมกุมารแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. แนวทางการ ปฏิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้ รูมาติกในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/ARFGuideline.pdf

Public Health England. Guidelines for the public health management of scarlet fever outbreaks in schools, nurseries and other childcare settings October 2017 [internet]. 2017 [cited 2020 July 16]. Available from: https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/771139/Guidelines_for_the_public_health_management_of_scarlet_fever_outbreaks__.pdf

พรอำภา บรรจงมณี, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์. Scarlet fever [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่ง ประเทศไทย. [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A765.html

พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ลักขณา ไทยเครือ. การสอบสวนทาง ระบาดวิทยา. ใน: พื้นฐานระบาดวิทยา (Basics of Epidemiology). กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก แห่งประเทศไทย; 2557. หน้า 181–5.

G. Gallo, R. Berzero, N. Cattai, S. Recchia and G. Orefici. An Outbreak of Group A Food- Borne Streptococcal Pharyngitis Infect. European Journal of Epidemiology [Internet]. 1992 [cited 2020 July 18]; 8:292–7. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007%2FBF00144817

G. FALKENHORST, J. BAGDONAIT, M. LISBY, S. B. MADSEN, L. LAMBERTSEN, K. E. P. OLSEN, K. MØLBAK. Outbreak of group A streptococcal throat infection: don’ t forget to ask about food. Epidemiol Infect [Internet]. 2008 [cited 2020 July 18]; 136(9): [1165– 71]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2870919/

Center for Disease Control and Prevention. PostStreptococcal Glomerulonephritis [internet]. [cited 2020 August 17]. Available from: https://www.cdc.gov/groupastrep/diseases-hcp/post-streptococcal.html

Center for Disease Control and Prevention. Outbreaks and Public Health Response [internet]. [cited 2020 October 9]. Available from: https://www.cdc.gov/groupastrep/outbreaks.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-05

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ