การสอบสวนผู้ป่วยวณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ในอำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • ฟารุค พิริยศาสน์ ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา, กรมควบคุมโรค
  • จุฑาพัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ศูนย์วัณโรคที่ 12 ยะลา, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ศักดิ์ณรงค์ สอนคง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา กระทรวงสาธารณสุข
  • นลินี ช่วยดำรงค์ ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา, กรมควบคุมโรค
  • ศุภราภรณ์ พันธ์เถระ ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา, กรมควบคุมโรค
  • อาซปิ อูเซ็ง ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา, กรมควบคุมโรค
  • ชูพงศ์ แสงสว่าง ศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา, กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก, XDR-TB, สงขลา, การสอบสวนผู้ป่วย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา (สคร.12) รับแจ้งจาก ศู นย์วัณโรคที่ 12 จังหวัดยะลา พบผู้ป่วยยืนยันวัณโรคดื้อยาหลาย ขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensive drug-resistant tuberculosis: XDR-TB) จำนวน 1 ราย ทีมสอบสวนโรคสหสาขาจาก สคร.12 ศู นย์วัณโรคที่ 12 จังหวัดยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ร่วมสอบสวนโรค ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 10–11 ตุลาคม 2562 เพื่อหาแหล่งแพร่โรค ปัจจัย เสี่ยงต่อการดื้อยา และค้นหาผู้สัมผัสโรค พร้อมให้คำแนะนำ มาตรการป้องกันและควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการทบทวนเวช ระเบียน ภาพถ่ายรังสีทรวงอก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรค ในโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยยืนยันเข้า รับการรักษา สัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อหาแหล่งโรค ค้นหาผู้สัมผัสโรค ศึกษาทางห้องปฏิบัติการ โดยส่งตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก ตรวจย้อมเสมหะ Acid-Fast Bacillus (AFB) และส่งตรวจการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคของผู้สัมผัสโรค ศึกษาอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล ที่พักอาศัย และชุมชนของผู้ป่วยยืนยัน โดยการลงพื้นที่สำรวจ และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี อาชีพก่อสร้าง ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2555 โดยเป็นเชื้อชนิดดื้อยา มากกว่า 1 ขนาน (Polydrug resistance) จากการสอบสวนโรค สงสัยว่าแหล่งแพร่โรคมาจากแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2554 พบการรายงานผลทดสอบความไวต่อยาล่าช้า และได้รับยาวัณโรคที่ไม่เหมาะสม มีผู้สัมผัสโรค 5 ราย เป็นผู้สัมผัสร่วม บ้าน 3 ราย และผู้สัมผัสใกล้ชิด 2 ราย ผลทางห้องปฏิบัติการพบ ผู้ สัมผัสร่วมบ้าน 1 รายมีเชื้อวัณโรค แต่ทดสอบความไวต่อยา ไม่พบภาวะดื้อยาวัณโรค ผลการศึกษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม พบ ผู้ ป่วยอาศัยอยู่ในบ้านคนเดียว อากาศในบ้านถ่ายเทได้ดี แต่ตั้งอยู่ในชุมชนแออัดที่มีความชุกของผู้ป่วยวัณโรคสูง พบปัญหาเรื่องการ ไหลเวียนอากาศในคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลที่ไม่ถูกต้องตาม หลักการป้องกันการแพร่เชื้อในสถานพยาบาล
สรุปผลการศึกษา: จากการสอบสวนสงสัยแหล่งแพร่เชื้อจาก แรงงานต่างด้าวที่เคยร่วมทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน การที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยามากกว่า 1 ขนานมาตั้งแต่ต้น การรายงานผลทดสอบความไวต่อยาที่ล่าช้า และการได้รับยาที่ไม่เหมาะสม เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด XDR-TB ในภายหลัง พบผู้สัมผัสร่วม บ้านติดเชื้อ 1 ราย แต่ไม่พบภาวะดื้อต่อยาวัณโรค คลินิกวัณโรคมีปัญหาการไหลเวียนอากาศที่ไม่ถูกต้องตามหลักการแพร่เชื้อใน คลินิกวัณโรคที่ผู้ป่วยยืนยันรักษา ทีมนำการรักษาควรหมั่นร่วมกัน ทบทวนการรักษา จัดสภาพคลินิกวัณโรคให้ปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ และเจ้าหน้าที่ทีมป้องกันโรคควรให้ทีมสหวิชาชีพมามีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังวัณโรคในชุมชนที่มีความชุกของโรค

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2020 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2021 Feb 2]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tuberculosis

Centers for Disease Control and Prevention. Basic TB Facts [Internet]. Atlanta (GA): Centers for Disease Control and Prevention; 2012 [cited 2021 Feb 2]. Available from: http://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการ ควบคุมวัณโรคประเทศไทย 2561 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2563 ]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/NTP2018.pdf

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทาง ปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/Manual/วัณโรคดื้อยาหลาย ขนาน_final_forweb.pdf

Truzyan N, Crape B, Grigoryan R, Martirosyan H, Petrosyan V. Increased risk for multidrug-resistant tuberculosis in migratory workers, Armenia [Internet]. Emerging infectious diseases; 2015 [cited 2021 Jan 3]. p.474–6. Available from: https://doi.org/10.3201/eid2103.140474

Hemhongsa P, Tasaneeyapan T, Swaddiwudhipong W, Danyuttapolchai J, Pisuttakoon K, Rienthong S, et al. TB, HIV-associated TB and multidrug-resistant TB on Thailand’s border with Myanmar, 2006-2007 [Internet]. Tropical Medicine and International Health. 2008 [cited 2021 Jan 1]; 13(10): 1288–96 p. Available from: https://doi.org/10.1111/j.1365-3156.2008.02139.x

Yi Hu, Sven H, Weili J, Weibing W, Biao X. Extensive transmission of isoniazid resistant M. tuberculosis and its association with increased multidrug-resistant TB in two rural counties of eastern China: A molecular epidemiological study [Internet]. BMCInfectDis; 2010 [cited 2021 Feb 3]. p. 10–43. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2846942/

Htun YM, Khaing TMM, Aung NM, Yin Y, Myint Z, Aung ST, et al. Delay in treatment initiation and treatment outcomes among adult patients with multidrugresistant tuberculosis at Yangon Regional Tuberculosis Centre, Myanmar: A retrospective study [Internet]. PLoS One; 2018 [cited 2021 Jan 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6312206/

Division of Tuberculosis Elimination. Drug-Resistant TB [Internet]. Atlanta (GA): Centers for Disease Control and Prevention; 2017 [cited 2021 Jan 28]. Available from: https://www.cdc.gov/tb/topic/drtb/default.htm

Cookson ST, Jarvis WR. Prevention of nosocomial transmission of Mycobacterium tuberculosis [Internet]. Infectious Disease Clinics of North America; June 1997 [cited 2021 Feb 23]. 385-409 p. Available from: https://doi.org/10.1016/s0891-5520(05)70362-7

Singh S, Bhutani H, Mariappan TT, Kaur H, Bajaj M, Pakhale SP. Behavior of uptake of moisture by drugs and excipients under accelerated conditions of temperature and humidity in the absence and the presence of light. 1. Pure anti-tuberculosis drugs and their combinations. Int J Pharm; 2002 [cited 2021 Jan 28]. 37–44 p. Available from: https://doi.or/g/10.1016/s0378-5173(02)00340-x

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-02

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ