การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษสงสัยปนเปื้อนสารเคมีในก๋วยเตี๋ยว อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มิถุนายน 2563

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ หมอนพังเทียม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • ลักขณา สีนวลแล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค
  • นันทนา แต้ประเสริฐ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

อาหารเป็นพิษ, คาร์บาเมต, คาร์โบฟูแรน, ก๋วยเตี๋ยว

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: วันที่ 2 มิถุนายน 2563 ทีมปฏิบัติการสอบสวน ควบคุมโรค (JIT) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ได้รับแจ้งจากทีมตระหนักรู้สถานการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยอาการคล้าย อาหารเป็นพิษ 13 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนางรอง เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 โดยทั้งหมดมีประวัติรับประทานก๋วยเตี๋ยว ที่ร้านแห่งหนึ่งร่วมกัน และสงสัยว่ามีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง ทีม JIT สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ร่วมกับโรงพยาบาล นางรองและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโบสถ์ อำเภอ นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่สอบสวนโรค เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และหาสาเหตุของการป่วย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ด้วยการ ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลนางรอง ค้นหาผู้ป่วย เพิ่มเติมที่มารักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโบสถ์ ระหว่างวันที่ 29–30 พฤษภาคม 2563 สัมภาษณ์ผู้ปรุงประกอบ อาหารและผู้เกี่ยวข้อง สำรวจสถานที่ขายอาหาร เก็บตัวอย่างอุจจาระ ของผู้ป่วย 6 ราย ส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ณ โรงพยาบาลนางรอง และอาหารสงสัย 12 ตัวอย่าง โดยส่งตรวจหาเชื้อ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus 5 ตัวอย่าง ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต 7 ตัวอย่าง ณ ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วย 15 ราย เป็นหญิง 12 ราย ชาย 3 ราย ใน จำนวนนี้เป็นพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ 13 ราย ค่ามัธยฐาน อายุ 24 ปี ซึ่งป่วยพร้อมกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 ระยะเวลา ตั้งแต่รับประทานอาหารจนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 30 นาที –2.30 ชั่วโมง อาการส่วนใหญ่ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 100) เวียนศีรษะ (ร้อยละ 77) ปวดท้อง (ร้อยละ 31) และถ่ายเหลว (ร้อยละ 29) ไม่มีผู้ป่วยอาการรุนแรง ผลการตรวจอุจจาระผู้ป่วย ไม่พบเชื้อก่อโรค และผลการตรวจอาหารสงสัยพบสารเคมีกำจัด แมลงกลุ่มคาร์บาเมต ชนิดคาร์โบฟูแรน 4 ตัวอย่าง จากการสอบสวน ผู้ป่วยทั้งหมดรับประทานอาหารมื้อเที่ยงเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ร้านแห่ง หนึ่ง โดยพบความผิดปกติของอาหารมีลักษณะเป็นเศษกรวดทราย คล้ายเทมีฟอสหรือเกล็ดคาร์โบฟูแรน ปนเปื้อนอยู่ในพริกผัดที่ใช้ เป็นเครื่องปรุง จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบอาหาร ไม่สามารถระบุ แหล่งที่มาของสารเคมีดังกล่าว และสาเหตุที่เกิดการปนเปื้อน
สรุปผลการศึกษา: การระบาดครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการรับประทาน ก๋วยเตี๋ยวที่ปนเปื้อนสารคาร์บาเมตในพริกผัดซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุง รส ข้อเสนอแนะ คือ ให้จัดการสถานที่เก็บรักษาอาหารให้มิดชิดทั้ง จากสัตว์พาหะและการปนเปื้อนสารเคมีอื่น ๆ ในอนาคต รวมทั้ง การสังเกตความผิดปกติของอาหารก่อนจำหน่ายทุกครั้ง

References

Eddleston M, Dawson A, Karalliedde L, et al. Early management after self-poisoning with an organophosphorus or carbamate pesticide-a treatment protocol for junior doctor. Critical Care 2004;8(6): R391–7.

Rosman Y, Makarovsky I, Bentur Y, et al. Carbamate poisoning: treatment recommendations in the setting of a mass casualties event. The American Journal of Emergency Medicine 2009; 27(9): P1117–24.

Gerald F, Rika M, et al. Organophosphate poisoning and carbamate poisoning [internet]. [cited 2020 Dec 25]; Available from: https://www.msdmanuals.com/professional/injuries-poisoning/poisoning/organophosphate-poisoning-and-carbamate-poisoning

Martin A, Schier J, et al. Investigation of an outbreak of unintentional acute pesticide poisoning: assessment of exposure to carbamate and organophosphate Insecticides, Rural Bangladesh, 2009. Epidemiology 2011;22(1): PS115.

นาถธิดา วีระปรียากูร, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. สรุปผลกระทบต่อ สุ ขภาพของ carbofuran [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipan.org/data/355

กาญจนา นาถะพินธุ, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, บัณฑิต ปิยะศิลป์. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช: กรณีศึกษาเส้นทางเดินของสารเคมีการเกษตรในพื้นที่ ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ