รายงานสถานการณ์ วิเคราะห์รายงานสอบสวนวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ของทีมสอบสวนโรคส่วนกลาง Joint Investigation Team หลังจากที่มีการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 และสังเคราะห์รูปแบบของการเขียนรายงานสอบสวนโรค XDR-
คำสำคัญ:
วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก, รายงานสอบสวนโรค, โรคติดต่ออันตรายบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 13 ใน พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 และมีประกาศให้เจ้าพนักงานควบคุม โรคติดต่อซึ่งรับผิดชอบในการสอบสวนโรคจัดทำสรุปรายงานการ สอบสวนโรคและส่งรายงานดังกล่าวให้แก่กรมควบคุมโรคภายใน 48 ชั่วโมง แต่ประกาศไม่ได้ระบุแนวทางการเขียนรายงานสอบสวนโรคไว้ เพื่อให้การสอบสวนโรคมีประสิทธิภาพและสามารถนำข้อมูล มาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรค การพัฒนาต้นแบบในการเขียนรายงานสำหรับผู้รับผิดชอบจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความ ถูกต้องและสมบูรณ์ของเนื้อหาในรายงาน นำไปสู่การกำหนดนโยบาย ในการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษา XDR-TB แบ่งเป็น 4 วิธีการหลัก ได้แก่ ศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ทบทวนวรรณกรรม เพื่อ กำหนดปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ สังเคราะห์ แนวทางรูปแบบการเขียนรายงานสอบสวนโรค โดยใช้ข้อมูลเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค และวิเคราะห์ ข้อเด่น ข้อด้อยใน รายงานสอบสวนโรค
ผลการศึกษา: ตั้งแต่มกราคม 2561–ธันวาคม 2562 มีการ สอบสวนโรค 25 เหตุการณ์ พบรายงานสอบสวนโรค 24 รายงาน จากการทบทวนวรรณกรรมพบตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ XDR-TB ควรมี 41 ตัวแปร และเมื่อนำปัจจัยที่สำคัญประกอบกับหลักการ เขียนรายงานสอบสวนโรค สามารถแบ่งองค์ประกอบเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ‘ความเป็นมา’ ‘ผลการสอบสวน’ ‘กิจกรรมควบคุมป้องกันโรค ที่ดำเนินการแล้ว’ ‘ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค’ ‘สิ่งที่ จะดำเนินการต่อไป’ และ ‘สรุปผลการสอบสวนโรค’ จากการ วิเคราะห์รายงานสอบสวนโรค พบส่วน ‘ความเป็นมา’ ทั้งหมด 9 ตัวแปร พบ 6 ตัวแปรระบุในรายงาน (ร้อยละ 88–100) มีตัวแปร ระบุเวลารับแจ้ง และระบุเวลาลงพื้นที่สอบสวนโรคเพียงเท่านั้นที่พบ การรายงานร้อยละ 17 และ 8 ตามลำดับ ส่วน ‘ผลการสอบสวน’ มี 25 ตัวแปร พบในรายงาน 24 ตัวแปร มีการรายงานตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป มีตัวแปรการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจของผู้ป่วย หรือจากการตีตรา เลือกปฏิบัติ เท่านั้นที่พบร้อยละ 17 ส่วน ‘กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคที่ดำเนินการแล้ว’ และ ‘สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป ข้อเสนอแนะ’ มีอย่างละ 1 ตัวแปร พบใน รายงานทุกฉบับ แต่ส่วน ‘ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค’ มี 1 ตัวแปร พบในรายงานร้อยละ 25 ส่วน ‘สรุปผลการสอบสวนโรค’ ประกอบด้วย 4 ตัวแปร พบการรายงานตั้งแต่ร้อยละ 63 ขึ้นไป มี 1 ฉบับที่แยกส่วนนี้ออกมาอย่างชัดเจน
สรุปและวิจารณ์ผล: แนวทางการเขียนรายงานสอบสวนโรค XDRTB สามารถแบ่งรูปแบบได้ 6 ส่วน ได้แก่ ความเป็นมา ผลการ สอบสวน กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคที่ดำเนินการแล้ว ปัญหาและ ข้อจำกัดในการสอบสวนโรค สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป และสรุปผล การสอบสวนโรค โดยทั้งหมดประกอบด้วยตัวแปร 41 ตัวแปร แนวทางนี้ช่วยให้ทีม JIT สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อการ ค้นหาปัจจัยเสี่ยงและนำไปสู่มาตรการควบคุมและป้องกันด้าน สาธารณสุขที่ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากมีปัจจัยอื่น เพิ่มเติมหรือปัจจัยที่ไม่จำเป็นสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยขึ้นอยู่กับ สถานการณ์และดุลยพินิจของทีม JIT
References
ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์กฎหมาย กรม ควบคุมโรค; 2561.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 2). 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/003_10gcd.PDF
Cates W. Epidemiology: Applying principles to clinical practice. Contemp Ob/Gyn 1982;20:147–61.
Taylor L, Knowelden J. Principles of Epidemiology. 2 ed. Boston: Little Brown & Co; 1964.
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Lesson 1: Introduction to Epidemiology. 2012 [cited 2021 March 5]. Available from: https://www.cdc.gov/csels/dsepd/ss1978/Lesson1/Section1.html#_ref2
European Centre for Disease Prevention and Control, WHO Regional Office for Europe. Tuberculosis surveillance and monitoring in Europe 2021–2019 data. Copenhagen: WHO Regional Office for Europe; 2021.
European Centre for Disease Prevention and Control (ECDC). European Union Standards for Tuberculosis Care 2017 update. Solna, Sweden: ECDC; 2017.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุม วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราช บัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561. 9. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. การเขียนรายงานการ สอบสวนทางระบาดวิทยา. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://wwwnno.moph.go.th/epidnan /mypage/investigate/Investigation_report.pdf
European Centre for Disease Prevention and Control (ECDC). Writing an Outbreak Investigation Report. 2019 [cited 2021 March 5]. Available from: https://wiki.ecdc.europa.eu/fem/Pages/WritinganOutbreakInvestigationReport.aspx
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Investigating and Reporting. 2019 [cited 2021 March 5]. Available from: https://www.cdc.gov/healthywater/surveillance/investigating-reporting.html
Migliori GB, Richardson MD, Lange C. Of blind men and elephants: making sense of extensively drugresistant tuberculosis. Am J Respir Crit Care Med 2008; 178: 1000–1.
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). CDC Tuberculosis Surveillance Data Training Report of Verified Case of Tuberculosis (RVCT) Instruction Manual. 2009 [cited 2021 March 5]. Available from: https://www.cdc.gov/tb/programs/rvct/InstructionMa nual.pdf
An der Heiden M, Hauer B, Fiebig L, Glaser-Paschke G, Stemmler M, Simon C, Rüsch-Gerdes S, Gilsdorf A, Haas W. Contact investigation after a fatal case of extensively drug-resistant tuberculosis (XDR-TB) in an aircraft, Germany, July 2013. Euro Surveill. 2017 Mar 23;22(12):30493. doi: 10.2807/1560-7917.ES.2017. 22.12.30493. PMID: 28367796; PMCID: PMC5388132.
Araújo-Filho J, Vasconcelos-Jr A, Sousa E, Silveira C, Ribeiro E, Kipnis A, et al. Extensively drug-resistant tuberculosis: a case report and literature review. Brazilian Journal of Infectious Diseases. 2008; 12(5): 447–52.
World Health Organization. Guidelines for the programmatic management of drug-resistant tuberculosis. Geneva: World Health Organization; 2006.
Raviglione MC, Smith IM. XDR tuberculosis - implications for global public health. N Engl J Med 2007;356(7):656-9.
Ebrahim GJ. Drug resistance in tuberculosis. J Trop Pediatr. 2007;53:147-9.
Lawn SD, Wilkinson R. Extensively drug resistant tuberculosis. A serious wake-up call for global health. BMJ 2006;333:560-1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ