การสอบสวนการระบาดของโรคสุกใสในสามเณร ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่ง เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เดือนสิงหาคม–ตุลาคม 2562
คำสำคัญ:
โรคสุกใส, สามเณร, โรงเรียนพระปริยัติธรรม, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 กองระบาดวิทยาได้รับ แจ้งการระบาดของโรคสุกใสในสามเณรที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่ง เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคดำเนินการสอบสวน เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการ ระบาดของโรค ศึกษาขนาดและการกระจายของโรค หาปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรค และให้คำแนะนำสำหรับการ ควบคุมโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์ผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียน และค้นหา ผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยาม ‘ผู้ป่วยสงสัย’ คือ สามเณร หรือพระภิกษุที่จำวัดอยู่ภายในวัดที่มีผื่นหลายระยะกระจายทั่วร่างกาย ในระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน–12 พฤศจิกายน 2562 ‘ผู้ป่วยยืนยัน’ คือ ผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การ ตรวจ Tzanck smear หรือการตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัส Varicella zoster ชนิด IgM การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ใช้รูปแบบการศึกษา retrospective cohort study และการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมโดยการสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงและเดินสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในวัด
ผลการสอบสวน: พบผู้ป่วยทั้งหมด 41 ราย (อัตราป่วยร้อยละ 9.6) ค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 13 ปี (พิสัยควอไทล์ 13–14 ปี) ส่วน ใหญ่มีผื่นตุ่มน้ำใสกระจายทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณแขนและ ลำตัว มีประวัติป่วยเป็นโรคสุกใสมาก่อนร้อยละ 26.8 ผู้ป่วย ทั้งหมดไม่มีประวัติได้รับวัคซีนโรคสุกใส กลุ่มที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด คือ สามเณรชั้นเปรียญธรรม 1–2 และจำวัดรวมกันที่อาคาร 6ก. ผลการตรวจ Tzanck smear พบ multinucleated giant cell ร้อยละ 12.5 และการตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัส Varicella zoster ชนิด IgM ให้ผลบวกร้อยละ 100 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการระบาด ของโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ประวัติเคยป่วยเป็นโรคสุกใสมาก่อน (Adjusted OR 0.32, 95% CI 0.12–0.90) และการซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า (Adjusted OR 0.35, 95% CI 0.13–0.91)ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สถานที่จำวัดที่มีเตียงนอน แออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
สรุปและวิจารณ์ผล: เหตุการณ์นี้ยืนยันการระบาดของโรคสุกใส ซึ่งเกิดการระบาดในสามเณรที่เรียนและจำวัดในห้องเดียวกัน ที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ดังนั้นการควบคุมโรคควรเน้นการคัดกรองและการแยกกักผู้ที่มีอาการป่วย และควรมีข้อกำหนดในการได้รับวัคซีนป้องกันโรคสุกใสก่อนเข้าเรียนในปีการศึกษาถัดไป
References
Heininger U, Seward JF. Varicella. The Lancet. 2006;368(9544):1365–76.
Yubolket V and Doung-ngern P. Chikenpox. In: Premsri N, et al. Annual Epidemiological Surveillance Report 2017. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology; 2017. p. 100–3.
Division of Viral Diseases. Chickenpox (Varicella): For Healthcare Prefessionals [internet]. 2018 [cited 2019 Nov 14]. Available from: https://www.cdc.gov/chicken pox/hcp/index.html
Division of Viral Diseases. Interpreting Lab Testing [internet]. 2018 [cited 2019 Nov 14]. Available from: https://www.cdc.gov/chickenpox/lab-testing/lab-tests.html
Albrecht MA, Diagnosis of varicella zoster virus infection [internet]. 2019 [cited 2019 Sep 18]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/diagnosis-of-varicella-zoster-virus-infection
Sauerbrei A, Wutzler P. Laboratory diagnosis of varicella-zoster virus infections [internet]. 2008 [cited 2019 Sep 18]. Available from: https://www.semanticscholar.org/paper/The-Diagnostic-Specialist-Laboratory-diagnosis-of-Sauerbrei-Wutzler/fca56785ad8ceacb4b25ea6e81c09c13fad9156d
National Center for Immunization and Respiratory Diseases. About the Varicella Vaccination [internet]. 2019 [cited 2019 Nov 21]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/varicella/hcp/about-vacc ine.html
Albrecht MA. Epidemiology of varicella-zoster virus infection: Chickenpox [internet]. 2019 [cited 2019 Nov 14]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/epidemiology-of-varicella-zoster-virusinfection-chickenpox
Johnson JA, Bloch KC, Dang BN. Varicella reinfection in a seropositive physician following occupational exposure to localized zoster. Clin Infect Dis. 2011;52(7):907–9. doi:10.1093/cid/cir033
Dyer J, Greenfield M. Recurrent varicella in an immunocompetent woman. Cutis [internet]. 2016 Jan [cited 2019 Nov 21];97(1):65-9. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26919358
Lolekha S, Tanthiphabha W, Sornchai P, Kosuwan P, Sutra S, Warachit B, et al. Effect of climatic factors and population density on varicella zoster virus epidemiology within a tropical country. Am J Trop Med Hyg. 2001;64(3–4):131–6.
Public Health Agency of Canada. Pathogen Safety Data Sheets: Infectious Substances-Varicella-zoster virus. 2012 [cited 2019 Nov 14]. Available from: https://www.canada.ca/en/publichealth/services/laboratory-biosafetybiosecurity/pathogen-safety-data-sheets-riskassessment/varicella-zoster-virus.html
Chen L, Li QF, Tangkanakul W, Lu L, Liu XQ, Siriarayaporn P, O' Reilly M. Hand washing as a preventive factor in a chickenpox outbreak in a rural school, Yunnan Province, China. OSIR. 2012 Jun;5(1):7–13.
Chokephaibulkit, Kulkanya, et al. Vaccine and Immunization. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University Press. 2013. p. 165–70.
National Center for Immunization and Respiratory Diseases. Monitoring the impact of Varicella Vaccination [internet]. 2018 [cited 2019 Nov 21]. Available from: https://www.cdc.gov/chickenpox/surveillance/monitoring-varicella.html
Thai Travel Clinic. Available vaccines in our clinic and Price list. 2019 [cited 2019 Nov 14]. Available from: https://www.thaitravelclinic.com/cost.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ