การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ จังหวัดนราธิวาส ปี พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคไข้หวัดใหญ่, จังหวัดนราธิวาสบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ปี พ.ศ. 2562 จังหวัดนราธิวาสพบอัตราป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สูงเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ตอนล่าง อีกทั้งพบการระบาดทุกปีต่อเนื่องมา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายขั้นตอนการรายงานโรคไข้หวัดใหญ่ ทราบคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบภาคตัดขวางช่วงวันที่ 1 มกราคม–31 ธันวาคม 2562 ในโรงพยาบาล 3 แห่งของจังหวัดนราธิวาส ศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณโดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่และโรคข้างเคียงที่กำหนด โดยใช้นิยามโรคของกองระบาดวิทยา ศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพและขั้นตอนการรายงานโรคโดยสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับระบบเฝ้าระวังฯ
ผลการศึกษา: จากการทบทวน 25,417 เวชระเบียน เข้าตามนิยาม 952 ราย ได้รับรายงาน 139 ราย ค่าความไว 14.60% จาก รง.506 จำนวน 806 ราย เข้าตามนิยาม 139 ราย ค่าพยากรณ์บวก 17.25% ทุกตัวแปรบันทึกครบถ้วน 100% ตัวแปร ‘ชื่อ–สกุล’ ‘สัญชาติ’ และ ‘ที่อยู่’ บันทึกถูกต้อง 100% ส่วน ‘วันเริ่มป่วย’ ถูกต้อง 10.9% การรายงานโรคทันเวลาภายใน 3 วัน 94.5% ตัวแปร ‘เพศ’ ‘เดือนเริ่มป่วย’ และ ‘ตำบล’ สามารถเป็นตัวแทนระบบได้ คุณลักษณะเชิงคุณภาพพบระบบเฝ้าระวังฯมีความง่าย ยืดหยุ่น และมีการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังฯเพื่อวางแผนการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่
ข้อเสนอแนะ: เจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาชี้แจงนิยามเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ แจ้งสถานการณ์โรคให้เครือข่ายสาธารณสุขทุกระดับทราบ และสุ่มตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจด้านมาตรการควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกับโรงพยาบาลออกแบบระบบแจ้งเตือน/ตรวจสอบข้อมูลก่อนการรายงานโรค
References
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุป รายงานการเฝ้าระวังโรค ปี 2561. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://apps.doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_Annual_Mix6212_14_r1.pdf
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุป รายงานการเฝ้าระวังโรค ปี 2552 (AESR 2009). [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/ Annual/Annual2552/Main.html
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546.
นภัทร วัชราภรณ์, เตือนใจ นุชเทียน, วนิดา ดิษวิเศษ, ภัทรภา แก้วประสิทธิ์, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร. การศึกษาระบบเฝ้าระวัง โรคไข้หวัดใหญ่และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการรับมือ โรคติดต่ออุบัติใหม่ทางเดินหายใจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26: 63–72.
สุพล เจริญวิกกัย, รุจกัลยา ขาวเชาะ. การประเมินระบบเฝ้า ระวังของโรคมือเท้าปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรที่มี อาการ รุนแรง อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีพ.ศ. 2554–2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2561; 49: 369–76.
อารีย์ ตาหมาด, หทัยทิพย์จุทอง, ณัฐพร ทองงาม, อมรรัตน์ ชอบกตัญญู, พัทนันท์ สุพรรณ์, ฟิตรียะห์ สาและ. การประเมิน ระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิส จังหวัดตรัง 1 มกราคม–30 กันยายน 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์. 2562; 50: 565–72.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ