การประเมินผลการควบคุมการระบาดของโรคอีสุกอีใสในบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2557
คำสำคัญ:
การระบาดโรคอีสุกอีใส, บุคลากรทางการแพทย์, การฉีดวัคซีน, อุตรดิตถ์บทคัดย่อ
ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2556 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์มีบุคลากรและผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคอีสุกอีใส 14 ราย การศึกษานี้ได้ทบทวนปัญหาการระบาดโรคอีสุกอีใสในบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ สังเกตการณ์อุบัติการณ์ในกลุ่มบุคลากรที่ติด เชื้อโรคอีสุกอีใสก่อน-หลังการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส varicella ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสและเคยฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส varicella มาก่อนที่จะได้รับการฉีดวัคซีนช่วงเดือน สิงหาคม – กันยายน 2556 รวมทั้งได้ติดตามการระบาดโรคอีสุกอีใสในโรงพยาบาลจนครบ 1 ปี โดยใช้วิธีสถิติเชิงพรรณนาเป็นจํานวนร้อยละ ผลการติดตามการระบาดโรคอีสุกอีใสในบุคลากร ทางการแพทย์หลังรณรงค์การฉีดวัคซีนอีสุกอีใสตลอด 1 ปี พบว่าไม่มีการรายงานโรคอีสุกอีใสในบุคลากรในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์อีก การ รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส varicella แม้ว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการป้องกันโรคในบุคลากรทางการแพทย์นั้น แต่ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มทุนมากกวาาค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาในสถานการณ์เร่งด่วนเมื่อเกิดการระบาดไปแล้ว แต่ทั้งนี้ควรปฏิบัติควบคู่กับมาตรการมาตรฐานอื่นในการป้องการแพร่กระจายของโรคร่วมไปด้วย ในอนาคตควรมีการตรวจภูมิคุ้มกันในบุคลากรที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ นิสิตแพทย์ก่อนขึ้นชั้นคลินิกที่จะต้องปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ไม่แน่ใจในประวัติว่าเคยเป็นโรคอีสุกอีใสและไม่เคยฉีดวัคซีนเพราะจะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่า หากพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมและควรมีช่องทางที่ให้ผู้บุคลากรที่มีความเสี่ยงมารับวัคซีนได้สะดวก จะเป็นการป้องกันการป่วยของบุคลากรแล้ว ยังเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อจากบุคลากรไปยังผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลซึ่งเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอยู่แล้ว
References
CDC. Varicella (Chickenpox) and Herpes Zoster (Shingles): Overview of VZV Disease and Vaccination for Healthcare Professionals. August 2013 [cited 2015 January 1 0 ] . Available from: http://www.cdc.gov/vaccines/vpd-vac/shingles/downloads/VZV_clinical_ slideset_Jul2010.pdf
CDC. Varicella: Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases May 2012 [cited 2015 January 10 ] Available from: http://www.cdc.gov/vaccines/pubs/pinkbook/downloads/varicella.pdf
CDC. Recommendations of the Immunization Practices Advisory Committee (ACIP) Varicella-Zoster Immune Globulin for the Prevention of Chickenpox. MMWR 1984;33(7):84-90,95-100 [cited 2015 January 10]. Available from: http://www.cdc.gov/mmwr/pre view/mmwrhtml/00022690.htm
รายงานระบาดวิทยาของคณะสอบสวนโรคโรงพยาบาล อุตรดิตถ์ ผู้ป่วยโรคสุกใสจากรายงาน 506 ปี 2551-2555. ทีม เฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ฝ่ายเวชกรรมสังคม โรงพยาบาล อุตรดิตถ์.
CDC. Prevention of Varicella Recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMWR 2007 [cited 2015 January 10]; 56/No. RR- 4. Available from: http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr5604a1.htm
รายงานบุคลากรติดเชื้อสุกใสในโรงพยาบาล ปี 2556. หน่วย ควบคุมโรคติดเชื้อโรงพยาบาลอุตรดิตถ์.
Sood S. Occupationally related outbreak of chickenpox in hospital staff: a learning experience. J Clin Diagn Res Oct;7(10):2294-5.
CDC. MMRV vaccine what you need to know. [cited 2014 October 10]. Available from: http://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/mmrv.pdf
ประเสริฐ ทองเจริญ. ระบาดบันลือโลก: โรคสุกใสและงูสวัด. พฤศจิกายน 2553; 78-142 [เข้าถึงวันที่ 10 มกราคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.ift2004.org/showimgpic.php?id=399
Julia Bloomfield. Chickenpox and shingles policy. 2014 [cited 10 January 2015]. Available from: http://www.nelft.nhs.uk/_documentbank/Chiken_pox_and_shinges_IC026.pdf
CDC. Guideline for infection control in health care personnel. 1998 [cited 10 January 2015]. Available from: http://www.cdc.gov/hicpac/pdf/InfectControl98.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ