การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี และไข้เลือดออกเดงกี จังหวัดพิษณุโลก ปี 2556

ผู้แต่ง

  • มนัสวินีร์ ภูมิวัฒน์ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค
  • อัจฉราวรรณ ช้างพินิจ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, ไข้เลือดออก, พิษณุโลก

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญระดับประเทศและในพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 2 ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ต่อเนื่องทุกปี ในปี 2556 ได้รับรายงานไข้เลือดออกในจังหวัดพิษณุโลกทั้งหมด จํานวน 1,247 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 150.13 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 3 ราย อัตราตาย ต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 0.36 อําเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด เท่ากับ 289.88 และอําเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนต่ำสุดเท่ากับ 52.3 วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในจังหวัดพิษณุโลก และเพื่อหาโอกาสในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพิษณุโลก ทําการศึกษาภาคตัดขวาง โดยเลือกพื้นที่ที่ทําการศึกษาเป็นอําเภอที่พบรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงที่สุดและต่ำที่สุด ในปี 2556 ทบทวนเวชระเบียนและประวัติของผู้ป่วยทุกราย ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ได้รับการตรวจรักษาจากโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่ง ในเดือนมีนาคม กรกฎาคม และพฤศจิกายน ปี 2556 และมีการวินิจฉัยโรคตามรหัส ICD-10 ผลการศึกษา จากจํานวนผู้ป่วยที่ถูกรายงานในระบบรายงาน 506 และประเมินเป็นผู้ป่วยที่เข้าตามนิยามการเฝ้าระวังโรค โรงพยาบาลชุมชนที่มีการรายงานผู้ป่วยสูงที่สุด คิดเป็นค่าความไวได้ร้อยละ 29.57 และค่าพยากรณ์ผลบวกร้อยละ 66.64 มีความถูกต้องในข้อมูลที่สําคัญเป็นร้อยละ 100, ความเป็นตัวแทน พบว่า สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1: 1.5 และ 1: 1.3, ความทันเวลาในการควบคุมโรค คิดเป็นร้อยละ 100 ในส่วนของ โรงพยาบาลชุมชนที่มีการรายงานผู้ป่วยต่ำที่สุด คิดเป็นค่าความไวร้อยละ 8.33 คิดเป็นค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 12.5 มีความถูกต้องใน ข้อมูลที่สําคัญร้อยละ 100 ความเป็นตัวแทนสัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1: 1.7 และ 1: 1.4, ความทันเวลาในการควบคุมโรค คิดเป็นร้อยละ 100 โรงพยาบาลที่มีการรายงานสูงที่สุดพบว่ายังมีความไวค่อนข้างต่ำ แต่ยังมี ความไวที่สูงกว่าโรงพยาบาลที่มีการรายงานผู้ป่วยต่ำที่สุด ซึ่งมีความไวต่ำมากแสดงให้เห็นว่าอาจมีรายงานโรคน้อยกว่าความเป็นจริงโดยเฉพาะอย่งยิ่งในโรงพยาบาลที่มีการรายงานต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์กับค่าพยากรณ์บวกของระบบเฝ้าระวัง พบว่าโรงพยาบาลที่มีการรายงานผู้ป่วยสูงที่สุดมีค่าที่สูงระดับปานกลางแต่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลที่มีการรายงานผู้ป่วยต่ำที่สุด มีค่าพยากรณ์บวกของระบบเฝ้าระวังต่ำมาก ต่างจากโดยทั่วไปที่พบว่าความไวและค่าพยากรณ์บวกของระบบเฝ้าระวังมักมีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกัน พบความถูกต้องของข้อมูลในระดับที่ดีมากในโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง ความเป็นตัวแทน คือ อัตราส่วนเพศชายต่อหญิง พบความแตกต่างพอสมควรในโรงพยาบาลที่มีการรายงานผู้ป่วยต่ำที่สุด อาจทําให้ผลการวิเคราะห์ในการนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์มีความคลาดเคลื่อน ส่วนความทันเวลาในการรายงานโรคอยู่ในเกณฑ์ดีมากในโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง
เปรียบเทียบระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในอําเภอที่มีการรายงานผู้ป่วยสูงที่สุดและต่ำที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก ทั้งสอง โรงพยาบาลมีความคล้ายคลึงกันในส่วนของความยืดหยุ่น ความยั่งยืน การยอมรับและการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง คือ มีบุคลากรในสายงานเดียวกันที่สามารถทํางานในระบบเฝ้าระวังแทนกันได้ มีมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน จึงทําให้ระบบเฝ้าระวังมีความยั่งยืน ระบบเฝ้าระวังมีประโยชน์ที่การรายงานและส่งข้อมูลทําให้ทราบสถานการณ์ของโรคและควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว ส่วนความ ยากง่ายของระบบเฝ้าระวังมีความแตกต่างกันในสองโรงพยาบาล คือ ในโรงพยาบาลที่มีการรายงานผู้ป่วยสูงที่สุดเป็นอําเภอใหญที่มี พื้นที่ในความรับผิดชอบมากกว่าทําให้การรายงานและควบคุมโรคล่าช้า และพบปัญหามากกว่า

References

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ์; 2546.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับปรับปรุง แก้ไข ครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ดอกเบี้ย; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

ภูมิวัฒน์ ม., & ช้างพินิจ อ. (2024). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี และไข้เลือดออกเดงกี จังหวัดพิษณุโลก ปี 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(S1), S15-S22. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1827

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ