การสอบสวนวัณโรคปอดในบุคลากรโรงพยาบาลแม่จัน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2557

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ ประจักษ์ทรัพย์ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย
  • เพ็ญศรี วงษ์พุฒ งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ไอเรื้อรัง, บุคลากรทางการแพทย์, อำเภอแม่จัน, จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

วันที่ 17 กรกฎาคม 2557 งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลแม่จัน ได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะเสมหะบวก Acid Fast Bacili (AFB) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว โรงพยาบาลแม่จันจึงลงสอบสวนและควบคุมโรค ในทันทีและดำเนินการสอบสวนโรคตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2557 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด ระบุขนาดปัญหา ให้การรักษาผู้ป่วยและผู้สัมผัสใกล้ชิดป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทั้งทางด้านบุคคลและทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อการเกิดโรค ทำการศึกษาโดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลแม่จัน ค้นหาผู้สัมผัสในครอบครัวและที่ทำงาน ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่โดยใช้นิยามผู้ป่วยที่สงสัย คือเจ้าหน้าที่มีอาการหลัก อย่างน้อย 1 อาการคือไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์หรือไอออก เลือด หรืออาการรอง อย่างน้อย 2 อาการ คือ 1 มีไข้ต่ำๆ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ 2) เหงื่อออกตอนกลางคืนประจำ 3) น้ำหนักลดลง มากกว่า ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน หรือ ร้อยละ 10 ใน 3 เดือน 4) เบื่ออาหาร 5) เหนื่อย อ่อนเพลีย 6) หายใจขัด 7) เจ็บแน่นหน้าอก ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาค - 17 ตุลาคม 2557 และผู้ป่วยยืนยันวัณโรคปอด คือ เจ้าหน้าที่ที่มีอาการทางคลินิกและผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการพบเสมหะบวก AFB หรือมีผลรังสีทรวงอกเข้าได้กับวัณโรคปอด ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2557 และ สำรวจสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล สภาพแวดล้อมห้องทำงาน บ้านพักอาศัยของผู้ป่วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรค ผลการ สอบสวนโรค โรงพยาบาลแม่จันมีบุคลากร 420 คน มีผู้ป่วยที่เป็นบุคลากรของโรงพยาบาลเข้านิยามวัณโรคปอด 7 ราย (1 ราย ยืนยัน และ 6 ราย สงสัย) คิดเป็นอัตราป่วย 1.67% (7/420) เป็นเพศหญิง 5 ราย เพศชาย 2 ราย อยู่แผนกผู้ป่วยนอก 2 ราย นอกนั้นอยู่คนละ แผนก (ยานพาหนะ เอกซเรย์ ตึกชาย เภสัชกรรม งานเรียกเก็บ) มีอาการไอมากกว่า 2 สัปดาห์ (100%) เหนื่อยง่าย (86%) หายใจขัด (71%) อ่อนเพลีย (57%) เหงื่อออกกลางคืน (29%) น้ำหนักลด (29%) เจ็บหน้าอก (29%) ไข้มากกว่า 2 สัปดาห์ (14%) เบื่ออาหาร (14%) แต่ไม่พบอาการไอมีเลือดปน (0% โดย 1 รายที่เป็นผู้ป่วยยืนยัน คือ ผู้ป่วยที่ได้รับรายงานรายแรก (index case) มีผลรังสี ทรวงอก พบแผ่นฝ้าขาวในปอดด้านขวาบน ผลตรวจเสมหะพบ AFB 1+ ให้การรักษาแบบสูตร 2 (CAT 2 : 2SHRZE/HRZE/5HRE) เคยเป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลือง อีก 6 ราย เป็นผู้ป่วยสงสัย และ 4 รายที่เข้านิยามผู้สัมผัสในที่บ้านและที่ทำงาน ผลรังสีทรวงอกปกติ ทุกราย เก็บเสมหะตรวจ AFB เป็นเวลา 3 วันไม่พบเชื้อทุกราย ผลสำรวจสิ่งแวดล้อม บ้านผู้ป่วย มีลักษณะโล่ง สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี มีห้องปรับอากาศที่มีอากาศถ่ายเทดี ห้องทำงนของผู้ป่วย มีสภาพเป็นห้องปิดมีเครื่องปรับอากาศ ติดตามเฝ้าระวังการเกิดโรค 3 เดือน สรุปและวิจารณ์ พบผู้ป่วยยืนยันวัณโรคปอดเสมหะบวก 1 คน (index case) ไม่ทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากแหล่งใด มีผู้สัมผัสใกล้ชิดในบ้าน 1 คนและผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ทำงาน 3 คน ผลตรวจปกติ ไม่พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มเติมแต่อย่างไร การทำงานของผู้ป่วยต้องพบผู้ป่วย วัณ โรค และทำงานในห้องปรับอากาศ ไม่มีพัดลมดูดอากาศ ทำให้ถ่ายเทอากาศไม่ดี หากผู้ป่วยวัณโรคไอในห้องทำงานผู้ป่วยอาจเป็นปัจจัยต่อการติดเชื้อได้ การป้องกันควบคุมโรคในบุคลากรโรงพยาบาล ควรเพิ่มความระหนัก การป้องกันตัวเอง และการปรับสิ่งแวดล้อมให้ เหมาะสม นอกจากนี้ควรมีการประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนกลับมาทำงนโดยให้คำปรึกษาผู้ป่วยและเพื่อนร่วมงาน ป้องกันการปฏิเสธ การตีตรา การแบ่งแยกกีดกันผู้ป่วย

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรกราฟฟิค แอนดีไซด์; 2552.

พิรังกูร เกิดพาณิช, เพณณินาท์ โอเบอร์ดดอร์เฟอร์, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการวินิจฉัยและการ รักษาวัณโรคระยะแฝงในเด็ก พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2553.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออบรม แนวทางมาตรฐานการดำเนินงานควบคุมวัณโรคปอดสำหรับ คลินิกวัณโรค. (เข้าถึงวันที่19 กรกฎาคม 2557] เข้าถึงได้จาก http://www.pharmyaring.com/download/TrainingMod ule2009_pdf.pdf

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน, สำนักงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คู่มืออบรม การบริหารจัดการงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานพยาบาล เพื่อการรับรองคุณภาพ (SHE-HA) รุ่นที่ 11. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2557.

Jereb J, Etkind SC, Joglar OT, Moore M, Taylor Z. Tuberculosis contact investigation: outcome in selected areas of the United States, 1999. Int J Tuberc Lung Dis 2003;7:5384-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-16

How to Cite

ประจักษ์ทรัพย์ ณ., & วงษ์พุฒ เ. (2024). การสอบสวนวัณโรคปอดในบุคลากรโรงพยาบาลแม่จัน อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 17 ตุลาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(S1), S23-S29. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1828

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ