การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากไวรัสโนโรในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วันที่ 17 - 27 มิถุนายน 2557
คำสำคัญ:
การสอบสวนโรค, อาหารเป็นพิษ, ไวรัสโนโร, โรงเรียนประถม, ราชบุรีบทคัดย่อ
การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษเกิดในเด็กนักเรียนของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ระหว่างวันที่ 17 - 27 มิถุนายน 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ หาสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดของโรค และเพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา พบมีผู้ป่วยที่เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รวม 53 ราย อัตราป่วยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับร้อยละ 13.09 โดยพบผู้ป่วยมากในสองชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นประถมศึกษา 5/1 และ 5/5 ห้องละ 23 ราย รวม 46 ราย (ร้อยละ 86.79) ส่วนชั้นเรียนอื่น ๆ ในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 พบได้ประปรายชั้นละ 1 - 3 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการทาง คลินิกดังนี้ ปวดท้องร้อยละ 88.7 ถ่ายเหลว ร้อยละ 60.4 คลื่นไส้ ร้อยละ 35.9 และถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ร้อยละ 22.6 จากเส้นโค้งการ ระบาดพบเป็นลักษณะแหล่งโรคร่วมชนิดจุดเดียว (Point common source) ระยะเวลาเริ่มป่วยระหว่างผู้ป่วยรายแรก และรายสุดท้าย ห่างกันประมาณ 10 ชั่วโมง จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเก็บอุจจาระสดจากผู้ป่วย เพื่อหาเชื้อไวรัสโนโรและโรทา พบสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโนโรจากตัวอย่างอุจจาระสด 5 ใน 11 ราย (ร้อยละ 45.45) และผลการตรวจอุจจาระโดยวิธีป้ายทวารหนัก (rectal swab) ในผู้ป่วย 11 ราย ไม่พบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารทุกราย ระยะฟักตัวจากเส้นโค้งการระบาดเข้าได้กับระยะฟักตัวของไวรัสโนโร จากการสัมภาษณ์ไม่พบว่าเด็กนักเรียนที่ป่วย รับประทานอาหารชนิดใด ๆ ร่วมกัน และรับประทานอาหารที่ไม่ต่างจากเด็กที่ไม่ ป่วย จึงสงสัยการระบาดของเชื้อไวรัสโนโรผ่านทางถุงนมเนื่องจากจะมีตัวแทนเด็กมารับนมไปแจกจ่ายเพื่อน ๆ ในห้องเดียวกัน ร่วมกับเด็ก มีพฤติกรรมกัดถุงนมแล้วดื่มผ่านถุง หรืออาจไปได้ว่าเหตุการณ์นี้มีการระบาดผ่านทางน้ำแข็งที่แช่นมเพราะใช้ถังเก็บนมเดียวกัน หลังจาก เฝ้าระวังไปอีก 4 วัน ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่
References
คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, ชุลีพร จิระพงษา, บรรณาธิการ. พื้นฐานระบาดวิทยา, นนทบุรี: สมาคมนักระบาดวิทยาภาคสนาม; 2557.
ไพบูลย์ โล่สุนทร. ระบาดวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2546.
Fontainae O. Acute viral gastroenteritis. In: Heymann DL, editor. Control of communicable diseases manual 19thed. Baltimore: American Public Health Association; 2008.p.253-8.
Umesh D Parashar, Roger I Glass. Viral gastroenteritis. In: Dan L Longo, Anthony S Fauci, Dennis L Kasper, Stephen L Hauser, J Larry Jameson, Joseph Loscaizo, editors. Harrison's principles of internal medicine. Vol 1. 18th ed. New York: McGraw-Hill; 2012. p. 1588-93.
อภิรดี เทียมบุญเลิศ, ทวีศักดิ์เชี่ยวชาญศิลป์, ยง ภู่วรวรรณ. ท้องเสียจากไวรัส [อินเทอร์เน็ต]. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555; 51: 84-92 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/fileupload/files/3%20อ_อภิรดี.pdf
เดชา สุคนธ์.การสอบสวนอาหารเป็นพิษ จากเชื้อโนโรไวรัส. ร้ายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำเดือนมกราคม. [อินเทอร์เน็ต] สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://dpc2.ddc.moph.go.th/infopublic/data/8/pic/60-4.pdf
ไทยรัฐออนไลน์. กรุงเทพคริสเตียน 'วางระบบน้ำใหม่' หลังพบ เด็ก-ครู ท้องเสีย. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.co.th/content/428881
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ