การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina จากเชื้อไวรัส Coxsackies A16 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2557
คำสำคัญ:
โรคมือเท้าปาก, Herpangina, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, Coxsackies A16, ลำปางบทคัดย่อ
การสอบสวนการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางในครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ยืนยันการระบาด ทราบลักษณะการเกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมือ เท้า ปาก และดำเนินการควบคุมโรค โดยศึกษาระบาดเชิงพรรณนาและระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ผลการสอบสวนพบผู้ป่วย 13 ราย โดยมี อาการทางคลินิกที่พบบ่อยได้แก่ แผลในปากและคอหอยทุกราย รองลงมาพบ มีน้ำมูก และ ไอ ร้อยละ 61 ไข้ และ เจ็บคอ ร้อยละ 46% พบตุ่มหรือผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าร้อยละ 8 ตามลำดับ
ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของไวรัสคอกซากี เอ 16 จำนวน 9 ราย จาก 11 ราย อัตราส่วนเพศชาย ต่อเพศหญิง 1 : 1.6 อายุต่ำสุด 2 ปี 2 เดือน สูงสุด 3 ปี 8 เดือน อายุเฉลี่ย 2 ปี 8 เดือน ผู้ป่วยทุกรายอาศัยอยู่ในตำบลวอแก้ว กระจาย ไปในทุกหมู่บ้านทั้ง 7 หมู่บ้าน ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้แก่การนอนติดกับผู้ป่วย (RR =3.59, p value = 0.04) ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคอำเภอ ห้างฉัตร ได้ขอความร่วมมือองค์การบริหารส่วนตำบลวอแก้วในการปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวอแก้ว เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ ดำเนินการทำความสะอาดอาคาร สถานที่ เครื่องนอน วัสดุอุปกรณ์ของเล่น ของใช้เพื่อทำลายเชื้อโดยน้ำยาคลอรีน โดยคณะครูพี่เลี้ยง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและทีมควบคุมโรค ภายหลังจากการควบคุมโรคไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม
References
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงาน ทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2542.
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสอบสวน โรคมือ เท้า ปาก (Hand Food and Mouth Disease). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เฮงก๊อปปี้, 2551.
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานการ เฝ้าระวังและการสอบสวนโรคติดต่อที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ, 2546.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ