ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล จังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2556
คำสำคัญ:
การดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์, SRRT เครือข่ายระดับตำบล, แพร่บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล จังหวัดแพร่ ทำการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 119 แห่ง แห่งละ 1 คน และแกนหลักของทีม SRRT ระดับอำเภอ 8 อำเภอ อำเภอละ 2 คน และเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยาประจำจังหวัด 1 คน ปี พ.ศ. 2556 มีการตรวจสอบข่าวและตอบสนองต่อเหตุการณ์เพื่อควบคุมโรคหรือ จัดการปัญหได้เหมาะสมอย่างน้อย 1 เหตุการณ์ จำนวน 56 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 47.01 มีเหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งทั้งสิ้น 331 เหตุการณ์ เป็นเหตุการณ์ที่เข้าได้กับนิยาม "ความสำเร็จของการเฝ้าระวัง เหตุการณ์" จำนวน 220 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 66.46 ปัจจัยที่ มีผลต่อความสำเร็จของการเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ คือ การผ่านการอบรมหลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังเหตุการณ์ และการอ่านคู่มือการเฝ้าระวังเหตุการณ์ มีความสัมพันธ์การดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่สำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value = 0.006 และ 0.009) ด้านการปฏิบัติ คือ การรับแจ้งข่าวจากเครือข่ายในชุมชนที่ไม่ใช่ บุคลากรทางการแพทย์และการใช้ทะเบียนรับแจ้งบันทึก รายละเอียดของการดำเนินงาน มีส่วนช่วยให้การดำเนินงานสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (P value = 0.002 และ 0.004) ด้านการรับสนับสนุนงบประมาณพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ (P value - 0.87) และด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มที่ดำเนินงานเฝ้า ระวังเหตุการณ์ได้สำเร็จ และกลุ่มที่ดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ได้ ไม่สำเร็จ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (P value = 0.74) อำเภอที่มี อัตราความสำเร็จการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบลเกินกว่าร้อยละ 80 คือ อำเภอหนองม่วงไข่ และสูงเม่น ส่วนอำเภอที่เหลือ 6 อำเภอ พบอัตราความสำเร็จฯ อยู่ระหว่างร้อยละ 35.3 - 50.0 ข้อแตกต่างที่พบ คือ อำเภอที่มีอัตราความสำเร็จของการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบลเกินกว่าร้อยละ 80 มีการนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานการเฝ้าระวังเหตุการณ์ แจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการ ประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอเป็นประจำทุกเดือน นอกจากนั้น อำเภอสูงเม่นมีการนิเทศติดตามเฉพาะกิจ และคืนข้อมูลกลับผ่าน E-office, Facebook , Line อย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาจังหวัดช่วยสนับสนุนกระตุ้น ระบบการแจ้งข่าวและตอบสนองต่อเหตุการณ์ โดยการจัดหาคู่มือ เครื่องมือบันทึกเหตุการณ์ รางวัลต่าง ๆ มีการนำเสนอข้อมูลจาก ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ในที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน สาธารณสุขระดับจังหวัด และสุ่มนิเทศงานระดับตำบล ผู้บริหารระดับจังหวัดและอำเภอควรให้การสนับสนุนทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบลอย่างต่อเนื่อง
References
นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, จันทพร ทานนท์, สุภาวิณี แสงเรือน. ถอดบทเรียนรู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมเร็ว การเฝ้าระวังเหตุการณ์ โดยทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.
ปรีชา เปรมปรี และคณะ, บรรณาธิการ. แผนพัฒนางานด้าน กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005) ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่าน ศึกในพระบรมราชปถัมภ์; 2551.
เกษม ตั้งเกษมสำราญ, ไพศาล ภู่สามสาย. การประเมินระบบ เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก 2552. รายงานการเฝ้าระวังประจำสัปดาห์ 2553; 41: S26-8.
กรรณิกา สุวรรณา. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2552. รายงานการเฝ้าระวัง ประจำสัปดาห์ 2554; 42: 36-40.
สิทธิ์ ภคไพบูลย์, ชบา ไชยเชษฐ์. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2552. ร้ายงานการเฝ้าระวังประจำสัปดาห์ 2554;42: S49-52.
บุญมี โพธิ์สนาม, สุภาภรณ์ มิตรภานนท์. การประเมินระบบเฝ้า ระวังโรคไข้เลือดออก จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2553. รายงาน การเฝ้าระวังประจำสัปดาห์ 2554; 42: S20-4.
นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์ และคณะ, บรรณาธิการ. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555. กรุงเทพมหานคร: องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ