ระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกและภาชนะสำคัญที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ ในอำเภอเดชอุดมและเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2556

ผู้แต่ง

  • ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ชัยนันต์ บุตรกาล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
  • ภันทิลา ทวีวิกยการ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • สุรเชษฐ์ อรุโณทอง โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • เจษฎา ธนกิจเจริญกุล โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • เบญจรงค์ สังขรักษ์ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ไพศิลป์ เล็กเจริญ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • สามารถ อ่อนสองชั้น โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ไพลิน ภู่พัฒน์ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนิษฐา เตชะนิยม โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • รพีพรรณ เดชพิชัย โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ปณิธี ธัมมวิจยะ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ไข้เดงกี, ไข้เลือดออก, การควบคุมยุงพาหะโรคกลุ่มไข้เลือดออก ประเทศไทย

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่มีความสำคัญของไทย ในปี พ.ศ. 2556 มีการระบาดใหญ่ทั่วประเทศ อัตราป่วย 239.5 ต่อประชากรแสนคน ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 สำนักระบาดวิทยาวิทยาได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยโรคกลุ่มไข้เลือดออก 4 กลุ่ม 103 ราย ในจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 20 เมษายน - 7 กรกฎาคม 2556 จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคร่วมกับทีมในพื้นที่ โดยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของผู้ป่วยในภาพรวม จังหวัดและพื้นที่อำเภอเขื่องในและเดชอุดมมีการระบาดสูงในเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 2556 ศึกษาชนิดของภาชนะที่เป็นแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงพาหะสำคัญ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาและการสำรวจโดยทบทวนข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคกลุ่มไข้เลือดออกระดับ จังหวัดของอุบลราชธานี และเวชระเบียนผู้ป่วยโรคกลุ่มไข้เลือดออก (ICD-10 รหัส A90-91) โรงพยาบาลเดชอุดมและโรงพยาบาลเขื่อง ในช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2556 เก็บตัวอย่างซีรั่มจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 16 - 27 กรกฎาคม 2556 เพื่อตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเดงกี สำรวจภาชนะซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงพาหะใน 7 หมู่บ้านจากสองอำเภอดังกล่าว ผลการศึกษา พบอัตราป่วยโรคกลุ่มไข้เลือดออกในภาพรวมของจังหวัดเท่ากับ 90.6 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 13 - 18 ปี (289.4) รองลงมากลุ่มอายุ 5 - 12 ปี (278.7) เป็นเพศชายร้อยละ 48 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นไข้เดงกี่ร้อยละ 45 ไข้เลือดออกเดงกี ร้อยละ 47 และไข้เดงกีที่มีภาวะช็อกร้อยละ 8 จากการทบทวนเวช ระเบียนผู้ป่วยไข้เดงกีในโรงพยาบาลเดชอุดมพบผู้ป่วย 126 ราย เป็นไข้เดงกีร้อยละ 43 ไข้เลือดออกเดงกีร้อยละ 53 และ ไข้เดงกีที่ มีภาวะช็อกร้อยละ 4 โรงพยาบาลเขื่องในพบผู้ป่วย 202 ราย เป็นไข้เดงกีร้อยละ 79 ไข้เลือดออกเดงกีร้อยละ 21 ผลการเก็บซีรั่มจากผู้ป่วย 7 ตัวอย่าง พบ DEN-3 จำนวน 1 จาก 7 ตัวอย่าง จากการสำรวจภาชนะซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ เป็นภาชนะอยู่ ภายนอกบ้านมากกว่าภาชนะภายในบ้านเล็กน้อย แต่พบภาชนะที่ พบลูกน้ำยุงพาหะภายในบ้านมากกว่านอกบ้าน ภาชนะที่มีความสำคัญสูงสุดเพราะมีภาชนะจำนวนมากและพบลูกน้ำยุงพาหะสัดส่วนสูง ได้แก่ ภาชนะเก็บน้ำใช้ ภาชนะอื่นๆ อ่างซีเมนต์ห้องน้ำ ภาชนะใส่น้ำดื่ม ภาชนะใส่น้ำดื่ม ยางรถยนต์ และที่รองขาตู้กันมด ตามลำดับ ดัชนีความชกชุมของลูกน้ำยุงพาหะของหมู่บ้านใน อ. เขื่องในสูงกว่า อ. เดชอุดม ความชุกชุมของลูกน้ำยุงพาหะ (BI, CI, HI) ทุกหมู่บ้านสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจทำให้โรคเกิดการ ระบาดได้ตลอดเวลาหากมีผู้น้ำเชื้อเข้าไปในหมู่บ้านนั้น

 

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ไข้เลือดออก [ออนไลน์] ; 2013 [สืบค้นวันที่ 30 ธันวาคม 2557] เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/fact/Dengue_haemorrhagic_Fever.htm

กาญจนา ยังขาว, กัญญรัตน์ สระแก้ว และวีระพงษ์ เรียบพร. การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก เขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 9 ปี พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556;44:577-84.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ไข้เลือดออก. (สืบค้นวันที่ 30 ธันวาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/fact/Dengue_Haemorrhagic_Fever.htm

World Health Organization. Dengue Situation Update [ออนไลน์1. (สืบค้นวันที่ 30 ธันวาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.wpro.who.int/emerging_diseases/DengueSituationUpdates/en/

Endy TP. Spatial and Temporal Circulation of Dengue Virus Serotypes: A Prospectiv Study of Primary School Children in Kamphaeng Phet, Thailand. Am J Epidemiol 2002: p 52-9.

Wittke V. Robb TE, Thu HM, Nisalak A, Nimmannitya s, Kalayanrooj S, Vaughn DW, Endy TP, Holmes EC, Aaskov JG. Extinction and rapid emergence of strains of dengue 3 virus during an interepidemic period Virology 2002: p 148-56.

Ha DQ. Dengue epidemic in southern Vietnam, 1998. Emerg Infect Dis 2000: 422-5.

Malayvanh L, Buchy Ph, Duong V, Caro V, Thieberge J-M, Sompavanh S, Buisson Y, Quet Thieberge F, Phonekeo D, Pakapak K. Dengue surveillance in Laos PDE [Internet]; 2013 [cited 2014 Dec 30]. Available from: http://www.pasteur.la/project-carried-on-in-the-lab/dengue-surveillance-in-lao-pdr/

สุดใจ ม่อนไข่. รายงานผลการดำเนินงานสอบสวนโรคไข้เลือดออก ตำบล วังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน; 2552.

วรากร ภูตีกา, เนตรฤทัย ภูจอมดาว, อัมพร ภูวาดเขียน. รายงานการ สอบสวนโรคข้เลือดออกเสียชีวิต ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์, รพสต.บ้านขาม; 2554.

รักษ์พงษ์ สระพันธ์, ประดิษฐ ศิริสอน, อภิญญา ดวงแก้ว, กาญจนา กงจักร, แสงมณี มงคงลชู, มลคล เจตราช, บานเย็น ภูแผ่นนา, เลี่ยม อุตตะโครต. รายงานสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก บ้านหนองบึง ม.4 ต.บัวแดง อ.ปทุมรัตต์ ร้อยเอ็ด; 2549.

Wongkoon S. Distribution, seasonal variation & dengue transmission prediction in Si Sa Ket, Thailand Indian J Med Res 2013; p 347-53.

LC Harrington, Ponlawat A., Edman JD., Scott TW, Vermeylen F. Influence of container size, location, and time of day on oviposition patterns of the dengue vector, Aedes aegypti, in Thailand Vector Borne Zoonotic Dis 2008:415-23.

Kay BH, Nam VS, Tien TV, Yen NT, Phong TV, Diep VT, Ninh TU, Bektas A, Aaskov JG. Control of aedes vectors of dengue in three provinces of Vietnam by use of Mesocyclops (Copepoda) and community-based methods validated by entomologic, clinical, and serological surveillance Am J Trop Med Hyg 2002: 40-8.

Tsuda Y, Kobayashi J, Nambanya S, Miyagi I, Toma T, Phompida S, Manivang K. AN ecological survey of dengue vector mosquitos in central Lao PDR Southeast Asian J Trop Med Public Health 2002: 63-7.

Edillo FE, Roble ND, Otero ND 2nd. The key breeding sites by pupal survey for dengue mosquito vector, in Guba, Cebu city, Philippines Southeast Asian J Trop Med Public Health 2012 Nov;43(6):1365-74.

Quintero J1, Brochero H, Manrique-Saide P, Barrera-Perez M, Basso C, Romero S, Caprara A, De Lima Cunha JC, Beltran- Ayala E, Mitchell-Foster K, Kroeger A, Sommerfeld J, Petzold M. Ecological, biological and social dimensions of dengue vector breeding in five urban settings of Latin America: a multi-country study BMC Infectious Diseases 2014 Jan 21;14:38. doi: 10.1186/1471-2334-14-38.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์โรคไข้เลือดออก [ออนไลน์1; 2013 [สืบค้นวันที่ 30 ธันวาคม 2557] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaivbd.org/content.php?id=324161

Lloyd LS, Winch P, Ortega-Canto J, Kendall C. The design of a community-based health education intervention for the control of Aedes aegypti Am J Trop Med Hys 1994 Apr;50(4):401-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17

How to Cite

ถวิลลาภ ศ., บุตรกาล ช., ทวีวิกยการ ภ., อรุโณทอง ส., ธนกิจเจริญกุล เ., สังขรักษ์ เ., เล็กเจริญ ไ., อ่อนสองชั้น ส., ภู่พัฒน์ ไ., เตชะนิยม ธ., เดชพิชัย ร., & ธัมมวิจยะ ป. (2024). ระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกและภาชนะสำคัญที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ ในอำเภอเดชอุดมและเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(6), 81–88. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1848

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ