การสอบสวนการระบาดการติดเชื้อ Klebsiella ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน ในทารกแรกเกิด ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบึงกาฬ วันที่ 25 - 31 พฤษภาคม 2557

ผู้แต่ง

  • กมล แซ่ปีง โรงพยาบาลบึงกาฬ กระทรวงสาธารณสุข
  • วัลลภา ช่างเจรจา โรงพยาบาลบึงกาฬ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การติดเชื้อในทารกแรกเกิด, Kiebsiella, การดื้อยาหลายขนาน, โรงพยาบาล, จังหวัดบึงกาฬ

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่ เร็วของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลบึงกาฬและงานป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้รับรายงานจากกุมารแพทย์ว่า พบทารกแรกเกิดติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ 2 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด มีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันการระบาด ค้นหาแหล่งโรค สาเหตุของการเกิดโรคดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรค ทำการศึกษาโดยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมโดยใช้นิยามการติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อดื้อยา หมายถึง ทารกแรกเกิดที่มีอาการเข้ากับอาการของการติดเชื้อในทารกแรกเกิด และเพาะเชื้อพบเชื้อ Klebsiella ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระหว่างวันที่ 1 - 25 พฤษภาคม 2557 สัมภาษณ์และศึกษาอาการป่วยจากเวชระเบียน ศึกษาสิ่งแวดล้อมโดยเก็บตัวอย่างเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเครื่องควบคุมการ ให้สารน้ำ ตู้อบ เครื่องชั่งน้ำหนัก นมผง นมชงสำหรับผู้ป่วย โต๊ะชง นม กระติกน้ำร้อน ขวดนม แก้วนม อาหารให้ทางหลอดเลือด และมือ เจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ผลการศึกษา พบผู้ป่วยทารกแรกเกิดติดเชื้อ 17 ราย เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา 2 ราย โดยติดเชื้อ Klebsiella (Extended spectrum beta-lactamases: ESBL-producing strain) ซึ่งทั้ง 2 รายมีวันเริ่มป่วยในวันที่ 12 และ 13 พฤษภาคม 2557 ตามลำดับ มีรูปแบบความไวต่อยาปฏิชีวนะคล้ายคลึงกัน โดยผู้ป่วยทารกเพศชายรายแรกติดเชื้อ Klebsiella pneumoniae (ESBL-producing strain) โดยมีรูปแบบความไวต่อยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมร้อยละ 75 ส่วนผู้ป่วยทารกเพศชายรายที่สองติดเชื้อ Klebsiella spp. (ESBL-producing strain) รูปแบบความไวต่อยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมร้อยละ 36 พบเชื้อดื้อยาในโต๊ะชงนม ตู้อบ เครื่องควบคุมการให้สารน้ำ ได้ทำการศึกษากระบวนการชงนมพบว่ามีความเสี่ยงในการปนเปื้อน การทำลายเชื้อของเครื่องนึ่งขวดนมไอน้ำ ไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากใช้ความร้อนและระยะเวลาในการนึ่งไม่เพียงพอต่อการทำลายเชื้อ การทำความสะอาดตู้อบใช้ผ้าร่วมกัน การควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อพบว่าไม่พบเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมและในผู้ป่วยเพิ่มเติม สรุปการระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ซึ่งติดเชื้อแบคที่เรีย Klebsiella ที่ดื้อยาปฏิชีวนะหลายขนาน สาเหตุเกิดจากการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ได้ทำความสะอาดและทำลายเชื้อจนสามารถควบคุมโรคได้

References

อะเคี้อ อุณหเลขกะ. การวินิจฉัยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. คู่มือการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท jcc การพิมพ์จำกัด, 2539.

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการ ดำเนินงานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2535.

สุทธิพร ภัทรชยากุล. การทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ (Antimicrobial Susceptibility Testing). คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2556.

วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล. Neonatal sepsis. ใน ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช และคณะ (บรรณาธิการ), ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, 2549.

สุรภี เทียนกริม. จุลชีววิทยาและโรคติดเชื้อ. ตำรโรคติดเชื้อ 2 พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่งจำกัด, 2548.

วีรพงษั วัฒนาวนิช. การติดเชื้ออะซินิโตแบคเตอร์ในผู้ป่วยที่รับไว้ รักษาในหออภิบาล. สงขลานครินทร์เวชสาร 2556;31: 91-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17

How to Cite

แซ่ปีง ก., & ช่างเจรจา ว. (2024). การสอบสวนการระบาดการติดเชื้อ Klebsiella ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน ในทารกแรกเกิด ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบึงกาฬ วันที่ 25 - 31 พฤษภาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(7), 97–104. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1851

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ