กลยุทธ์การตลาดในการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว, การขับเคลื่อนนโยบาย, กลยุทธ์การตลาดบทคัดย่อ
การระบาดของอหิวาตกโรคและโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยเมื่อปี 2547 เป็นที่มาของนโยบายพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) การศึกษาครั้งนี้ได้ทบทวนและสังเคราะห์ บทเรียนการใช้กลยุทธ์ขับเคลื่อนนโยบายระหว่างปีงบประมาณ 2547-2552 โดยศึกษาจากเอกสารต้นฉบับที่ใช้ในการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่าเป็นการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบทีมมีการระดม ความคิด กลั่นกรอง และทดสอบความคิด ได้ผลผลิตเป็นมาตรฐานทีม SRRT ที่ได้ใช้พัฒนาทีมทุกระดับ แต่ควรปรับปรุงตัวชี้วัดการเฝ้าระวังโรค 2) การส่งเสริมการขายร่วมกับการสร้างแบรนด์ ทำให้ได้รับการยอมรับและขับเคลื่อนนโยบายได้เร็ว 3) การพัฒนาทีมด้วยวิธี Learning by doing มีการจัดอบรมสมาชิกทีม 4,421 คน เป็น การจัดอบรมทางระบาดวิทยาครั้งใหญ่ของประเทศ ควรพัฒนาทีมเพิ่มเติมด้านเฝ้าระวังโรคและความเป็นทีม 4) การจัดการแผนงานโครงการ พบว่าจากปี 2548 ถึงปี 2552 มีรายงานสอบสวนโรคเพิ่มจาก 242 เป็น 2,783 ฉบับ มีอำเภอที่ส่งรายงานจากร้อยละ 20.9 เป็นร้อยละ 81.0 แสดงว่าอำเภอส่วนใหญ่สอบสวนโรคได้ แม้ผลการประเมินมาตรฐานปี 2552 จะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 43.87 ข้อเสนอแนะ ควรยกระดับการพัฒนาทีม SRRT เป็นยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนทางระบาดวิทยาและการควบคุมโรคของประเทศ พัฒนากฎระเบียบที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานลดความเสี่ยง ดูแล ค่าตอบแทนและความก้าวหน้า เร่งรัดจัดตั้งระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ พัฒนาทีม SRRT ที่มีความเชี่ยวชาญทางลึก ขยายทีมระดับท้องถิ่น และเสริมสร้างพลังของเครือข่าย SRRT ให้เข้มแข็ง
References
เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย. สรุปสถานการณ์โรคที่มีลำดับความสำคัญสูง สัปดาห์ที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน 2547. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2547; 35: 226.
คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก. แผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และแผนยุทธศาสตร์เตรียม ความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดของไข้หวัดใหญ่ (พ.ศ.2548-2550). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2548.
วรรณา หาญเชาว์วรกุล. ศักยภาพในการรองรับโรคอุบัติใหม่ของหน่วยงานในระดับจังหวัด. สื่อการสอนในการประชุมโรคอุบัติใหม่ ณ โรงแรมทีเคพาเลซ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา; 2547.
ลดารัตน์ ผาตินาวิน, สมาน สยุมภูรุจินันท์. ผลการประเมิน มาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ พ.ศ. 2547. วารสารควบคุมโรค 2548; 31(2): 175-83.
อุษารัตน์ สุจริต. สรุปผลการประเมินมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ 2547. พิษณุโลก: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก; 2548.
นิติรัตน์ ตัณฑเวช. BIS-201 หลักการตลาด [อินเทอร์เน็ต]. 2555 สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย. 2558]; เข้าถึงได้จาก: http://www.aonkung.com/class/BIS-201/BIS-201-Week5-1.pdf
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS). 2555 [สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย. 2558]; เข้าถึงได้จาก: https://dep. kpo.go.th/cdc/PDF/ems1.pdf
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. มาตรฐานการป้องกันและระงับ อัคคีภัย [อินเทอร์เน็ต]. 2548 [สืบค้นเมื่อ 21 ธ.ค. 2548]; เข้า ถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan6.htm
กรุงเทพมหานคร. มีนาคมนี้ กทม.เตรียมคลอด "หน่วย BEST" บริการฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง [อินเทอร์เน็ต]. 2548 [สืบค้นเมื่อ 14 มี.ค. 2548]; เข้าถึงได้จาก: http://www.beta.ryt9.com/s/prg/28836
World Health Organization. Global Outbreak Alert and Response Network [Internet]. 2015 [cited 2015 Apr. 12]. Available from: http://www.who.int/ihr/about/IHRGlobalOutbreakAlertandResponseNetworkrespond.pdf?ua=1
Center for Surveillance, Epidemiology, and Laboratory Services. Epidemic Intelligence Service (EIS): Frequently Asked Questions [Internet]. 2015 [cited 2015 Apr. 12]. Available from: http://www.cdc.gov/eis/downloads/eis-faq.pdf
ครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์. 25 ปี FETP ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2549 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.พ. 2553]; เข้าถึงได้จาก: http://www.doctor.or.th/clinic/detail/8440
ลดารัตน์ ผาตินาวิน. คู่มือการประเมินมาตรฐานงานระบาดวิทยา โรคติดต่อ พ.ศ.2547. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา ; 2547.
วันชัย อาจเขียน, ลดารัตน์ ผาตินาวิน. มาตรฐานทีมเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT). กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2548.
วันชัย อาจเขียน, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, ทิพยา เผื่อนพิภพ, อำนวย ทิพศรีราช, ศิริพร วัชรากร, พิมพ์ผกา นิศาวัฒนานันท์ และคณะ. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2552.
กองแผนงาน. รายงานการประเมินผโครงการพัฒนาทีมเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็ว. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค; 2552.
อะเคี้อ อุณหเลขกะ. รายงานการประเมินผลการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ปีงบประมาณ 2548-2550. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.
วิพุธ พูลเจริญ และคณะ. รายงานการประเมินผล โครงการพัฒนา ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2549. 19. rabbitie. เรื่องเล่า "ทีม"...ที่รัก (อินเทอร์เน็ต. 2553 [สืบค้นเมื่อ 12 เม.ย. 2558]; เข้าถึงได้จาก: http://thantohospital.com/thanto/?name=webboard&file=read&id=6
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ