การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากสารพิษในอาหารทะเล ในกลุ่มเจ้าของและพนักงานของร้านอาหารแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร วันที่ 28 - 29 กันยายน 2556

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ธนกิจเจริญกุล กลุ่มพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามฯ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี
  • ชูพงศ์ แสงสว่าง โรงพยาบาลฝาง, เชียงใหม่
  • ไพลิน ผู้พัฒน์ กลุ่มพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามฯ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี
  • ภันทิลา ทวีวิกยการ กลุ่มพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามฯสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี
  • นภัทร วัชราภรณ์ กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ
  • อิศรัตน์ ประเสริฐศักดิ์ กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ
  • หนึ่งหทัย บุณลือ กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ
  • จุลจิลา หินจำปา กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ
  • สุภาพ พิทักษ์ กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ
  • จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ กลุ่มพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนามฯสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี

คำสำคัญ:

อาหารเป็นพิษ, พิษอาหารทะเล, สารพิษซิกัว, ปลากะพงแดง, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

วันที่ 29 กันยายน 2556 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดีว่า มีกลุ่มก้อนผู้ป่วยสงสัยพิษจากปลาปักเป้า มารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉิน ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ดำเนินการสอบสวนโรคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยหาสาเหตุ แหล่งที่มา และวางแนวทางการควบคุมป้องกันโรค ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย สัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหาร และพนักงานในร้าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ด้วย retrospective cohort study ในกลุ่มประชากรเจ้าของและพนักงานทั้งหมดรวม 22 ราย และทำกาศศึกษาสิ่งแวดล้อมติดตามเส้นทางการขนส่งอาหารที่สงสัยพร้อมเก็บตัวอย่างวัตถุดิบส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาพบผู้ป่วย 11 ราย (อัตราป่วยร้อยละ 50) อาการสำคัญ คือ ชาปาก ลิ้น หรือแขนขา (ร้อยละ 100) ถ่ายเหลว (ร้อยละ 91) ค่ามัธยฐานระยะฟักตัวของโรคเท่ากับ 4 ชั่วโมง (พิสัย 2 - 9 ชม.) ผลการศึกษาเชิงวิเคราะห์พบปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ การรับประทานหัวปลาหม้อไฟ (RR = 5.71, 95% CI = 1.30 - 864.97) และพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณหัวปลาที่รับประทานกับการเกิดโรค (P < 0.05) จากผลการสอบสวนการระบาดในครั้งนี้น่าจะเกิดจากสารพิษซิกัว (ciguatoxin) ที่ปนเปื้อนในปลากะพงแดง จึงควรมีการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยที่สงสัยพิษจากอาหารทะเลที่มีประวัติรับประทานปลาทะเลตามแนวปะการังขนาดใหญ่ว่าอาจเกิดจาก ciguatoxin

References

Center for Disease Control and Prevention (CDC). Marine toxins [Intrnet]. Georgia: Center for Disease Control and Prevention. [updated 2010 Jul; cited 2015 Feb 10]. Available from: http://www.cdc.gov/nczved/divisions/dfbmd/diseases/marine_toxins/#how_common.

Fleming LE. Ciguatera fish poisoning [Internet]. Miami: NIEHS Marine and Freshwater Biomedical Sciences Center. [cited 2015 Feb 10]. Available from: http://www.whoi.edu/science/B/redtide/illness/ciguatera_fish_poisoning.html

Kanki M, Yoda T, Tsukamoto T and Baba E. Histidine decarboxylases and their role in accumulation of histamine in tuna and dried suary. Appl Environ Microbiol 2007; 73(5): 1467-73.

Thomson J. Tetrodotoxin an ancient alkaloid from the sea [Internet]. The Department of Molecular Biophysics & Biochemistry, The Florida State University [updated 2010 Jul; cited 2015 Feb 12]. Available from: http://www.chm.bris.ac.uk/motm/ttx/ttx.htm

Sobel J, Painter J. IlIness Caused by Marine Toxins. Clin Infect Dis 2005; 41(9): 1290-6. 6. Benzer TI. Tetrodotoxin toxicity [Internet]. Medscape [updated 2013 Dec 9; cited 2015 Feb 11]. Available from: http://emedicine.medscape.com/article/818763-overview#showall

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2552. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่าน ศึก; 2553.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรคประจำปี 2553. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2554. 9. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรคประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2556.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรคประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย; 2557.

Isbister GK and Kiernan MC. Neurotoxic marine poisoning. Lancet Neurology 2005; 4: 219-28.

Yogi K, Oshiro N, Inafuku Y, Hirama M and Yasumoto T. Detailed LC-MS/MS analysis of ciguatoxins revealing distinct regional and species characteristics in fish and causative alga in the pacific. Anal Chem 2011; 83: 8886-91.

Center for Disease Control and Prevention (CDC). Food poisoning from marine toxins [Internet]. Georgia: Center for Disease Control and Prevention; 2013 [cited 2015 Feb 18]. Available from: http://wwwnc.cdc.gov/trave/yellowbook/2014/chapter-2-the-pre-travel-consultation/food-poisoning-from-marine-toxins

Saraya A, Sintunawa C, Wachrapluesadee S, Swangpun K, Dumrongchua S, Wilde H, et al. Marine fish toxins in Thailand: Report of 6 suspected ciguatera cases. Case Reports in Clin Med 2014; 3: 286-92.

Wasay M, Sarangzai A, Siddiqi A and Nizami Q. Ciguatera fish poisoning with elevated muscle enzyme and abnormal spinal MRI. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2008; 39(2): 307-9.

Chan TY. Epidemiology and clinical features of ciguatera fish poisoning in Hong Kong. Toxins (Basel) 2014; 6(10): 2989-97.

US Food and Drug Administration (USFDA). Fish and fishery products hazards and controls guidance Chapter 7: Scombrotoxin (histamine) formation. Fourth edition. Florida: Florida sea grant IFAS - extension bookstore, University of Florida; 2011.

EFSA Panel on Biological Hazards (BIOHAZ). Scientific opinion on risk based control of biogenic amine formation in fermented food. ESFA Journal 2011; 9(10): 2301-93.

Hongchumpon N, Ouppapong T, Pungsakul J, Hanta A, Pawan W, Chalamaat M, et al. Scombrotoxin food poisoning outbreak among frozen seafood factory workers Samut Prakan province, Thailand, July 2007. Outbreak, Surveillance & Investigation Reports 2009; 2(1): 5-8.

Feldman KA, Werner SB, Cronan S, Hernandez M, Horvath AR, Lea CS, et al. A large outbreak of scombroid fish poisoning associated with eating escolar fish (Lepidocybium flavobrunneum). Epidemiol infect 2005; 133: 29-33.

Chen KT and Michael DM. Outbreak of scombroid fish poisoning, Taiwan. Am J Public Health 1987; 77(10): 1335-6.

Ali S, Chandler B, Froehle J and Trofteberg C. Outbreak of scombroid poisoning - Anchorage, 2008. State of Alaska Epi Bulletin 2008; 11: 1.

Hungerford JM. Scombroid poisoning: a review. Toxicon 2010; 56(2): 231-43.

Kanchanapongkul J. Puffer fish poisoning: clinical features and management experience in 25 cases. J Med Assoc Thai 2001; 84: 385-89.

Nagashima Y, Matsumoto T, Kadoyama K, Ishizaki s, Taniyama S, Takatani T, et al. Tetrodotoxin poisoning due to smooth-backed blowfish, Lagocephalus inermis and the toxicity of L. inermis caught off the Kyushu coast, Japan. Shokuhin Eiseigaku Zasshi 2012; 53(2): 85-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-18

How to Cite

ธนกิจเจริญกุล เ., แสงสว่าง ช., ผู้พัฒน์ ไ., ทวีวิกยการ ภ., วัชราภรณ์ น., ประเสริฐศักดิ์ อ., บุณลือ ห., หินจำปา จ., พิทักษ์ ส., & พิทยาวงศ์อานนท์ จ. (2024). การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากสารพิษในอาหารทะเล ในกลุ่มเจ้าของและพนักงานของร้านอาหารแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร วันที่ 28 - 29 กันยายน 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(21), 321–329. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1868

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ