การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากเชื้อไวรัสในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 13 - 17 กรกฎาคม 2558
คำสำคัญ:
อุจจาระร่วง, การระบาด, ไวรัสโรทา, ไวรัสโนโร, เกาะสมุย, ประเทศไทยบทคัดย่อ
วันที่ 12 กรกฎาคม 2558 เวลาประมาณ 13.00 น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเกาะสมุยว่ามีเด็กป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 6 ราย ในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วดำเนินการ สอบสวนโรคระหว่างวันที่ 13 - 17 กรกฎาคม 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาดของโรค ค้นหาแหล่งโรค ค้นหาสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของการระบาดของโรค และให้คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรคที่จำเพาะต่อไป ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยกำหนดนิยามผู้ป่วย คือ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งนี้ ที่มีอาการใดอาการหนึ่ง คือ ถ่ายอุจจาระ เหลวอย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ร่วมกับอาการไข้ ปวดท้อง หรืออาเจียน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 17 กรกฎาคม 2558 และทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบ Retrospective Cohort Study ศึกษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน รวมทั้งเก็บตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วย ตัวอย่างน้ำส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ผลการศึกษา พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในโรงเรียนประถมเอกชนแห่งนี้ รวม 41 ราย Attack rate ร้อยละ 19.16 ผู้ป่วยเป็นนักเรียนทั้งหมด มีค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 7 ปี อายุระหว่าง 2.5 - 11 ปี ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 มีอัตราป่วยสูงสุดร้อยละ 43.33 รองลงมาเป็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 35.00 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 26.32 ผู้ป่วยมีอาการไข้มากที่สุด ร้อยละ 73.2 รองลงมา คือ ถ่าย เหลว ร้อยละ 65.9 และปวดท้อง ร้อยละ 48.8 การระบาดของโรคอุจจาระร่วงครั้งนี้เป็นการระบาดแบบแพร่กระจาย และแบบแหล่งโรคร่วมกัน เนื่องจากการสัมผัสผู้ที่มีอาการอาเจียน/ถ่ายเหลว และการ แปรงฟันที่ห้องน้ำชั้น 2 ซึ่งน้ำมีเชื้อไวรัสโนโร เป็นปัจจัยเสี่ยงของการ ระบาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ผลการตรวจตัวอย่างอุจจาระ 7 ราย พบสารพันธุกรรมของไวรัสโนโร 1 ราย (ร้อยละ 14.29) และไวรัสโรทา 1 ราย (ร้อยละ 14.29) ผลการตรวจตัวอย่าง น้ำดื่ม น้ำใช้ swab ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร พบเชื้อ Bacillus cereus, Aeromonas caviae, Aeromonas veronii biovar sobria และ Aeromonas hydrophila ตามลำดับ และพบสารพันธุกรรมไวรัสโนโรในน้ำแปรงฟันชั้น 2 ผลการตรวจระดับ คลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำใช้อยู่ที่ระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และถังพักน้ำใต้ดินอยู่ให้กับบ่อเกรอะมาก มีระยะห่างน้อยกว่า 60 เซนติเมตร สรุปและวิจารณ์ การระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ครั้งนี้เกิดจากเชื้อไวรัส เพราะอาการทางคลินิกเข้าได้กับไวรัส โดยมีการปนเปื้อนเชื้อในระบบน้ำ จึงแนะนำให้โรงเรียนทำความสะอาด และฆ่าเชื้อในระบบน้ำด้วยคลอรีนเข้มข้น รวมทั้งสร้างถังเก็บน้ำใหม่บนดิน ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล สุขาภิบาลน้ำ และสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแก่ทางโรงเรียน ผลการเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ วันที่ 14 - 17 กรกฎาคม 2558 ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่
References
อภิรดี เทียมบุญเลิศ, ทวีศักดิ์ เชี่ยวชาญศิลป์, ยง ภู่วรวรรณ. ท้องเสียจากไวรัส. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555;9(3):85-92.
สุพัตรา พีราคม. โรคอุจจาระร่วงจากไวรัส. วารสารเทคนิค การแพทย์เชียงใหม่ 2550; 40(3): 200-13.
ฆาลิตา อานนท์, อมรรัตน์ ชุตินันทกุล, สุภาพร ทองมาแล้ว, นัจพร พรมชัยศรี, จุฬาวรรณ สุขอนันต์, ปกรณ์ เนื้อเกลี้ยง และ คณะ. การสอบสวนโรคติดเชื้อทางเดินอาหารในนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หาดไร่เลย์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กุมภาพันธ์ 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำเดือนมีนาคม 2558; 8: 7.
เสาวภา เครือกล่อม, ณัฐพล เหมทานนท์, เอกวิทย์ เจียวก๊ก, อำนวย ห้วยลึก, ศราวุธ อุชนรัศมี, วีรพงศ์ ด้อหล้า และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ตำบลคลองเขม้า อำเภอเหนือคลอง จังหวัด กระบี่ วันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2557. ในการสัมมนาเครือข่าย SRRT สคร.11 วันที่ 23 - 24 กรกฎาคม 2558; โรงแรมเคพาร์ค. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช; 2558. หน้า 11 - 2.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11.1. เชื้อแบคทีเรียก่อโรค ทางเดินอาหาร. ภูเก็ต: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11.1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/dmsc/
อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรตา. ใน ดุสิต สถาวร, จุฑารัตน์ เมฆมัลลิกา, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, อุษา ทิสยากร, สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, บรรณาธิการ. วัคนและโรคติดเชื้อ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน. กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส จำกัด; 2548. หน้า 279-93.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักการควบคุมโรคเบื้องต้น สำหรับ SRRT. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2554.
กองสุขาภิบาล สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. หลักสูตรการ สุขาภิบาลอาหาร (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558] เข้าถึงได้จาก: http://www.foodsanitation.bangkok.go.th/foodsanitation/online_examination/index2.php
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ