การศึกษาปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่กำหนดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • มานิตา พรรณวดี โรงพยาบาลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
  • เพียงพิมพ์ ปัณระสี โรงพยาบาลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
  • นิธิมา มิตรสานุช โรงพยาบาลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
  • พรสิริ พะลัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระบำ จังหวัดอุทัยธานี
  • ฉัตรธพล คงห้วยรอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำรอบ จังหวัดอุทัยธานี
  • ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางนิเวศวิทยา, พฤติกรรม, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในอำเภอลานสักสูงที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง และแนวโน้มอัตราผู้ที่มีความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทไม่เปลี่ยนแปลง จึงควรมีการดำเนินโครงการเพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถจัดการตนเองได้ในการควบคุมความดันโลหิตและลดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการออกแบบ และดำเนินกิจกรรมควรศึกษาปัจจัยกำหนดพฤติกรรมเพื่อออกแบบกิจกรรมที่แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยนำแนวคิดปัจจัยทางด้านนิเวศวิทยาทั้ง 5 ระดับ มาศึกษาปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่กำหนดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและครอบครัว ผู้นำชุมชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ก. และหมู่บ้าน ข. อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี มีการสังเกตครัวเรือนและชุมชน วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา มีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 11 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2557 - 31 มีนาคม 2558 ผลการศึกษา สัมภาษณ์ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 56 คน สมาชิกในครอบครัว 56 คน ผู้นำชุมชน 7 คน อายุเฉลี่ย 63.5 (35-89) ปี ชายร้อยละ 35.7 หญิงร้อยละ 64.3 ผู้ป่วยหนึ่งในสามคิดว่าผู้ป่วยสามารถหยุดยาความดันโลหิตสูงเองได้ หมู่บ้าน ก. เป็นครอบครัวเดี่ยว หมู่บ้าน ข. เป็นครอบครัวขยาย ประชากรหมู่บ้าน ข. มีการรวมกลุ่มในงานประเพณีทำให้เกิดพลังในชุมชน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหมู่บ้าน ก. มีความรู้ในด้านต่างๆ มากกว่าหมู่บ้าน ข. ทั้ง 2 หมู่บ้านมีการจัดการตนเองโดยรวมอยู่ในระดับกลาง สรุปผล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้มีการจัดการตนเองที่ดีขึ้น ไม่ควรปรับเปลี่ยนเฉพาะปัจจัยภายในบุคคล ควรปรับเปลี่ยนครอบครัว ชุมชนร่วมด้วย ประกอบกับแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน การออกแบบวัตถุประสงค์และกิจกรรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความมีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละชุมชน

References

กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตรา ตายต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2546- 2553. นนทบุรี (เข้าถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2555]; เข้าถึงได้จาก: ops.moph.go.th/Healthinformation/2.3.6_53.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูล ncd- BRFSS ตามเขตสาธารณสุข. 2554 [เข้าถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2556]; Available from: http://thaincd.com/information-statistic/brfss-data.php.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อำเภอลานสัก. 2556 [เข้าถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอลานสัก.

ปอยฝ้าย นามแฝง. วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวอีสาน. 2555 [เข้าถึงวันที่ 13 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://hph.moph.go.th/modules=HealthCulture&action=ViewHlealthCulture&id=14.

Centers for Disease Control and Prevention. Injury Prevention & Control: Violence Prevention and the Socio-Ecological model. The Social - Ecological Model: A Framework for Prevention. 2009 [cited 2013 December 20]. Available from: http://www.cdc.gov/ViolencePrevention/overview/social-ecologicalmodel.html

McLeroy KR, Bibeau D, Steckler A, Glanz K. An Ecological Perspective on Health Promotion Programs. Health Education Quarterly, 1988. 15: 351-77.

Daniel W W. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 9 ed., Atlanta, 2010.

Nilmanat K, Akhter N. Self-management Among Patients with Hypertension in Bangladesh, in Nursing Science (International program). Prince of Songkla University: Songkla, 2010.

World Health Organization. Adherence to Long-Term Therapies Evidence for action. Geneva: Marketing and Dissemination, World Health Organization; 2003.

Jimmy B, Jose J. Patient Medication Adherence: Measures in Daily Practice. Oman Medical Journal 2011; 26 (3): 155-9.

Centers for Disease Control and Prevention. Physical Activity. 2011 [cited 2013 December 21]; Available from: http://www.cdc.gov/physicalactivity/everyone/measuring/index.html.

สุปรียา ตันสกุล, ทฤษฎีและโมเดล การประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2548.

อัจฉรา ภักดีพินิจ, ลินดา จำปาแก้ว. หลักสูตรการปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อสำหรับบุคลากร สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด; 2555.

จุรีพร คงประเสริฐ, ธิดารัตน์ อภิญญา. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. เล่มที่ 1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร; 2556.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วิธีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. เล่มที่ 4 วิธีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20

How to Cite

พรรณวดี ม., ปัณระสี เ., มิตรสานุช น., พะลัง พ., คงห้วยรอบ ฉ., & ธนสุกาญจน์ ช. (2024). การศึกษาปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่กำหนดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(37), 577–585. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1912

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ