อากาศยานอุบัติเหตุจากหลุมอากาศในฤดูฝน ปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐกานต์ ไวยเนตร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กรพรหม แสงอร่าม ฝ่ายนิรภัยปฏิบัติการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
  • มาโนชญ์ พลายงาม สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
  • เทพฤทธิ์ ยอดประสิทธิ์ ฝ่ายนิรภัยปฏิบัติการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธงชัย คล้ายทับทิม ฝ่ายนิรภัยปฏิบัติการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
  • บัณฑิต วงษ์เจริญธรรม สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
  • พุฒิพร เมืองประเสริฐ ฝ่ายแพทย์ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
  • เจรียงโรจน์ กฤษณ ฝ่ายแพทย์ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

คำสำคัญ:

อากาศยานอุบัติเหตุ, หลุมอากาศ, ประเทศไทย, การบาดเจ็บ, อากาศยาน

บทคัดย่อ

หลังจากลูกเรือได้เสร็จสิ้นการให้บริการในเที่ยวบินระหว่าง ประเทศ สายการบินแห่งหนึ่ง ได้เกิดแรงสั่นสะเทือนเหวี่ยงผู้โดยสาร และลูกเรือกระแทกเพดานและพื้น จำนวนผู้บาดเจ็บเบื้องต้น 45 ราย เป็นลูกเรือ 15 ราย และผู้โดยสาร 30 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ภายหลังพบว่าสาเหตุจากการตกหลุมอากาศ สำนักระบาดวิทยาได้ทำการสืบสวนอุบัติเหตุระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกุมภาพันธ์ 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุลักษณะทางระบาดวิทยาของผู้ได้รับบาดเจ็บ ระบุปัจจัยซึ่งมีผลต่อความรุนแรงของการบาดเจ็บ และแนะนำแนวทางป้องกันการบาดเจ็บ ทำการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์ลูกเรือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิรภัยปฏิบัติการการบิน ฝ่ายแพทย์บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และคัดกรองโรคเครียดจากอุบัติเหตุด้วยแบบคัดกรองในลูกเรือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Modified Haddon's Matrix Framework ผลการศึกษาจาก การสัมภาษณ์พบลูกเรือ 18 ราย จากทั้งหมด 21 ราย ได้รับบาดเจ็บ (อัตราบาดเจ็บร้อยละ 85.7) เป็นเพศชายร้อยละ 44 มีค่ามัธยฐาน อายุ 41.5 ปี เคยประสบเหตุหลุมอากาศโดยทั้งหมดไม่เคยได้รับบาดเจ็บ 14 ราย (ร้อยละ 77 อยู่ในท่ายืน 13 ราย (ร้อยละ 77) และ สังเกตเห็นสัญญาณรัดเข็มขัด 16 ราย (ร้อยละ 89) ขณะเกิดเหตุพบการสั่นสะเทือน 2 วินาทีก่อนจะถูกเหวี่ยงอย่างรุนแรง 13 ราย (ร้อยละ 77) ขณะถูกเหวี่ยง มีผู้ได้ใช้ท่าเตรียมรับแรงกระแทก 5 ราย และพยายามยึดเกาะสิ่งต่าง ๆ 10 ราย พบอัตราบาดเจ็บต่ำที่สุดในบริเวณส่วนหน้าของเครื่องบิน (ร้อยละ 76) ตำแหน่งการบาดเจ็บ พบบริเวณคอ (ร้อยละ 66) ศีรษะ (ร้อยละ 27) หลัง (ร้อยละ 22) หลังเหตุการณ์ 3 เดือน พบผู้ยังคงอยู่ระหว่างการรักษา 9 ราย (ร้อยละ 50) ลูกเรือ 3 ราย ยังไม่สามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้สรุปในอากาศยานสมัยใหม่ ลูกเรือยังคงเผชิญความเสี่ยงในการบาดเจ็บจากหลุมอากาศ การจัดการและกำหนดมาตรการจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุการณ์เหล่านี้ เพื่อลูกเรือสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัย

References

International Civil Aviation Organization (ICAO). State of Global Aviation Safety; 2013.

Cowen R. Clearing the air about turbulence: A fearful flier's foray. Science News; 153(26): p. 408-10.

Golding WL. Turbulence and its impact on commercial aviation. The Journal of Aviation/Aerospace Education & Research 2002;11.

Paul D. Williams MMJ. Intensification of winter transatlantic aviation turbulence in response to Climate Change. Nature Climate Change 2013; 3: 644-8. doi:10.1038/nclimate1866

The Airports of Thailand Public Company Limited (AOT). Annual report 2013 (Online). 2013 [cited 2014 June 10]. Available from: http://airportthai.co.th/uploads/profiles/0000000002/filemanager/files/Annual_Report_AOT_2013_English2.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมิน PTSD screening test. ใน คู่มือการช่วยเหลือเยี่ยวยาจิตใจประชาชน ในภาวะวิกฤต (ฉบับปรับปรุง). สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์; 2553. หน้า 142.

Logie A, VanDerDoe L, Ryan A. Musculoskeletal Injury Prevention Project: Report on the Flight Attendant Group. Richmond, BC: Workers' Compensation Board of British Columbia, Finding Solutions Program, 1998.

Research Committee on Aircraft Safety Enhancement, Association of Air Transport Engineering and Research. Improvement of cabin equipment to enhance cabin safety against turbulence. Civil Aviation Bureau of Japan; 2002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20

How to Cite

ถวิลลาภ ศ., ไวยเนตร ณ., กาญจนพิบูลวงศ์ อ., แสงอร่าม ก., พลายงาม ม., ยอดประสิทธิ์ เ., คล้ายทับทิม ธ., วงษ์เจริญธรรม บ., เมืองประเสริฐ พ., & กฤษณ เ. (2024). อากาศยานอุบัติเหตุจากหลุมอากาศในฤดูฝน ปี พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(43), 673–677. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1919

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ