ความเข้าใจระหว่างเสื้อชูชีพและเสื้อพยุงตัว จากการสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเดินทางโดยเรือ จังหวัดชลบุรี เดือนพฤศจิกายน 2556

ผู้แต่ง

  • ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐกานต์ ไวยเนตร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เฉิน เหล่ย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • นิพวรรณ นาคจินดา ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ สหรัฐอเมริกา
  • สุชาดา เกิดมงคลการ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ปณบุญ ฤทธิเดช สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่ากระทรวงคมนาคม

คำสำคัญ:

เสื้อชูชีพ, เสื้อพยุงตัว, การเดินทางโดยเรือ, ชลบุรี, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการโดยสายทาง เรือกว่าร้อยละ 70 ซึ่งร้อยละ 85 ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้มิได้สวมเสื้อพยุงตัวและเสื้อชูชีพ อย่างไรก็ตามยังมิได้มีการเก็บข้อมูลรายละเอียด ด้านนี้ในประเทศไทยมากนัก สำนักระบาดวิทยาจึงได้ทำการสอบสวน อุบัติเหตุเรือโดยสารจากเกาะล้านพัทยาประสบอุบัติเหตุในระหว่าง วันที่ 6 - 8 พฤศจิกายน 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ และปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บ วางแผนและกำหนดนโยบายในการควบคุมป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต
จากการทบทวนเวชระเบียนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และสัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ ลูกเรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมเจ้าท่า และประธานสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเมืองพัทยา และทำการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมโดย สังเกตเรือข้ามฝากระหว่างเกาะล้านและพัทยา ในเดือนพฤศจิกายน 2556 พบผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 37 ราย เสียชีวิต 7 ราย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าผู้เสียชีวิต 5 ราย ถูก พบโดยสวมเสื้อพยุงตัวและคว่ำใบหน้าลงในน้ำ โดยผู้เสียชีวิตหญิงวัยสูงอายุรายหนึ่งถูกเสื้อพยุงตัวลอยขึ้นเหนือศีรษะและกดลงใต้น้ำ ("riding up") นอกจากนั้นแล้วลักษณะเสื้อพยุงตัวที่วางไว้บนเรือ ไม่มีสายรัดขา รวมทั้งไม่มีขนาดที่พอเหมาะกับผู้สวมใส่ (ชูชีพมี ขนาดเท่ากันทั้งลำ ซึ่งหลวมเกินไปสำหรับผู้โดยสารที่ตัวเล็ก) โดยเฉพาะผู้โดยสารที่เป็นเด็ก และไม่พบว่ามีตราระบุมาตรฐานเสื้อพยุงตัวตามมาตรฐานสากล (ISO 12402) แต่อย่างใด สรุป ถึงแม้ว่าเสื้อพยุงตัวถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยชีวิตผู้สวมใส่ แต่หากปราศจากการ การออกแบบที่ได้มาตรฐานและการใช้งานที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

References

Personal Floating Device Manufactures Association. Facts about Life Jackets [Online]. [cited 2014 May 26]. Available from: http://www.pfdma.org/local/downloads/documents/pfdmabrochure.pdf

Cummings P, Mueller BA, Quan L. Association between wearing a personal floating device and death by drowning among recreational boaters: a matched cohort analysis of United States Coast Guard data. Injury Prevention 2011; p. 156-9.

กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม. อุบัติเหตุทางน้ำ ประจำปี งบประมาณ 2556.

กระทรวงคมนาคม. กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ; 2551.

Institute of Sport and Exercise Science, School of Public Health, Tropical Medicine and Rehabilitation Sciences and Faculty of Medicine Health & Molecular Sciences, James Cook University. Independent testing of buoyancy aids and surf helmets for Surf Life Saving Australia [Online]. 2013 [cited 2014 May 26]. Available from: https://cdn.sls.com.au/wp/wp-content/uploads/2016/01/report-independent-testing-of-buoyancy-aids-and-surf-helmets-for-slsa.pdf

Evans J. Safety equipment. In Sailing; 2007. p.62.

Adventure Activities Licensing Authoring. Personal buoyancy in recreational watersports [Online]. 2013 [cited 2014 May 26]. Available from: http://webcommunities.hse.gov.uk/gf2.ti/f/6594/493189.1/PDF/-/7.03Personal_buoyancy_in_recreational_watersports.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20

How to Cite

ถวิลลาภ ศ., ไวยเนตร ณ., เหล่ย เ., นาคจินดา น., เกิดมงคลการ ส., เอกเฉลิมเกียรติ ส., & ฤทธิเดช ป. (2024). ความเข้าใจระหว่างเสื้อชูชีพและเสื้อพยุงตัว จากการสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเดินทางโดยเรือ จังหวัดชลบุรี เดือนพฤศจิกายน 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(44), 689–693. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1920

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ