การสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A สายพันธุ์ H3N2 ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม-10 กันยายน 2558
คำสำคัญ:
ไข้หวัดใหญ่, การระบาด, โรงเรียนประถมศึกษา, ประโคนชัย, บุรีรัมย์บทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 10 สิงหาคม 2558 ศูนย์ระบาดวิทยาสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ได้รับรายงานจากศูนย์ระบาดอําเภอประโคนชัยว่า พบผู้ป่วยจากเขตอําเภอประโคนชัยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่จํานวน 1 ราย งานระบาดวิทยาอําเภอประโคนชัยร่วมกับงานระบาดวิทยาสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์และงานระบาดวิทยาโรงพยาบาลห้วยราชได้ดําเนินการสอบสวนและควบคุมการระบาดระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม-10 กันยายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา ค้นหาปัจจัยเสี่ยง รวมถึงประเมินมาตรการควบคุมและป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในกลุ่มนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในอําเภอประโคนชัย โดยให้นิยาม ผู้ป่ วยเข้าข่าย คือ ผู้ที่มีอาการไข้อย่างเดียวหรือ มีอาการตั้งแต่สองอาการขึ้นดังต่อไปนี้ ไอ เจ็บคอ มีน้ํามูก มีเสมหะ แน่นหน้าอก เหนื่อย เพลีย ปวดศีรษะ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย ผู้ป่วยที่สงสัย คือ ผู้ที่มีไข้ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น และผู้ป่วยยืนยัน หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายที่มีผลการตรวจ throat swab โดยวิธี Real time RT-PCR พบสารพันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยทําการศึกษาเชิงอนุมานด้วยวิธี retrospective cohort study เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงโดยใช้นิยามในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผู้ป่วยที่เข้าข่ายรวมทั้งกําหนดมาตรการควบคุมโรค
ผลการสอบสวน: พบผู้ป่วย 88 รายจากผู้ตอบแบบสอบถาม 560 ราย (อัตราป่วยร้อยละ 8.6) แบ่งเป็นผู้ป่วยที่สงสัยร้อยละ 34.1 ผู้ป่วยเข้าข่ายร้อยละ 63.6 และผู้ป่วยยืนยันร้อยละ 2.3 สัดส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชายเป็น 1.2:1 พบผู้ป่วยยืนยันรายแรกวันที่ 9 สิงหาคม 2558 และมีผู้ป่วยมากที่สุดในวันที่ 10 สิงหาคม 2558 การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสําคัญทางสถิติ (Adjusted OR= 6.17, 95% CI = 3.20, 11.88) ได้มีการใช้มาตรการหยุดการเรียนการสอน 1 สัปดาห์และการให้สุขศึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทําให้การระบาดในโรงเรียนลดลง พบผู้ป่วยรายสุดท้ายวันที่ 1 กันยายน 2558
สรุปและวิจารณ์ผล: พบการระบาดของไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H3N2) ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในอําเภอประโคนชัน จังหวัดบุรีรัมย์ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดต่อที่มีนัยสําคัญทางสถิติ มาตรการที่นํามาใช้สามารถหยุดวงจร การระบาดในโรงเรียนได้ แต่ไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบต่อชุมชนอันเนื่องมาจากมาตรการดังกล่าว
References
สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ไข้หวัดใหญ่ (Seasonal Influenza) (ออนไลน์) [สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/diseases/253
สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารสุข. Disease surveillance (report 506) (ออนไลน์). [สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/d506_1/ds_wk2pdf.php?ds=15&yr=58
ลักขณา ไทยเครือ. การบริหารและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรม Epi Info for Windows: เชิงปฎิบัติ. มูลนิธิสุชาติ เจตนเสน; 2551.
ดวงสมร บูรณะปิยะวงศ์. การสอบสวนการระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่ จังหวัดหนองคาย วันที่ 15 -18 สิงหาคม 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2550; 38: S257-62.
เอกชัย ยอดขาว, วาธี สิทธิ, อัครเดช อวัสดารักษ์, กิตติศักดิ์ ประครองใจ, นันทนา แต้ประเสริฐ, เอนก มุ่งอ้อมกลาง และ คณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคลากร ทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เดือน สิงหาคม-ตุลาคม 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจําสัปดาห์ 2555; 43: S23-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ